ม.ค.68 ธุรกิจตั้งใหม่พุ่งกว่า 8.8 พันราย จดเลิกลดลง  

นนทบุรี 25 ก.พ. – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย ม.ค.68 ธุรกิจตั้งใหม่พุ่งกว่า 8.8 พันราย จดเลิกลดลง ต่างชาติลงทุนในไทย 103 ราย มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 223% ขณะที่ “ธุรกิจความงาม” ติดดาวเด่น โกยรายได้กว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี โตตามเทรนด์รักสุขภาพ ปรับลุคให้ดูดี เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า อิทธิพลจากโซเชียลมีเดีย


นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าวิเคราะห์สถานการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เดือนมกราคม 2568 พบว่า มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 8,862 ราย เพิ่มขึ้น 4,485 ราย (102%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (4,377 ราย) และทุนจดทะเบียนรวม 24,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,056 ล้านบาท (8.98%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (22,895 ล้านบาท) ในเดือนนี้มีนิติบุคคลที่จดทะเบียนทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท ประกอบกิจการ ผลิต จำหน่าย ส่งออก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ด้านธุรกิจที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 691 ราย ทุน 1,423 ล้านบาท 2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 612 ราย ทุน 2,039 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 336 ราย ทุน 731 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.80%, 6.91% และ 3.79% ของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 ตามลำดับ

การจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,431 ราย ลดลง 4,634 ราย (-76.41%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (6,065 ราย) และมีทุนจดทะเบียนเลิก 4,601 ล้านบาท ลดลง 30,501 ล้านบาท (-86.89%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (35,102 ล้านบาท) ในจำนวนนี้มีธุรกิจเลิกประกอบกิจการที่ทุนจดทะเบียนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย ทุนจดทะเบียน 1,568 ล้านบาท ประกอบกิจการนำเข้าและส่งออก ยารักษาโรค เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ทุกชนิด สำหรับประเภทธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 151 ราย ทุนเลิก 264 ล้านบาท 2) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 58 ราย ทุนเลิก 178 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 52 ราย ทุนเลิก 158 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10.55%, 4.05% และ 3.64% ของจำนวนการเลิกประกอบธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 ตามลำดับ


ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2568) มีธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลรวมทั้งสิ้น 1,973,692 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 30.54 ล้านล้านบาท โดยมีนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ 929,377 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 22.32 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็นบริษัทจำกัด 732,081 ราย หรือ 78.77% ของจำนวนนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 16.30 ล้านล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 195,813 ราย หรือ 21.07% ของจำนวนนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 0.43 ล้านล้านบาท และบริษัทมหาชนจำกัด  1,483 ราย หรือ 0.16% ของจำนวนนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 5.59 ล้านล้านบาท สำหรับนิติบุคคลในกลุ่มธุรกิจบริการเป็นประเภทธุรกิจที่มีสัดส่วนการจดทะเบียนมากที่สุดมีจำนวน 501,709 ราย ทุนจดทะเบียน 12.98 ล้านล้านบาท รองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีก 304,831 ราย ทุน 2.52 ล้านล้านบาท และธุรกิจผลิต 1.23 แสนราย ทุน 6.83 ล้านล้านบาท คิดเป็น 53.98%, 32.80% และ 13.22% ของจำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ตามลำดับ

คาดการณ์ในไตรมาสแรกของปี 2568 จะมีธุรกิจจดทะเบียนจัดตั้งใหม่อยู่ที่ 27,000-28,000 ราย คิดเป็น 30% ของยอดจดทะเบียนทั้งปี และตลอดปี 2568 จะอยู่ที่ราว 90,000-95,000 ราย โดยอัตราส่วนการจัดตั้งธุรกิจต่อการเลิกธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 พบว่าอยู่ที่ 6:1 ซึ่งถือว่ามีการจัดตั้งใหม่ที่เติบโตสูง ขณะที่การเลิกยังต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ย ปี 2567 อยู่ที่ 4:1 และ 5 ปี ย้อนหลัง (2562-2566) อยู่ที่ 3:1 แสดงให้ถึงแนวโน้มที่ดีของภาคธุรกิจในปี 2568

สำหรับการลงทุนของชาวต่างชาติ ประจำเดือนมกราคม 2568 มีการการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 103 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 21 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 82 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,160 ล้านบาท โดยการอนุญาตฯ ในเดือนมกราคม 2568 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากมกราคม 2567 จำนวน 49 ราย (91%) และมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 15,990 ล้านบาท (223%) อย่างไรก็ดี ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยสูงสุด 7 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สูงสุด เงินลงทุน 8,880 ล้านบาท รองลงมาสหรัฐอเมริกา เงินลงทุน 971 ล้านบาท และ จีน เงินลงทุน 3,925 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมี สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมนี


สำหรับในพื้นที่ EEC มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนจำนวน 29 ราย คิดเป็น 28% ของนักลงทุนต่างชาติในไทย เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 จำนวน 12 ราย (71%) มูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 12,329 ล้านบาท คิดเป็น 53% ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจากประเทศ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังได้จัดทำข้อมูลธุรกิจเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ และเฟ้นหาธุรกิจดาวเด่นที่น่าจับตามอง พบว่า ธุรกิจความงาม มีแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่และมีการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องใน 5 ปีที่ผ่านมา (2563-2567) ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจความงามอยู่ 6,621 ราย ทุนจดทะเบียน 190,160 ล้านบาท หากย้อนไปปี 2563 มีการจัดตั้งนิติบุคคลในธุรกิจนี้ 527 ราย/ปี และก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2566 มีการจัดตั้งใหม่จำนวน 1,161 และ ปี 2567 จัดตั้ง 1,135 ราย 

ขณะที่วิเคราะห์เชิงลึก 3 ปี ย้อนหลัง (2564-2566) สามารถสร้างรายได้ที่สูงเฉลี่ยกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี ประกอบด้วย ปี 2564 รายได้ 304,724 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 354,823 ล้านบาท และปี 2566 รายได้ 363,145 ล้านบาท ด้านการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทยพบว่า มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 2,799 ล้านบาท โดยสัญชาติที่ลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มาเลเซีย 201 ล้านบาท จีน 182 ล้านบาท และสิงคโปร์ 94 ล้านบาท การเติบโตของธุรกิจความงามเป็นผลมาจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดค่านิยมทางสังคมที่ซึมซับมาจากโซเชียลมีเดียที่นำเสนอเรื่องราวการดูแลตนเอง ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่มีบุคลิกที่ดูดี จึงเป็นจุดโน้มน้าวให้ผู้ติดตามต้องการปรับภาพลักษณ์ รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณของตัวเองให้ดูดีขึ้น และสังคมเปิดกว้างกับทำศัลยกรรมมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีวิวัฒนาการมากขึ้น การนำนวัตกรรมด้านความงามมาให้บริการในราคาที่ถูกลง เจ็บน้อยลง แผลเล็กลง และการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง จึงทำให้ลูกค้าไม่ได้จำกัดแค่เพียงผู้หญิงเพียงกลุ่มเดียว แต่ยังขยายลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ชาย กลุ่ม Gen Z ที่เริ่มเข้าสู่สังคมการทำงาน ผู้สูงอายุที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการชะลอวัย และลูกค้าต่างชาติที่จะเข้ามาใช้บริการ จึงเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทยประเภทธุรกิจความงามที่ต้องรีบคว้าไว้.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

รมว.สธ. ขออย่าตื่นตระหนกโควิด-19 กลับมาระบาดหนัก

“สมศักดิ์” ขออย่าตื่นตระหนกโควิด-19 กลับมาระบาดหนัก ชี้ปัจจุบันกลายเป็นโรคประจำถิ่น ติดง่าย แต่อาการรุนแรงน้อย เผยผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลงแล้ว แนะปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เตือนหากเสี่ยง ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

เตือนอีสาน ระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองลูกเห็บตก

กรมอุตุฯ เตือนอีสาน ระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่า ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง

นักวิชาการ ชี้ข่าวลบไม่กระทบคะแนนเสียง สท.ธัญบุรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี วันอาทิตย์ที่ 11 พ.ค.นี้ นับว่าแข่งขันกันดุเดือด นักวิชาการ และประชาชนมองอย่างไร ลองไปไล่เรียงกัน