KKP วิเคราะห์ GMT กระทบไทยไม่มาก แนะรัฐคว้าเป็นโอกาสอัดฉีดขีดความสามารถประเทศ

กรุงเทพฯ 10 ก.พ.-KKP วิเคราะห์ผลกระทบ Global Minimum Tax ต่อไทยไม่มาก แต่ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะการแข่งขันภาคการส่งออก แนะรัฐคว้าเป็นโอกาสอัดฉีดขีดความสามารถประเทศ

KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวถึงกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก หรือ Global Minimum Tax (GMT) 15% ต่อประเทศไทย มองว่าผลกระทบอาจมีไม่มาก เนื่องจากไทยยังมีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษีดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน รวมทั้งอัตราภาษีนิติบุคคลและสิทธิประโยชน์ทางภาษีของไทยก็ไม่ได้แตกต่างจากประเทศคู่แข่งมากนักอย่างไรก็ตาม แม้ผลกระทบจะจำกัด แต่ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะภาคการส่งออก ไทยจึงควรเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยแบ่งสรรรายได้ภาษีที่รัฐจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น มาลงทุนกับนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน


แนวคิดเรื่อง Global Minimum Tax (GMT) ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เพื่อบรรเทาปัญหาการแข่งขันลดอัตราภาษีนิติบุคคล ที่หลายประเทศต่างพยายามจูงใจดึงเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ (FDI) ผ่านอัตราภาษีที่ต่ำ นำไปสู่การหลบเลี่ยงภาษีของธุรกิจที่มักโยกย้ายกำไรไปบันทึกในดินแดนภาษีต่ำ (tax haven) แทน ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้จำนวนมาก

โดยหลักการและกรอบความคิดของกฎเกณฑ์ภาษีรูปแบบใหม่นี้ จะบังคับใช้กับกลุ่มบริษัทข้ามชาติ (MNEs) ที่มีรายได้รวมทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านยูโรต่อปีอย่างน้อย 2 ใน 4 รอบปีบัญชี ซึ่งหาก MNEs นั้นมีการเสียภาษีในประเทศใดต่ำกว่า 15% จะต้องถูกเก็บภาษีส่วนเพิ่มเพื่อให้ถึงระดับ 15%


สำหรับประเทศไทย มีการบังคับใช้พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ต้นปี 2568 โดยผลกระทบต่อไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับด้วยกัน คือ ระดับ micro กลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ของไทยที่มีการไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในไทยเอง อาจต้องเผชิญกับต้นทุนการทำธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ในระดับ macro นั้น เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ MNEs ของต่างประเทศที่มาลงทุนในไทย ทำให้ MNEs เหล่านั้นต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ความน่าสนใจของการมาลงทุนในไทยนั้นลดทอนลงบ้าง

อย่างไรก็ตาม KKP Research คาดว่าผลกระทบของการบังคับใช้กฎเกณฑ์ GMT ต่อแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยจะมีไม่มาก เนื่องจากเหตุผล 3 ประการด้วยกัน

ประการแรก อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของไทยและประเทศคู่แข่งมีความใกล้เคียงและไม่ได้แตกต่างกันมาก อัตราภาษีในไทยที่ 20% ถือว่าใกล้เคียงกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ที่ 17-25% นอกจากนี้ นโยบายต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศนำมาใช้เพื่อดึงดูด FDI ก็มีความคล้ายคลึงกัน
ประการที่สอง ปัจจัยที่ดึงดูด FDI ของไทยไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว แต่มีอีกหลายปัจจัยที่ล้วนแล้วมีบทบาทที่สำคัญยิ่งกว่า อาทิ โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย ระบบสาธารณูปโภคที่ดี ห่วงโซ่อุปทานที่ครบครัน ทักษะของแรงงานและค่าจ้างที่สมเหตุสมผล เสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ


ประการสุดท้าย รัฐบาลจะมีการออกนโยบายมาลดทอนผลกระทบเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วยการขยายระยะเวลาสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% นานขึ้น 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10 ปี และการนำเงินรายได้ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นประมาณ 50-70% ไปสมทบกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ BOI สามารถนำไปใช้ดำเนินมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อลดทอนค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทข้ามชาติได้

ถึงแม้ว่าการปฏิรูปกฎเกณฑ์ทางภาษีระดับโลกนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อไทยไม่มาก แต่ปัจจุบันภาคการผลิตของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการแข่งขันที่สินค้าส่งออกหลักของไทยในอดีตเริ่มไม่เป็นที่ต้องการของตลาดโลกอีกต่อไป ด้วยกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว สอดคล้องกับตัวเลข FDI ของไทยที่เสียส่วนแบ่งให้กับประเทศคู่แข่งมากขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าการออกมาตรการมาลดทอนผลกระทบให้กับบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในไทยอาจมีความสำคัญในระยะสั้น แต่การแบ่งสรรทรัพยากรและรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มมาลงทุนกับนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศจะยิ่งมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนทักษะแรงงานให้เท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และตรงกับความต้องการของโลกยุคปัจจุบัน จะช่วยให้การลงทุนจากต่างประเทศสร้างมูลค่าและประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น.-516.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ปมเหตุเผาพ่อค้าแตงโมเสียชีวิต กลางลานจอดรถ

เผยปมเหตุเผาพ่อค้าขายแตงโมกลางลานจอดรถวัดดังย่านยานนาวา ล่าสุดลูกสาวโพสต์เศร้า หลังพ่อเสียชีวิต พบประวัติผู้ก่อเหตุเพิ่งพ้นโทษคดีพยายามฆ่าเมื่อ 4 ปีก่อน

ระงับทุนการศึกษาเมียนมา

VOA ส่งตรงจากสหรัฐ : “ทรัมป์” ระงับทุนการศึกษา นศ.เมียนมา

นักเรียนทุนเมียนมาตกใจเมื่อพบว่าทุนการศึกษาของพวกเขาถูกยกเลิกไปกะทันหัน หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งระงับงบประมาณ 45 ล้านดอลลาร์ที่ให้กับนักศึกษาเมียนมากว่า 400 ชีวิต ภายใต้องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ หรือ USAID คุณคมสัน ศรีธนวิบุญชัย ผู้สื่อข่าววีโอเอไทย ส่งรายงานมาจากสหรัฐ

ฆ่ายัดกระเป๋า

พบเบาะแสคนร้าย คดีฆ่าสาวยัดกระเป๋าถ่วงน้ำ

พบเบาะแสคดีฆ่าสาวปริศนา ยัดกระเป๋าถ่วงน้ำ จ.ระยอง ชาวบ้านเผยเห็นรถต้องสงสัยบริเวณจุดทิ้งศพ เชื่อวนกลับมาดูว่าศพลอยน้ำหรือไม่

สาดน้ำร้อน

คุมตัว “พีม-โอชิ” มือสาดน้ำซุปรังสิต ดำเนินคดีเพิ่ม

ตำรวจ คุมตัว “พีม-โอชิ” มือสาดน้ำซุปรังสิต มาโรงพัก แม่ผู้เสียหายร้องไห้ถาม “ทำแบบนี้กับลูกของแม่ทำไม สำนึกผิดบ้างไหม”

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยภาคเหนือ-อีสาน อากาศหนาวในตอนเช้า

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลาง กทม.-ปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

โล่งอก! สายการบิน Aeroflot ลงจอดปลอดภัยแล้วที่สนามบินสุวรรณภูมิ

กัปตันนำเครื่องบินสายการบิน Aeroflot ลงจอดสนามบินสุวรรณภูมิ ได้อย่างปลอดภัยแล้ว หลังจากบินวนกลางทะเลอันดามันเกือบ 3 ชั่วโมง คาดล้อเครื่องบินมีปัญหา

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ยุทธการอรัญฯ 68 SEAL BORDER

วันนี้ตำรวจภูธรภาค 2 ร่วมกับ กสทช. ลงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เปิดยุทธการอรัญฯ 68 SEAL BORDER สกัดกั้นแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงคนไทย