การท่าเรือฯ ลงนามท่าเรือเมืองโยโกฮาม่าพัฒนากิจการท่าเรือ

เมืองโยโกฮาม่า 22 ม.ค.-“สุริยะ” นำการท่าเรือฯ ลงนาม LOI ร่วมกับเมืองโยโกฮามา ย้ำความสัมพันธ์ครบรอบ 10 ปี จับมือพัฒนากิจการท่าเรือ-โครงสร้างพื้นฐาน-บุคลากร-สิ่งแวดล้อม-ชุมชนของทั้งสองท่าเรือ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยความยั่งยืน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างการท่าเรือฯ และเมืองโยโกฮาม่า และประชุมร่วมกับบริษัท Yokohama-Cargo-Center (YCC) พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการท่าเรือฯ คณะกรรมการการท่าเรือฯ นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ และผู้บริหารการท่าเรือฯ ณ ประเทศญี่ปุ่น


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันนี้นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญสำหรับการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent : LOI) ฉบับใหม่ เพื่อยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านการพัฒนากิจการท่าเรือ โครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่หลังท่า ส่งเสริมการตลาด เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมพร้อมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ชุมชนของทั้งสองท่าเรือ เพื่อก้าวเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่างกัน โดยเมืองโยโกฮาม่าจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่วมการศึกษาโครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญ (Flagship Project) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และจะสนับสนุนความช่วยเหลือเชิงวิชาการในด้านการพัฒนาท่าเรือสีเขียว การส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการตลาดเชิงรุก เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในอนาคต

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานกรรมการการท่าเรือฯ กล่าวต่อว่า การเดินทางเยือนโยโกฮาม่าในครั้งนี้ เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 10 ปี ระหว่างการท่าเรือฯ และเมืองโยโกฮาม่า แสดงถึงมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2557 อีกทั้ง ท่าเรือโยโกฮาม่ายังมีการพัฒนาท่าเรือที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการยกระดับการให้บริการท่าเรือที่ประสิทธิภาพปลอดภัย รวดเร็ว และแม่นยำ ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือเพื่อรองรับเรือขนาดใหญ่ พัฒนาพื้นที่หลังท่าเพื่อให้เกิดการบูรณาการที่เชื่อมโยงระบบการขนส่ง เพื่อลดปัญหาการจราจร และลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทั้งยังมีการพัฒนาโครงการ Minato Mirai 21 ซึ่งเป็นพื้นที่ริมน้ำสำหรับชุมชนและเป็นจุดชมวิวที่สำคัญ ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่รวมถึงการสร้างงานให้กับชุมชน นอกจากนี้ ท่าเรือโยโกฮาม่ายังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยการประกาศนโยบาย Net Zero Carbon ภายในปี 2593 ซึ่งสนับสนุนการใช้เรือลากจูงพลังงานแอมโมเนีย และให้สิทธิพิเศษกับรถบรรทุกและเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นต้นแบบในการพัฒนาเพิ่มศักยภาพและยกระดับมาตรฐานของการท่าเรือฯ


นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังพิธีลงนามฯ และการหารือในครั้งนี้ ทราบว่าการพัฒนาในด้านต่างๆ ของท่าเรือโยโกฮาม่า มีแนวทางการพัฒนาและกำหนดนโยบายเช่นเดียวกับกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการบริหารจัดการด้านจราจร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวสู่ Smart & Green Port รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการเดินทางมาศึกษาดูงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับการท่าเรือฯ ในการแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาท่าเรือและสามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาท่าเรือ รวมทั้งต่อยอดในโครงการต่างๆ ในหลายประเด็น อาทิ

1)การพัฒนาท่าเรือให้เป็นเมืองท่าและศูนย์กระจายสินค้า การพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ของท่าเรือโยโกฮาม่าสามารถเป็นหนึ่งในต้นแบบสำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าอาคารสำนักงาน และพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ (Bangkok Logistics Park) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศได้ถึง 1.41 พันล้านบาท หรือประมาณ 0.01% ของ GDP อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจและเกิดการสร้างงาน ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของท่าเรือกรุงเทพให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค
2)การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่หลังท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
การพัฒนาพื้นที่หลังท่าของเมืองโยโกฮาม่า โดยเฉพาะการพัฒนาทางยกระดับ ถือเป็นแนวทางในการต่อยอดโครงการพัฒนาทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพกับทางพิเศษ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า ลดปัญหาจราจรติดขัดรอบพื้นที่ท่าเรือ รองรับการขยายตัวของโครงการ Smart Community และ Smart City และเพิ่มมูลค่าที่ดินของการท่าเรือฯ นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบด้วยการลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ จากการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจพบว่าโครงการนี้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ในช่วง 1,187.02 – 1,528.77 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (EIRR) อยู่ระหว่าง 17.99% – 19.51% และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) อยู่ที่ 1.60 – 1.77 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
3)การพัฒนาระบบการให้บริการโลจิสติกส์เพื่อลดปัญหาการจราจร โดยพัฒนาพื้นที่จุดพักรถบรรทุก (Truck Parking) ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการจราจร (Truck Q) เพื่อลดปัญหาการจราจรทั้งภายในและภายนอกท่าเรือ โดยจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น อาทิ ร้านอาหาร ฯลฯ สำหรับรถบรรทุกที่เข้ามารอเวลารับ-ส่งสินค้าจากสายเรือ
4)การพัฒนาท่าเทียบเรือสำราญและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว การบริหารจัดการและพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาโครงการ Bangkok Port Passenger Cruise Terminal บนพื้นที่ 67.41 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและการท่องเที่ยวทางน้ำ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและส่งเสริมเศรษฐกิจในระยะยาว โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวคิด Eco City โดยโครงการนี้จะช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวชั้นนำและสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ การท่าเรือฯ จะเร่งพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะระบบ Port Automation และ Port Community System รวมทั้งการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยกระดับประสิทธิภาพระบบคมนาคมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ชุมชนต่อไป

สำหรับประเทศญี่ปุ่นนับเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย (อันดับที่ 3) โดยมีเมืองโยโกฮาม่าเป็นเมืองที่มี ขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากโตเกียว และมีท่าเรือโยโกฮาม่าที่เป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งกำกับดูแลโดยเมืองโยโกฮาม่าและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าโดยบริษัท Yokohama Kawasaki International Port Corporation (YKIP) เป็นท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น หรืออันดับที่ 68 ของโลก รองจากท่าเรือโตเกียว (อันดับที่ 46 ของโลก) โดยในปี 2566 มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า 3.02 ล้าน ทีอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ท่าเรือโยโกฮาม่าเป็นท่าเรือท่องเที่ยวอันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น โดยในปี 2566 รองรับเรือท่องเที่ยว จำนวน 171 ลำ และผู้โดยสาร จำนวน 467,536 คน โดยท่าเรือโยโกฮาม่าสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมดของเมืองโยโกฮาม่า.-513.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ววันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟนฝากลูกหลานช่วยด้วย

นายกฯหารือบริษัทยา

นายกฯ ถกบริษัทยา Astrazeneca พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทย

บริษัทยาระดับโลก Astrazeneca หารือ นายกฯ ยืนยันไทยยังเป็นพันธมิตรที่ดีมายาวนาน พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ นายกฯ มั่นใจการแพทย์ของไทยติดระดับในโลก ยืนยันหลายประเทศทั่วโลกบินมารักษาในประเทศไทยจำนวนมาก

ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค.

กรมควบคุมมลพิษ เผยวันนี้ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค. ประสานทุกหน่วยงานยกระดับการแก้ไขปัญหา พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข