ดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯ กทม.-ปริมณฑล ไตรมาส 3/67 ลดลง-4.6 จุด ต่ำกว่าค่ากลาง 7 ไตรมาสติด

กรุงเทพฯ 18 ต.ค. – ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. (REIC) เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 3/67 ที่ระดับ 45.1 ลดลง-4.6 จุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และลดลง -0.1 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2567 ภาพรวมต่ำกว่าค่ากลางติดต่อกัน 7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2566 สะท้อนภาพผู้ประกอบการฯ มเชื่อมั่นภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่อง แต่คาดหวังอีก 6 เดือนข้างหน้าความเชื่อมั่นจะเพิ่มมากขึ้น
 
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. (REIC) เปิดเผยว่า REIC ได้ติดตามสถานการณ์ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550-ปัจจุบัน พบว่า ณ ไตรมาส 3 ปี 2567 ผู้ประกอบการฯ มีความเชื่อมั่นลดลงเกือบทุกด้านเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดยพบว่า ความเชื่อมั่นฯ ด้านยอดขายลดลงมากที่สุด -6.6 จุด อยู่ที่ระดับ 40.7 (จากระดับ 47.3 ในไตรมาสก่อน) รองลงมาเป็นความเชื่อมั่นฯ ด้านการลงทุนลดลง -0.2 จุด อยู่ที่ระดับ 47.4 (จากระดับ 47.6 ในไตรมาสก่อน) ในขณะที่ความเชื่อมั่นฯ ด้านผลประกอบการเพิ่มขึ้น 2.5 จุด อยู่ที่ระดับ 42.0 (จากระดับ 39.5 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านการเปิดโครงการใหม่ และ/หรือ เฟสใหม่เพิ่มขึ้น 1.6 จุด อยู่ที่ระดับ 50.7 (จากระดับ 49.1 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านต้นทุนการประกอบการ (ผกผัน) ที่เพิ่มขึ้น 1.5 จุด อยู่ที่ระดับ 40.4 (จากระดับ 38.9 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 0.9 จุด อยู่ที่ระดับ 49.6 (จากระดับ 48.7 ในไตรมาสก่อน) แต่ค่าดัชนีเกือบทุกด้าน อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50.0


เมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ประกอบการฯ พบว่าความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่มListed Companies หรือกลุ่มบริษัทมหาชน ในไตรมาส 3 ปี 2567 มีค่าดัชนีระดับ 47.9 น้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีระดับ 52.2 และน้อยกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจในภาวะปัจจุบันลดลง และมีแนวโน้มที่จะวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่า ความเชื่อมั่นฯ ด้านยอดขายมีค่าลดลงมากที่สุด อยู่ที่ระดับ 43.8 (จากระดับ 59.6 ในไตรมาสก่อน) รองลงมาเป็นความเชื่อมั่นฯ ด้านการลงทุนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.1 (จากระดับ 57.7 ในไตรมาสก่อน) ด้านการเปิดโครงการใหม่ และ/หรือ เฟสใหม่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.1(จากระดับ 57.7 ในไตรมาสก่อน) และด้านผลประกอบการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.7 (จากระดับ 50.0 ในไตรมาสก่อน) แต่มีความเชื่อมั่นฯ 2 ด้านที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้านต้นทุนการประกอบการ (ผกผัน) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 39.6 (จากระดับ 36.5ในไตรมาสก่อน) และด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.1 (จากระดับ 51.9 ในไตรมาสก่อน)
 
ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies หรือผู้ประกอบการรายกลาง-รายย่อย มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ระดับ 41.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ระดับ 34.6 แต่ยังต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจในภาวะปัจจุบันลดลงเช่นเดียวกับกลุ่ม Listed Companies แต่มีทิศทางแนวโน้มที่คลายความวิตกกังวลได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ Non-listed Companies ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นเกือบทุกด้านเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยพบว่า ความเชื่อมั่นฯ ด้านการเปิดโครงการใหม่ และ/หรือ เฟสใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ระดับ 48.6 (จากระดับ 36.3 ในไตรมาสก่อน) รองลงมาเป็นความเชื่อมั่นฯ ด้านผลประกอบการ ซึ่งเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 33.3 (จากระดับ 23.8 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านการลงทุนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40.3 (จากระดับ 32.5 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านยอดขายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 36.1 (จากระดับ 28.8 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.8 (จากระดับ 43.8) แต่มีความเชื่อมั่นฯ ด้านต้นทุนการประกอบการ (ผกผัน) ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.7 (จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อน) (ดูตารางที่ 1 และแผนภูมิที่ 1) 


สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑลในภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) พบว่าค่าดัชนีอยู่ในระดับ 51.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ที่มีค่าดัชนีระดับ 51.4 โดยเพิ่มขึ้น 0.2 จุด ซึ่งค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการฯ มีความเชื่อมั่นในมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า หากพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าความเชื่อมั่นฯ ด้านยอดขายเพิ่มขึ้น 3.4 จุด มาอยู่ที่ระดับ 57.8 (จากระดับ 54.4 ในไตรมาสก่อน) รองลงมาเป็นความเชื่อมั่นฯ ด้านต้นทุนการประกอบการ (ผกผัน) มีระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 2.9 จุด อยู่ที่ระดับ 37.5 (จากระดับ 34.6 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.2 จุด อยู่ที่ระดับ 52.4 (จากระดับ 50.2 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านผลประกอบการเพิ่มขึ้น 2.0 จุด อยู่ที่ระดับ 53.0 (จากระดับ 51.0 ในไตรมาสก่อน) ทั้งนี้ มีความเชื่อมั่นฯ 2 ด้านที่มีค่าดัชนีลดลงจากไตรมาสก่อน ได้แก่ ความเชื่อมั่นฯ ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่และ/หรือเฟสใหม่ลดลง -6.3 จุด อยู่ที่ระดับ 58.1 (จากระดับ 64.4 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านการลงทุนลดลง -3.1 จุด อยู่ที่ระดับ 51.0 (จากระดับ 54.1 ในไตรมาสก่อน) 

เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ พบว่า กลุ่มListed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 51.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีระดับ 54.9 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า แต่มีความเชื่อมั่นลดลงจากไตรมาสก่อน หากพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า กลุ่ม Listed Companies มีความเชื่อมั่นลดลงเกือบทุกด้าน โดยความเชื่อมั่นฯ ด้านการลงทุนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.9 (จากระดับ 57.7 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านผลประกอบการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.3 (จากระดับ 58.3 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่และ/หรือเฟสใหม่ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 62.5 (จากระดับ 67.3 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านยอดขายลดลง อยู่ที่ระดับ 58.3 (จากระดับ 61.5 ในไตรมาสก่อน) แต่มีความเชื่อมั่นฯ 2 ด้านที่มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ได้แก่ ความเชื่อมั่นฯ ด้านต้นทุนการประกอบการ (ผกผัน) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 37.5 (จากระดับ 32.7 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 52.1 (จากระดับ 51.9 ในไตรมาสก่อน)

ขณะที่ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 51.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีระดับ 46.3 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีความเชื่อมั่นและมีมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอีก 6 เดือนข้างหน้ามากขึ้น หากพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าความเชื่อมั่นฯ ด้านผลประกอบการเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 54.2 (จากระดับ 40.0 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านยอดขายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.9 (จากระดับ 43.8 ในไตรมาสก่อน) ความเชื่อมั่นฯ ด้านการลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.6 (จากระดับ 48.8 ในไตรมาสก่อน) และความเชื่อมั่นฯ ด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.8 (จากระดับ 47.5 ในไตรมาสก่อน) ในขณะที่ความเชื่อมั่นฯ ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่และ/หรือเฟสใหม่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.4 (จากระดับ 60.0 ในไตรมาสก่อน) ส่วนความเชื่อมั่นฯ ด้านต้นทุนการประกอบการ (ผกผัน) มีระดับความเชื่อมั่นคงเดิมที่ระดับ 37.5 (ดูตารางที่ 2 และ แผนภูมิที่ 2). -516-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า