“มนพร” เดินหน้าแหลมฉบัง เฟส 3 ส่วนที่ 2 คาดเปิดได้ปี 2570

กรุงเทพ 31 ก.ค.-“มนพร” เดินหน้าแหลมฉบัง เฟส 3 ส่วนที่ 2 งานโครงสร้างพื้นฐาน – สิ่งอำนวยความสะดวก – ระบบโครงข่ายขนส่ง มั่นใจเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570 สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ – การลงทุนในภูมิภาคเอเชีย


นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นหนึ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนที่รัฐบาลให้ความสำคัญตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 ในวันนี้ จึงถือเป็นความคืบหน้าที่ดีในการผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าสู่การลงทุนในภูมิภาคเอเชีย พร้อมรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยจะเป็นการเริ่มงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค โครงข่ายและระบบการขนส่งต่อยอดจากการดำเนินงานส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นงานก่อสร้างทางทะเลที่อยู่ระหว่างเร่งรัดให้กิจการร่วมค้า CNNC ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด

นางมนพร กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้ กทท. กำกับ ควบคุม และดูแลการดำเนินงานในส่วนที่ 2 นี้ ให้สำเร็จลุล่วงตามกรอบเวลา เพื่อให้มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ให้กิจการร่วมค้า GPC ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2568 และสามารถเปิดให้บริการท่าเรือ F ได้ภายในสิ้นปี 2570 ซึ่งจะส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบังสามารถรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นอีก 4 ล้านทีอียูต่อปี รวมเป็น 15 ล้านทีอียูต่อปี จากเดิมที่ระยะที่ 1 และ 2 สามารถรองรับได้ 11 ล้านทีอียูต่อปี


นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าเรือมีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งที่ต่อเนื่อง พร้อมรองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าทางเรือ การขนส่งสินค้าทางรถไฟ และสินค้าประเภทต่าง ๆ การดำเนินงานประกอบด้วยงานก่อสร้างหลักที่สำคัญ ได้แก่ งานระบบถนน งานอาคาร งานระบบสาธารณูปโภคงานท่าเทียบเรือชายฝั่ง และงานท่าเทียบเรือบริการ รวมถึงการวางระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรองรับการสร้างรางรถไฟเข้าไปถึงบริเวณหลังท่าเทียบเรือ ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรางที่สำคัญที่จะทำให้การขนส่งตู้สินค้าทางรางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนมาสู่ทางรางและทางน้ำ รวมทั้งสนับสนุนการบริหารจัดการ ด้วยเทคโนโลยีท่าเรือสมัยใหม่ที่มีศักยภาพสูงตลอดจนการเป็นท่าเรือที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบยกตู้สินค้าอัตโนมัติในลานกองตู้สินค้า ยานพาหนะแบบไร้คนขับ (Automated Guided Vehicle : AGV) ระบบการตรวจสอบและอ่านหมายเลขตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Optical Character Recognition : OCR) เพื่อสแกนข้อมูลบนตู้สินค้าโดยอัตโนมัติ ลดความผิดพลาดในการนำส่งข้อมูล เป็นต้น โดยบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 1,260 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กทท. ให้เริ่มงานวิสัยทัศน์ “ มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก พร้อมการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2573”

นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีการแบ่งงานก่อสร้างหลักภายใต้ความรับผิดชอบของ กทท. ออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 งานก่อสร้างงานทางทะเล ดำเนินงานโดยกิจการร่วมค้า CNNC ซึ่งขณะนี้งานถมทะเลในภาพรวมมีความคืบหน้า 36% ส่วนที่ 2 งานก่อสร้างอาคารท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภคที่ได้มีการลงนามในวันนี้ มูลค่าโครงการ 7,298 ล้านบาท ส่วนที่ 3 งานก่อสร้างระบบรถไฟ และส่วนที่ 4 งานจัดหาเครื่องมือ พร้อมจัดหาและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยงานส่วนที่ 3 และ 4 อยู่ระหว่างการจัดทำร่าง TOR คาดว่าจะสามารถประกาศประกวดราคาได้ภายในต้นปี 2568

ด้าน Mr. Jiang Houliang กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคบริษัท China Harbour Engineering Company กล่าวว่า บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในงานก่อสร้างท่าเรือทั่วโลก รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศไทยมาอย่างยาวนานด้วยความพร้อมและความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมระดับสากล เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 ให้เป็นไปอย่างมาตรฐานและสำเร็จลุล่วงตามกรอบระยะเวลาตามสัญญาที่กำหนดได้อย่างแน่นอน


Mr. Wang Haiguang กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ บริษัทฯ ครบรอบการก่อตั้งเป็นปีที่ 30 ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยก่อสร้างท่าเทียบเรือให้กับบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นท่าเทียบเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย และในปีนี้นับเป็นความภาคภูมิใจอีกครั้งที่ได้ร่วมดำเนินการโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 นเมกะโปรเจ็กต์ที่สำคัญของประเทศไทย.-513-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน

บึ้มรถกระบะ สนามบินนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่

บึ้มรถกระบะจอดใกล้กับหอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่สนามบินบ้านทอน ในอีก 50 นาที ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ

น้ำป่าหลากท่วม อ.ไทรโยค กลางดึก

ระทึกกลางดึก น้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือนประชาชน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ถนนหลายเส้นถูกน้ำป่าพัดขาด จนท.เร่งอพยพประชาชนด้วยความยากลำบาก

Pope at Vatican on Feb 5, 2025 says have a strong cold

โป๊ปฟรันซิสพระอาการวิกฤต

วาติกัน 23 ก.พ.- พระอาการประชวรของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ทรุดลงอยู่ในขั้นวิกฤตในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สำนักวาติกันออกแถลงการณ์ฉบับล่าสุดเมื่อวันเสาร์ว่า พระอาการประชวรของสมเด็จพระสันตะปาปาทรุดลงในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และระบุเป็นครั้งแรกว่า พระอาการของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤตจากโรคระบบทางเดินหายใจคล้ายกับโรคหอบหืดในช่วงเช้าวันเสาร์ ทำให้ขณะนี้พระองค์จำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเสริมและการถ่ายเลือด โดยรวมแล้วถือว่า พระอาการอยู่ในขั้นวิกฤตและยังไม่พ้นขีดอันตราย อย่างไรก็ดี พระองค์ยังทรงตื่นตัว และประทับนั่งบนเก้าอี้ตลอดวัน แม้ว่าทรงประชวรมากกว่าวันก่อนหน้านี้ก็ตาม พระสันตะปาปาฟรันซิส พระชนมายุ 88 พรรษา ทรงเข้ารับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลเจเมลลี ในกรุงโรม ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ หลังทรงมีพระอาการหายใจติดขัดต่อเนื่องหลายวัน และตรวจพบว่าปอดอักเสบทั้งสองข้าง ทรงร้องขอให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพระอาการของพระองค์อย่างตรงไปตรงมา สำนักวาติกันจึงออกแถลงการณ์ชี้แจงความคืบหน้าอาการประชวรของพระองค์ต่อเนื่องทุกวัน แต่แถลงการณ์ฉบับล่าสุดถือเป็นครั้งแรกที่มีเนื้อหาระบุชัดเจนว่า อาการประชวรของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤต ขณะที่แพทย์คาดการณ์ว่า พระองค์จะต้องประทับอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อยตลอดสัปดาห์หน้า ภารกิจต่อสาธารณชนทั้งหมดของพระสันตะปาปาจึงถูกยกเลิกตลอดสัปดาห์ ทั้งพิธีมิสซาประจำวันอาทิตย์ รวมถึงการสวดภาวนาแองเจลัส (Angelus) ตามปกติทุกสัปดาห์ด้วย.-815(814).-สำนักข่าวไทย