รัฐสภา 25 มิ.ย.- กมธ.ไอซีที ฝากการบ้าน สว.ชุดใหม่ สานต่อคุมเข้ม อาชญากรรมทางไซเบอร์ ทั้งระงับหมายเลข แก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษ แนะธนาคารทำแอปฯ ตรวจสอบใบหน้า แก้ไขปัญหาบัญชีม้า หลังมีเหยื่อออนไลน์หนักขึ้นทุกวัน
พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ประชุมนัดสสุดท้าย สำหรับ กมธ.ไอซีที จึงฝากการบ้านให้ สว.ชุดใหม่ สานต่อมาตรการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) ผ่านหลายแนวทาง ประกอบด้วย
- กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบการโทรคมนาคมต้องมีมาตรการบังคับให้ค่ายมือถือปฏิบัติตามพระราชกำหนดฯ อาทิ การระงับเลขหมายที่ใช้ในการกระทำความผิดในทันที เพื่อมิให้นำไปใช้หลอกลวงประชาชนอีกต่อไป และบังคับใช้มาตรการ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมให้รับผิดชอบชิมการ์ดของตนเองทุกเลขหมาย
- กสทช. ควรใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดหลายมาตรการดูแลค่ายมือถือ
- หลายหน่วยงาน ทั้งภาคธนาคาร ภาคโทรคมนาคม และตำรวจไซเบอร์ ร่วมดูแลผู้ประสบเหตุหลอกลวงออนไลน์ มาตรฐานเดียวกัน
- มาตรการป้องกันและปราบปราม ควรนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความรวดเร็วแม่นยำ ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ทันเหตุการณ์
- หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยแจ้งความคืบหน้าการติดตามตัวผู้กระทำความผิดหรือการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายในแต่ละกรณีให้สาธารณชนรับทราบ เตือนประชาชนทุกช่องทาง เช่น บิลบอร์ดบนทางด่วนหรือตามสี่แยก รวมทั้งในบริเวณพื้นที่ส่วนราชการต่าง ๆ
- ควรประชาสัมพันธ์หมายเลขแจ้งเหตุของทุกธนาคาร เพื่อให้ช่วยแจ้งระงับธุรกรรมได้อย่างทันท่วงที หลายหน่วยงาน ควรเผยแพร่ ข้อมูลการจับกุม การลงโทษ วิธีการหลอกลวง แนวทางการป้องกัน และข้อมูลอื่น ๆ ที่ประชาชนตระหนักถึงผลเสียหาย ตื่นรู้ ป้องกันตนเอง
- ภาคธนาคารควรจัดทำแอปพลิเคชัน ตรวจสอบใบหน้าผู้รับโอนเงิน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องบัญชีม้าได้อย่างดี.
- ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานการทำงานระหว่างกันและอาศัยหน่วยงานที่มีอำนาจให้ช่วยดำเนินการทันทีไปพลางก่อน การแก้ไข พ.ร.ก.ป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ เพราะการหลอกลวงยังเกิดขึ้นทุกวัน นายกรัฐมนตรี ต้องลงมาสั่งการด้วยตนเอง เพราะปัญหาหนักขึ้นอย่างมาก
- ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายในขั้นต้นจนกว่าคดีจะถึงที่สุด คล้ายกับกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ
10.ประเทศไทยควรเป็นผู้นำในการก่อตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับอาเซียน ผ่านเวทีประชุมนานาชาติ เพราะไทยได้รับความเดือดร้อน เสียหายมากหลายหมื่นล้านบาท โดยเสนอผ่านกระทรวงการต่างประเทศนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการอาเซี่ยนในกรอบที่เกี่ยวข้อง คณะทำงาน WG-AS ผลักดันการประชุมระดับต่าง ๆ เพื่อเสนอระดับผู้นำประเทศ โดยนำแนวทางของ EU มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของอาเซียน - ดาวเทียมวงโคจรต่ำ มีประโยชน์สำหรับอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล จึงต้องระวังหากมีการนำมาใช้ในการหลอกลวงประชาชน ปัจจุบันยังไม่มีการอนุญาตให้บริการดาวเทียมวงโคจรต่ำในประเทศไทย จึงต้องหาแนวทางป้องกัน
- การเร่งรัดให้ ยืนยันตัวตนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนทั้งหมด เพื่อให้ธนาคาร ตรวจสอบรายชื่อเจ้าของซิมการ์ดจากเลขหมายบัตรประชาชน กรณีชิมการ์ด จดทะเบียนในนามบริษัท ต้องระวังมิจฉาชีพเริ่มใช้ชิมการ์ดของบริษัทนิติบุคคล ใช้โทรหลอกลวงออนไลน์
- การใช้โทรศัพท์หลอกลวงหรือการโอนเงินออกจากบัญชี สามารถสืบค้นต้นตอหรือร่องรอยที่มาที่ไปได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือพิจารณาจากความเป็นเจ้าของชิมการ์ดและเจ้าของบัญชี.-515 สำนักข่าวไทย