GPSC จับมือกลุ่มอวาด้า ศึกษาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดแบบครบวงจร

กรุงนิวเดลี อินเดีย 8 ส.ค.- GPSC บุกตลาดพลังงานประเทศอินเดีย จับมือพันธมิตรกลุ่มอวาด้า ชิงตลาดไฟฟ้าสีเขียวในประเทศอินเดียที่มีสูงถึง 500 GW


GPSC โชว์ศักยภาพตลาดไฟฟ้าอินเดียเติบโตแข็งแกร่ง จากนโยบายผลักดันพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาล จับมือกลุ่มอวาด้า ศึกษาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดแบบครบวงจร ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฮโดรเจน และโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ (แบบต่อเนื่องตั้งแต่ผลึกซิลิคอนไปจนถึงแผงโซลาร์) รองรับระบบเศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่อเนื่อง คาดการใช้พลังงานสะอาดสูงถึง 500 กิกะวัตต์ มุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2613 หนุนศักยภาพ GPSC เติบโตและก้าวสู่ผู้นำตลาดพลังงานหมุนเวียนของไทย 

นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8-12 สิงหาคม 2566 ได้นำคณะผู้บริหารและสื่อมวลชนเดินทางเพื่อศึกษาศักยภาพการเติบโตของตลาดพลังงานสะอาด และนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดของประเทศอินเดีย ซึ่งรัฐบาลอินเดียมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2613 ประกอบกับอินเดียมีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน ในขณะที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อประชากรอยู่ที่ประมาณ 1.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง เมื่อเทียบกับปริมาณเฉลี่ยของประชากรโลกที่ 3.4 เมกะวัตต์ชั่วโมง จึงทำให้ตลาดอินเดียมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของ GPSC เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดพลังงานหมุนเวียนของไทย 


สำหรับการลงทุนที่อินเดีย บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GRSC) ที่ GPSC ถือหุ้น 100% ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท อวาด้า เวนเจอร์ ไพรเวท จำกัด (Avaada Venture Private Limited) หรือ AVPL ในปี 2564 เพื่อลงทุนใน บริษัท อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท จำกัด (Avaada Energy Private Limited) หรือ AEPL  บริษัทในกลุ่มอวาด้า (Avaada Group)  ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำในประเทศอินเดีย โดย GRSC เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 42.93% และยังได้ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจใน AEPL ให้ครอบคลุมธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) อีกด้วย ซึ่งปัจจุบัน AEPL มีการเติบโตโดยชนะประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดียอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ การเข้าร่วมทุนกับ AEPL มีส่วนสำคัญต่อการขยายสัดส่วนกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของ GPSC ให้ได้ตามเป้าหมายมากกว่า 50% ในปี 2573 ซึ่งปัจจุบัน GPSC มีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 3,629 เมกะวัตต์ คิดเป็น 45% ของกำลังการผลิตรวม ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ 4 กลยุทธ์การเติบโต หรือ 4S  ประกอบด้วย S1: Strengthen and Expand the Core การสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมขยายการให้บริการในธุรกิจหลัก ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต  S2: Scale-up Green Energy การเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด S3: S-Curve & Batteries การพัฒนานวัตกรรมพลังงาน และธุรกิจแห่งอนาคต S4: Shift to Customer-Centric Solutions บริการโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้า และสาธารณูปโภคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ GPSC ได้กำหนดทิศทางการเติบโตของธุรกิจ เพื่อก้าวสู่การเป็นหนึ่งในบริษัทนวัตกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยวางแผนเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตมากกว่าครึ่งหนึ่งจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2603
 
Mr. Vineet Mittal ประธาน กลุ่มอวาด้า กล่าวว่า ความร่วมมือทางธุรกิจกับ GPSC นับเป็นความสำเร็จร่วมกันในการพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ที่สอดรับกับนโยบายของทั้งสองประเทศ ในการมุ่งสู่การพัฒนาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ และเกิดความยั่งยืน ซึ่ง AEPL ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก GPSC ที่เข้าร่วมลงทุนด้วยมูลค่า 779 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา


ทั้งนี้ เป้าหมายการขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มอวาด้า สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารของนาย Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่ได้ประกาศวาระแห่งชาติ ให้มีการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สืบเนื่องจากผลการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ที่มีเป้าหมายการผลิตพลังงานโดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ 500 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งในส่วนนี้เป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 280 GW และตั้งเป้าผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 50% ภายในปี 2573 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2613 โดยอินเดียได้สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการประกาศเชิญชวนให้มีการลงทุนในหลายโครงการทั่วประเทศ ในรูปของตราสารหนี้ และหุ้นในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากชีวมวล และระบบกักเก็บพลังงานที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น  

Mr. Vineet กล่าวว่า นับเป็นความท้าทายในการเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งเรามุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความพยายามในการบุกเบิกในภาคธุรกิจที่รัฐบาลอินเดียประกาศให้เป็น “ภาคธุรกิจที่ควรผลักดัน (thrust sectors)” ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกัน

ทั้งนี้ จากคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอินเดียในปี 2566 GDP จะมีอัตราการเติบโตที่ 6.1% และในปี 2567 คาดว่าจะเติบโต 6.8% จะส่งผลให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจอินเดีย มีมูลค่าสูงถึง 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปีงบประมาณ 2569 และเพิ่มเป็น 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2573  

Mr. Kishor Nair ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AEPL กล่าวว่า ในปี 2566 นี้ กลุ่มอวาด้าสามารถชนะการประมูลโครงการเสนอราคาการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ จากโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต PLI เพื่อผลิตแผ่นเวเฟอร์ โซลาร์เซลล์ และโมดูล และ AEPL ยังได้ชนะการประมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ 2.5 GW ซึ่งทำให้ปัจจุบัน AEPL มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นมากกว่า 7 GW รวมทั้งบริษัท Brookfield ได้เข้ามาร่วมลงทุนมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐในกลุ่มอวาด้า เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไฮโดรเจน/แอมโมเนียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เนื่องจากการได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน รายใหญ่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น GPSC, Brookfield เป็นต้น

GPSC ถือหุ้นโดย บมจ.ปตท. (PTT) ในสัดส่วน 47.27% บจ. สยาม แมนเนจเม้นท์ โฮลดิ้ง (SMH: บริษัทย่อยที่ PTT ถือหุ้นทั้งหมด) 7.96% บมจ.ไทยออยล์ (TOP) 10.00%  บมจ.พีทีที โกลบอลเคมิคอล (GC) 10.00% และนักลงทุนทั่วไป 24.77%

GPSC แกนนำในการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภคของกลุ่ม ปตท. ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และอื่นๆ โดยปัจจุบัน มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติแล้วตามสัดส่วนการถือหุ้น (Equity MW) รวมประมาณ 8,060 เมกะวัตต์ ไอน้ำรวมประมาณ 3,064 ตันต่อชั่วโมง น้ำเย็นรวมประมาณ 15,400 ตันความเย็น และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมรวมประมาณ 7,026 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร