นนทบุรี 27 ก.พ.-รมว.พณ.เชื่อส่งออกข้าวไทยปีนี้ได้แน่ 8 ล้านตัน หลังค่าเงินบาทมีเสถียรภาพข้าวไทยแข่งขันได้ ประกอบอินเดียและเวียดนามชะลอส่งออกข้าว ทำให้ความต้องการข้าวไทยในตลาดโลกสูงขึ้น แนะเกษตรกรปลูกข้าวต้องรักษาคุณภาพข้าวไทยให้ดี พร้อมรอ ครม.พิจารณาโครงการประกันรายได้ยางปี 4 เคาะผ่านจ่ายเงินทันทีแบบจ่ายย้อยหลัง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้ประชุมหารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเมื่อไม่นานมานี้ และได้ประเมินทิศทางภาพรวมการส่งออกข้าวไทยและความต้องการข้าวไทยในตลาดโลกโดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลางเริ่มมีคำสั่งซื้อข้าวไทยอย่างต่อเนื่องรวมถึงอีกหลายตลาดทั่วโลก ประกอบกับในช่วงนี้ค่าเงินบาทไทยถือว่ามีเสถียรภาพทำให้ราคาข้าวไทยยังสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ และที่สำคัญขณะนี้ประเทศอินเดียและเวียดนามอาจจะชะลอการส่งออกข้าวในประเทศ จึงทำให้ความต้องการข้าวไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 65 ส่งออกข้าวไปตลาดต่างประเทศได้สูงถึง 7.7 ล้านตัน ซึ่งจากความต้องการข้าวไทยในปัจจัยดังวกล่าวจึงเชื่อว่าในปี 66 ตัวเลขการส่งออกข้าวไทยน่าจะสูงถึงกว่า 8 ล้านตันได้
นอกจากนี้ จะทำให้ราคาข้าวเปลือกชนิดต่างในประเทศดีขึ้น โดยเห็นได้จากราคาข้าวเปลือกเจ้าเฉลี่ยเกิน 7,500 บาทต่อตัน ขณะที่ข้าวเปลือกหอมมะลิโดยเน้นเป็นข้าวแห้งจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 14,000-15,000 บาทต่อตันขึ้นไป และหากช่วงไหนราคาข้าวเปลือกต่ำกว่าเกณฑ์เกษตรกรยังจะได้รับเงินชดเชยตามโครงการประกันรายได้เพิ่มเติมอีกด้วยดังนั้น สิ่งที่เกษตรกรทั่วประเทศจะต้องรักษาไว้ก็คือคุณภาพข้าวไทยจะต้องดูแลรักษาให้ดีเลิศ แม้ว่าในปีที่ผ่านมาการประกวดข้าวโลกไทยจะแพ้ข้าวหอมกัมพูชา แต่ไม่ไดเหมายความว่าข้าวไทยไม่มีคุณภาพ เพราะหากเปรียบเทียบข้าวไทยยัวเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ซึ่งในการส่งข้าวแต่ละชนิดเข้าประกวดในเวทีข้าวโลกเกินกว่าครึ่งข้าวไทยได้เรับเสาียงตอบรับที่ดีมาก จึงอยากให้เกษตรกรควรรักษาคุณภาพข้าวไทยให้ดีตลอดไป
นอกจากนี้ ยังได้เป็นประธานมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2565 ครั้งที่ 40 และการประกวดข้าวถุงคุณภาพดี ประจำปี 2565 พร้อมด้วย นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เพื่อรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพข้าวหอมมะลิ และข้าวสารบรรจุถุงของไทย ส่งเสริมการเพาะปลูกและสร้างต้นแบบการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพ การผลิตและจำหน่ายข้าวสารคุณภาพดี และเชิดชูชาวนาและผู้ประกอบการผู้รักษาคุณภาพข้าวไทย
“ตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาจ่ายเงินส่วนต่างให้เกษตรกรไปแล้วถึง 180,000 ล้านบาท ช่วยเติมเงินเข้ากระเป๋าเกษตรกร มีครอบครัวได้เงินส่วนต่างสูงสุดถึง 76,600 บาท และมีเงินอีกก้อนคือไร่ละพัน ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน อีกก้อนเข้ากระเป๋าชาวนา”นายจุรินทร์กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทยประจำปี 2565 ครั้งที่ 40 ประเภทเกษตรกรรายบุคคล รางวัลที่ 1 นายสำรวย สร้อยแก้ว จ.ยโสธร รางวัลที่ 2 นางสาวกงใจ คำมีนาม จ.สุรินทร์ รางวัลที่ 3 นางทัศนีย์ อำขำ จ.พะเยาและประเภทสถาบันเกษตรกร รางวัลที่ 1 กลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ต.ไผ่ใหญ่ จ.อุบลราชธานี รางวัลที่ 2 วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ ต.เกาะแก้ว จ.สุรินทร์ รางวัลที่ 3 กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว ต.คำเตย จ.ยโสธร และผู้ชนะการประกวดข้าวสารบรรจุถุงคุณภาพดี ประเภทผู้ประกอบการโรงสี/สหกรณ์ ชนิดข้าวหอมมะลิ รางวัลที่ 1 ตรา A-Rice รางวัลที่ 2 ตราผูกปิ่นโต รางวัลที่ 3 ตราไดโนเสาร์ ข้าวหอมไทย รางวัลที่ 1 ตราเอิร์ธไรซ์ รางวัลที่ 2 ตราลูกโลก รางวัลที่ 3 ตราดอกมะลิข้าวเหนียว รางวัลที่ 1 ตรานกนางนวล รางวัลที่ 2 ตราไหสี่หู รางวัลที่ 3 ตรานกคาบรวงข้าว ข้าวขาวพื้นนุ่ม รางวัลที่ 1 ตราต้มยำกุ้ง ข้าวขาวพื้นแข็ง รางวัลที่ 1 ตรากระต่ายทอง และสำหรับประเภทกลุ่มเกษตรกร ชนิดข้าวหอมมะลิ รางวัลที่ 1 ตราข้าวเล่าชีวิต จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวอินทรีย์เป็นสุข จ.กาฬสินธุ์ รางวัลชมเชย ตรากำนันดี จากวิสาหกิจชุมชนเมล็ดพันธุ์พืชและผลิตปุ๋ยชีวภาพและแปรรูป จ.สกลนคร รางวัลชมเชย ตราขวัญยโสธร จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติหนองยอ (บ้านกุดหิน) จ.ยโสธร และภายในงานได้มีการลงนาม MOU ซื้อข้าวหอมมะลิร่วม 1,066 ตัน ในราคานำตลาด สูงกว่าราคาตลาด 500 บาท/ตัน ระหว่างเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร กับโรงสี 5 รายด้วย
นอกจากนี้ กระทรววงพาณิชย์พยายามเร่งรัดและได้เรียนนายกรัฐมนตรีไปแล้วเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเกษตกรผู้ปลูกยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากราคายางแต่ละชนิดตกในช่วงก่อนปลายปี 65 มาแล้ว ซึ่งตนได้เซ็นเรื่องที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้ว คาดว่าหา่กที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไดเ้หยิบยกโครงการประกันรายได้ยางปี 4 เข้าที่ประชุม ครม. พิจารณาได้ คาดว่าจะนำเงินงบประมาณกว่า 7,000 ล้านบาทชดเชยตามโครวงการประกันรายได้ยางพาราได้ทันที ซึ่งจะเป็นการจ่ายเงินย้อนหลังให้เกษตรกรผู้ปลูกยางตั้งแต่เดือนตุลาคม 65 จนถึงขณะนี้อีกด้วยโดยเชื่อว่า ครม.จะพิจารณาเรื่องนี้ทันก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภาฯ ซึ่งมีความเป็นไปได้เรื่องนี้ ครม.จะพิจารณาได้ในวันพรุ่งนี้(28 ก.พ.).-สำนักข่าวไทย