แนะผู้ส่งออกศึกษาติดบาร์โค้ดแสดงหมายเลขทางแอลจีเรียเริ่มใช้แล้ว

นนทบุรี 16 ก.พ.-อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศแนะกลุ่มผู้ส่งออกศึกษาส่งออกไปแอลจีเรีย หลังแอลจีเรียจะใช้ระบบดิจิทัลในการค้าและบริการทุกภาคส่วน และจะเริ่มบังคับใช้กฎระเบียบการติดบาร์โค้ดแสดงหมายเลขสินค้าสากล(Global Trade Item Number: GTIN) บนสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ สินค้านำเข้า และสินค้าส่งออก ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.66 กรณีสินค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวอาจถูกปฏิเสธไม่ให้วางจำหน่ายในท้องตลาด


นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงไคโร กรณีกระทรวงการค้าและส่งเสริมการส่งออกของแอลจีเรียได้ออกกฎระเบียบกำหนดให้สินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ สินค้านำเข้า และสินค้าส่งออก ต้องติดบาร์โค้ด GTIN เพื่อให้การซื้อขายเป็นไปอย่างสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ผู้จำหน่ายสามารถระบุรายละเอียดและข้อมูลที่จำเป็นของสินค้าได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในกระบวนการส่งออก หลีกเลี่ยงการถูกปลอมแปลง และผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ผลิตได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัท จำนวน 11,410 แห่ง ในแอลจีเรียได้ดำเนินการติดบาร์โค้ด GTIN บนสินค้าแล้วกว่า 500,000 รายการ ทั้งที่เป็นสินค้าอาหาร (Food products) และที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food products) 

ทั้งนี้ ภายใต้บาร์โค้ด GTIN ที่ปรากฏบนสินค้าที่วางจำหน่ายในแอลจีเรีย จะต้องประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้


สินค้าอาหาร

– ฉลากสินค้า

– ชื่อหรือที่อยู่บริษัท เครื่องหมายการค้า และที่อยู่ของสินค้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้นำเข้า


– ประเทศถิ่นกำเนิด/แหล่งนำเข้าสินค้า

– ปริมาณสุทธิ

– รูปภาพสินค้า

– ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น

– การติดฉลากอาหาร และเครื่องหมายฮาลาล

– รายการส่วนผสม ส่วนประกอบ และวัสดุ

– ร้อยละของปริมาณแอลกอฮอล์ในสินค้าเครื่องดื่ม

– วิธีการเก็บรักษา

สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร

– ฉลากสินค้า

– ชื่อหรือที่อยู่บริษัท เครื่องหมายการค้า และที่อยู่ของสินค้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้นำเข้า

– ประเทศถิ่นกำเนิด/แหล่งนำเข้าสินค้า

– ปริมาณสุทธิ

– รูปภาพสินค้า

– ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น

– เครื่องหมายความปลอดภัย

– ใบรับรองสินค้า

– ข้อควรระวังด้านความปลอดภัย

– ส่วนประกอบของสินค้าและวิธีการเก็บรักษา

ส่วนหมายเลข GTIN คือ หมายเลขประจำตัวสินค้า หรือบาร์โค้ด (Barcode) ที่เป็นสัญลักษณ์ใช้บ่งชี้ชนิดของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ประกอบด้วย รหัสประเทศ รหัสสมาชิกหรือรหัสประจำตัวบริษัท รหัสประจำตัวสินค้า ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานแพร่หลายกว่า 150 ประเทศ บาร์โค้ด GTIN ที่นิยมใช้กันทั่วโลกรวมถึงไทย คือ GTIN-13 (เลขประจำตัวสินค้าแบบค้าปลีก 13 หลัก) มีการแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 คือ 3 หลักแรก เป็นรหัสประเทศ  

ส่วนที่ 2 คือ รหัสบริษัท

ส่วนที่ 3 คือ รหัสสินค้า

ส่วนที่ 4 คือ ตัวเลขตรวจสอบข้อมูลบาร์โค้ด

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการไทยมีการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ของแอลจีเรียจะช่วยให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและผู้นำเข้าของแอลจีเรีย และสามารถส่งออกไปตลาดแอลจีเรียได้อย่างสะดวกนอกจากนี้ บาร์โค้ด GTIN ยังมีประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ เช่น สามารถใช้เป็นเลขหมายในการค้าขายที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สามารถบริหารจัดการด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสอบข้อมูลของสินค้าการตรวจสอบปริมาณสินค้าและการตัดสินค้าคงคลัง ตลอดจนการรับชำระเงินและการออกใบเสร็จได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ผลิตสินค้า 

ทั้งนี้ แอลจีเรียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 56 ของไทย และมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเฉลี่ยปีละ 15,998.86 ล้านบาท (ปี 2562 – 2564) ทั้งนี้ ในปี 2565 (ม.ค. – พ.ย.) ไทยมีการนำเข้าจากแอลจีเรียมูลค่า 21,721.25 ล้านบาท สินค้านำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และมีมูลค่าการส่งออก 2,128.30 ล้านบาท สินค้าส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีการส่งออกไปแอลจีเรีย ควรเร่งดำเนินการติดต่อขอใช้ บาร์โค้ด GTIN บนสินค้าได้ที่สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยเบื้องต้นควรตรวจสอบกับคู่ค้าว่าต้องการใช้บาร์โค้ดประเภทใด เพื่อที่จะขอรับบาร์โค้ดบนผลิตภัณฑ์ได้ถูกประเภท โดยผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถศึกษากฎระเบียบดังกล่าวเพิ่มเติมได้ตาม QR code ที่ปรากฏ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่ สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงไคโร.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร