จ.ประจวบคีรีขันธ์ 25 ม.ค.-กรมชลประทาน เดินหน้าสร้างอ่างเก็บน้ำ โป่งสามสิบตอนบน หวังบรรเทาปัญหาอุทกภัยคลองบางสะพานใหญ่ จัดส่งน้ำให้ชุมชนด้วยระบบท่อ
นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจสถานที่ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำคตลองบางสะพาน หวังให้เป็นแหล่งต้นทุนน้ำ เพื่อใช้อุปโภค บริโภค รองรับความต้องการของภาคเกษตรในช่วงฤดูแล้ง สำหรับพื้นที่ภาคเกษตร เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต้องการใช้น้ำ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว สัปรด มีความต้องการใช้น้ำเฉลี่ย 12.98 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี
เมื่อพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ราคาสูงขึ้น รูปแบบการเพาะปลูกอาจเปลี่ยนแปลง ตามความต้องการของตลาดโลก จึงมีความต้องการใช้ปริมาณน้ำจากระบบชลประทานสูงขึ้นตามไปด้วยในอนาคต สำหรับความต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคของประชาชนในพื้นที่ปัจจุบัน 0.28 ล้าน ลบ.ม./ปี คาดการ์ในอีก 5 เท่ากับ 0.29 ล้าน ลบ.ม./ปีช่วง10 ปี ประมาณ 0.30 ล้าน ลบ.ม./ปี และ ช่วง 20 ปี ประมาณ 0.33 ล้าน ลบ.ม./ปี สำหรับความต้องการใช้น้ำเพื่ออุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมค่อนข้างน้อย และเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรแปรรูป จึงมีผลต่อแผนศึกษาดังกล่าวน้อยมาก
ที่ตั้งหัวงาน อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน หมู่ 7 บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน เป็นอ่างเก็บน้ำความจุ 10 ล้าน ลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 592 ไร่ ความยามเขื่อนสันดิน 1,005 เมตร ความสูงเขื่อน 30 เมตร จัดส่งน้ำให้ชุมชนด้วยระบบท่อ พื้นที่รับประโยชน์ของเกษตรกร 9,000 ไร่ จัดส่งน้ำให้ชุมชนด้วยระบบท่อ เพื่อส่งน้ำไปยังชุมชนพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งน้ำชลประทานไปยังพื้นที่ต้องการอ่างมีประสิทธิภาพ การใช้เงินลงทุนเบื้องต้น 870 ล้านบาท
“เมื่อทำการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน ต้องจัดทำการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) มีข้อเสนอ มีข้อเสนอในด้านการเตือนภัยน้ำท่วม การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก การฟื้นฟู และบำรุงรักษาลำน้ำ และแผนบรรเทาอุทกภัยให้กับชุมชน อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลองบางสะพานใหญ่ และมีความสำคัญ เป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับการเกษตร การอุปโภค-บริโภคในช่วงฤดูแล้ง” นายสุรชาติ กล่าว
.-สำนักข่าวไทย