กรุงเทพฯ 23 ม.ค.-กระทรวงคมนาคม เป็นเจ้าภาพบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลั่นกรองงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาระบบขนส่งและการเดินทางด้านคมนาคมของประเทศ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คณะที่ 3.2 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ 7 กระทรวง 26 หน่วยงาน จำนวน 108 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 244,505.6705 ล้านบาท
เป้าหมายที่ 1 จำนวน 11 หน่วยงาน (สปค./ทล./ทช./จท./ทย./ขบ./ขร./สนข./รฟท./รฟม./กทพ.) 88 โครงการ วงเงิน243,660.1700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.65 โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M6 บางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา/ M81 บางใหญ่ -กาญจนบุรี/ โครงการทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1065 สาย อ.พรานกระต่าย – พิษณุโลก/ โครงการพัฒนาทาง และสะพานโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์/โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย/ โครงการศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม/ โครงการปรับปรุง
ท่าอากาศยาน 16 แห่ง/ โครงการทางพิเศษสายกระทู้ – ป่าตอง จ.ภูเก็ต /โครงการทางหลวงพิเศษฉลองรัช
ส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ – ลำลูกกา/ โครงการออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค/ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม และสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ เป็นต้น
เป้าหมายที่ 2 จำนวน 15 หน่วยงาน (จท./สศช./สวทช./วว./มว./กรมวิชาการเกษตร/กรมปศุสัตว์/กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ/กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน/สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง(องค์การมหาชน)/สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)/ม.พะเยา/ม.เชียงใหม่/ม.บูรพา/ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 20 โครงการ วงเงิน 845.5005 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 0.35 โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนเพื่อรองรับงาน NSW/ โครงการพัฒนาระบบการทำเครื่องหมายและขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ (NID) และเครื่องหมายประจำตัวสำหรับซากสัตว์ โครงการออกแบบและพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) ผ่านระบบ NSW/ โครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
โครงการส่งเสริมการพัฒนาบริการและขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของประเทศไทย โครงการพัฒนามาตรฐานวิธีการทดสอบรองรับการผลิตชิ้นส่วนและระบบขนส่งทางรางร่วมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI)/ โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โครงการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติ เพื่อการสอบกลับได้ในการวัดสำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย/ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ทางทะเล (LSPs) ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้มีข้อสั่งการและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. การพิจารณาโครงการของทุกหน่วยงาน จะต้องมีความพร้อมในทุกมิติ เมื่อได้รับการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ต้องพร้อมดำเนินการทันที
2. ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นตัวชี้วัด
การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานผู้ปฏิบัติ
3. การจัดทำงบประมาณขอให้หน่วยงานพิจารณาความคุ้มค่านอกเหนือจากการคุ้มทุนของการลงทุน โดยให้คำนึงถึงความคุ้มทุนของผู้ประกอบการในการขนส่ง และต้นทุนของการดำรงชีวิตของประชาชน การเดินทางขนส่งมวลชนตลอดจนการสร้างรายได้กลับคืนมาสู่ประเทศในรูปแบบของ ภาษีของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
การสร้างแรงงาน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้สนับสนุนโครงการ อย่างเช่นโครงการ Landbridge ที่สามารถทำให้เกิดความขยายตัวของการขนส่งสินค้าเชื่อมต่อ ASEAN โดยใช้เงินลงทุนของรัฐลดลง สามารถใช้วิธีการร่วมมือร่วมทุนกับภาคเอกชนได้ เพราะนอกจากเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นการสร้างอุตสาหกรรมหลังท่าเพิ่มเติมภายในประเทศ
นายศักดิ์สยามฯ กล่าวตอนท้ายว่าเพิ่มเติมการพิจารณาควรมีการพิจารณาเกี่ยวกับ Climate change และความปลอดภัย.-สำนักข่าวไทย