กรุงเทพฯ 15 ธ.ค.- OECD หนุนสมาชิกหารายได้ฟื้นเศรษฐกิจ รัฐมนตรีคลัง คาดจัดทำงบสมดุล 10 ปีข้างหน้า
![](https://tna.mcot.net/wp-content/uploads/2022/12/15/1076416/1671092964_151436-tnamcot-1024x683.jpeg)
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการด้านการงบประมาณ : OECD Asian Senior Budget Officials Meeting ครั้งที่ 16 ว่า นับเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากปัญหาโควิด-19 นับว่า 21 ประเทศสมาชิกในเอเชีย ต้องกู้เงินมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 เป็นจำนวนมากรวมถึงประเทศไทย ต้องออก พ.ร.ก. กู้เงินถึง 2 ล้านล้านบาท นับว่าต้องใช้นโบายการคลังดูแลเศรษฐกิจเป็นหลักโดยหลายฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจปี 66 ขยายตัวร้อยละ 3-4
เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปีหน้า รัฐบาลของประเทศสมาชิก OECD คงต้องกลับมาเน้นหารายได้ เพื่อชำระหนี้คืน การกู้เงินแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของไทยเมื่อกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ต้องจัดหารายได้มาชดเชย ผ่านแนวทางการขยายฐานภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษี การหารายได้จากรัฐวิสาหกิจ และการกู้เงินจากแหล่งต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพยายามหารายได้เพิ่มจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลทฟอร์มออนไลน์ (E-commerce) การจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้น การจัดเก็บภาษีจากคริบโตเคอเรนซี่ ขณะนี้จึงเน้นการรเชื่อมโยงข้อมูลหลายหน่วยงานรัฐ เพื่อใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกกับประชาชน ทั้งการยื่นภาษีออนไลน์ และบริการด้านต่างๆ
![](https://tna.mcot.net/wp-content/uploads/2022/12/15/1076416/1671092983_152351-tnamcot-1024x683.jpeg)
รัฐบาลต้องทยอยดูอันดับความสำคัญในการหารายได้เพิ่ม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการจัดทำงบประมาณไปสู่สมดุลในช่วง 10 ปีข้างหน้า ขณะนี้ได้เร่ิมจัดทำงบแบบขาดดุลลดงต่อเนื่อง จากงบประมาณปี 65 ขาดดุล 7 แสนล้านบาท หลังจากนั้นในปี 66 ขาดดุลลดลง 5,000 ล้านบาท หรือขาดดุล 695,000 ล้านบาท เพื่อให้ฐานนะทางคลังมั่นคง โดยจัดทำงบประมาณในปีถัดไป คงเน้นงนประมาณให้หน่วยงานรองรับ เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วย BCG จัดสรรงบรองรับพัฒนาเทคโนโลยีของหน่วยงานรัฐ และเอกชน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ลงทุนด้วยการดูแลสิ่งแวดล้อม การดูแลความปลอดภัยจากโควิด-19 การรองรับสังคมผู้สูงอายุ.- สำนักข่าวไทย