กรุงเทพฯ 25 ต.ค.- บ่านปูคาดราคาถ่านหิน 2 ปีหน้า ยังไม่ต่ำกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลั่นไม่ลงทุนถ่านหินเพิ่ม แต่รักษาระดับผลิต 40 ล้านตัน/ปี พร้อมเดินหน้าขยายกิจการไฟฟ้า-ก๊าซฯ และเทคโนโลยีใหม่
นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า คาดราคาเฉลี่ยถ่านหินในปี 2566-2567 จะอยู่ที่ 200-250 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จากปีนี้ ราคาได้กระโดสูงไปถึง 300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เป็นผลจากสงครามรัสเซียและยูเครน ที่ทำให้พลังงานขาดแคลนทั้งในส่วนของก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ผู้ประกอบการที่เคยนำเข้าถ่านหินจากรัสเซีย ต้องหันไปพึ่งพาการนำเข้าถ่านหินจากประเทศในแถบเอเชียแทน ส่งผลออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งทางบ้านปูฯ เข้าไปลงทุน ยังเป็นผู้ส่งออกถ่านหินอันดับต้นๆของโลกประกอบการกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง ก็ทำให้เกิดความต้องใช้ถ่านฟินเพื่อผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น
“ดีมานด์ถ่านหินเพิ่มขึ้น แต่ บ้านปู ไม่มีแผนที่จะลงทุนผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้น แม้ราคาถ่านหินจะสูง โดยยังคงระดับการผลิตใน 2 ปีข้างหน้าเท่ากับปีนี้ที่ ราว 40 ล้านตัน/ปี และจะหาทางโตในธุรกิจอื่นๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจไฟฟ้าในสหรัฐ ซึ่งในขณะนี้เจรจาซื้อกิจการ แม้ว่าราคาก๊าซฯจะสูงแต่ก็มีโอกาสเพราะรายใหญ่หลายรายก็จะ ขายแหล่งที่มีปริมาณลดลง เช่น การเข้าไปซื้อแหล่งบาร์เนตต์จาก Exxon Mobilเมื่อต้นปีนี้ เพราะบริษัทขนาดใหญ่ะต้องการไปโฟกัส แหล่งใหญ่”นางสมฤดี กล่าว
นางสมฤดี กล่าวว่า จากราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี)ที่ราคาสูงในปีนี้ ทำให้กระทบค่าไฟฟ้าของไทย ซึ่งรัฐบาลไทยได้บริหารจัดการใช้เชื้อเพลิงอื่นทดแทน เช่น ใช้ดีเซลผลิตไฟฟ้า รวมถึงสั่งการเดินเครื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของ โรงไฟฟ้าหงสา (HPC) สปป.ลาว ก็ถือป็นพระเอกที่ส่งไฟฟ้ามาให้ไทย เพราะมีราคาเพียง 2.30 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้า BLCP ในไทย เพื่อรับมือกับต้นทุนผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ก๊าซฯมีราคาแพง โดย2 โรงไฟฟ้านี้ ยังคงเดินเครื่องการผลิตต่อไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดย หงสา ยังไม่มีแผนซ่อมบำรุงใหญ่ในปีหน้า
ทั้งนี้ กลุ่มบ้านปู อยู่ระหว่างจัดทำแผนลงทุนปี 2566 คาดว่าจะใช้งบลงทุนสูงกว่าปี 2565 ที่ตั้งไว้ประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะขยายการลงทุนภายใต้ 3 เสาหลัก ได้แก่ Energy Resources ที่เป็นการลงทุนในแหล่งถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ , 2Energy Generationลงทุนโรงไฟฟ้าทั้งพลังงานดั้งเดิม(Conventional) -พลังงานหมุนเวียน และ 3. Energy Technology ที่เป็นการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานสมัยใหม่
เช่นที่สหรัฐ มีโอกาสสร้างการเติบโตผ่าน การลงทุนของ บริษัท BKV Corporation (BKV) ขยายการลงทุนในธุรกิจก๊าซฯ ที่ขณะนี้มีกำลังผลิตรวม 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อีกทั้ง BKV ยังร่วมกับ EnLink ของสหรัฐ ร่วมลงทุนสัดส่วน 50: 50 เตรียมจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการพัฒนา เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ภายใต้งบลงทุนประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐคาดว่าเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ภายในปี 2566 นอกจากนี้ บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP เข้าลงทุนในบริษัท Temple Generation Intermediate Holdings II, LLC ผ่านบริษัทย่อย Temple Generation I, LLC หรือ “Temple I” ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 768 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐเทกซัส สหรัฐฯนั้นปัจจุบัน อยู่ระหว่างต่อยอดการลงทุนเพิ่มเติม รวมไปถึง หาโอกาสที่จะขยายการลงทุนพลังงานหมุนเวียน ทั้งโซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์ลอยน้ำ
ส่วนออสเตรเลีย จะมีการลงทุนเพิ่มเติมด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งปัจจุบันได้เข้าไปลงทุนโซลาร์ฟาร์มแล้ว 2 แห่งกำลังผลิตรวม 167 เมกะวัตต์ ส่วนอินโดนีเซีย มองโอกาส ขยายกิจการไฟฟ้าโดยมองหาพันธมิตรท้องถิ่นในการขยายกิจการ ,ในขณะที่การลงทุนในจีนธุรกิจเหมืองถ่านหินยังไปได้ดี และจะเดินหน้าพัฒนาโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง(SLG) ขนาดกำลังการผลิต 1,320 เมกะวัตต์ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งมองหาการลงทุนในส่วนของพลังงานทดแทน ส่วน แผนการลงทุนในไทย บริษัท ยังคงมองหาโอกาสขยายการลงทุนในธุรกิจ Energy Generation และEnergy Technology ที่เป็นลักษณะเอนเนอร์ยี่แพลตฟอร์มเพิ่มเติม ซึ่งก็รอความชัดเจนตามนโยบายภาครัฐ.-สำนักข่าวไทย