“เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์กวาดล้างเนื้อหมูเถื่อน

กรุงเทพฯ 30 ส.ค. – รมว.เกษตรฯ สั่งเข้มให้กรมปศุสัตว์ทลายและกวาดล้างแก๊งนำเข้าเนื้อหมูผิดกฎหมาย ป้องกันโรคระบาดและสารตกค้าง แนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์มาตรฐาน “ปศุสัตว์ OK” พร้อมเดินหน้าโครงการ Pig Sandbox ฟื้นฟูการผลิตสุกรในประเทศ


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เข้มงวดทลายและกวาดล้างขบวนการนำเข้าเนื้อหมูผิดกฎหมาย ไม่ได้มาตรฐาน จากที่ข่าวการลักลอบนำสินค้าเนื้อและชิ้นส่วนสุกรเข้าประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลและความเสี่ยงต่อการนำเชื้อไวรัส หรือพาหะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรง โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF)  ในสุกรเข้าสู่ประเทศ เสี่ยงทั้งโรคระบาดและสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตลอดจนผู้บริโภค

ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ดำเนินงานอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด โดยมีการจัดทีมตรวจค้นห้องเย็นหรือสถานที่พักซากสัตว์ทั่วประเทศ พร้อมกับขอความร่วมมือในการปฏิบัติงานป้องกันการการลักลอบนำเข้าไปยังกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายที่กรมปศุสัตว์รับผิดชอบ กองสารวัตรและกักกันจึงเข้มงวดในการปฏิบัติงานตรวจสอบการนำเข้า ส่งออก และนำผ่านราชอาณาจักร โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนติดต่อกับเมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย มีเจ้าหน้าที่ชุดสุนัขดมกลิ่นปฏิบัติงานในพื้นที่สนามบิน เพื่อตรวจค้นหาซากสัตว์ (ซากสุกร) ซึ่งหากพบผู้กระทำผิด ต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาดและถึงที่สุด ไม่ละเว้นให้กับผู้ใดทั้งสิ้น


นอกจากนี้กำหนดให้มีการเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับซากสัตว์ที่มีการนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ปลอดภัย ขอให้สังเกตตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ซึ่งเชื่อมั่นถึงความสะอาด สุขอนามัย เนื้อสัตว์ปลอดโรคระบาด และไร้สารตกค้างได้คุณภาพมาตรฐานอย่างแน่นอน 

พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF ในสุกร โดยได้วางนโยบายและมาตรการต่างๆ อย่างครอบคลุม เข้มข้น และต่อเนื่อง ทั้งก่อนและหลังประเทศไทยพบการเกิดการระบาดของโรค ASF ในวันที่ 11 มกราคม 2565 ที่มีการยืนยันการตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โดยให้ทุกพื้นที่ รายงานสถานการณ์ทุกวัน (Zero Report) ปัจจุบัน พบรายงานการเกิดโรค ASF เป็นจุดเล็กๆ ใน 31 จังหวัด ปัจจุบันสามารถควบคุมโรคให้สงบ โดยไม่พบการเกิดโรคแล้ว (สีเขียว) ทั้งสิ้น 31 จังหวัด ถือได้ว่าสามารถควบคุมโรคได้อยู่ในวงจำกัดและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี ดังนั้น จึงขอให้มั่นใจได้ว่าประเทศไทยมีมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นประเทศที่ป้องกันควบคุมโรคดีที่สุดในเอเชีย

สำหรับการส่งเสริมและฟื้นฟู ได้ให้กรมปศุสัตว์เร่งขับเคลื่อนโครงการ Sandbox ปศุสัตว์ ตามนโยบายของรัฐบาล นำร่อง “Pig Sandbox” พื้นที่ควบคุมพิเศษ จังหวัดราชบุรี และพื้นที่ปศุสัตว์เขต 5 (ภาคเหนือตอนบน)


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้ปฏิบัติงานตรวจยึดซากสุกรตามพื้นที่แนวตะเข็บชายแดนมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลการตรวจยึดซากสุกร 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562-2565) ตรวจสอบการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ 3,516 ครั้ง แจ้งความดำเนินคดี 20 คดี (ร่วมกับศุลกากร 3 คดี) ยึดและดำเนินการทำลายซากสุกร 339,192 กิโลกรัม มูลค่าของกลางกว่า 79 ล้านบาท 

ในปี 2565 ผลการปฏิบัติงานช่วงเดือนมกราคม-เดือนกรกฎาคม 2565 ดำเนินการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าจำนวน 2,425 ครั้ง แจ้งความดำเนินคดี 13 คดี (ร่วมกับศุลกากร 3 คดี) ยึดและดำเนินการทำลายซากสุกร 325,027 กิโลกรัม มูลค่าของกลางกว่า 65 ล้านบาท

ด้านมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF ในสุกรประกอบด้วย

1) มาตรการเตรียมความพร้อม โดยจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และยกระดับแผนเตรียมความพร้อมโรค ASF ในสุกร เป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดตั้ง War Room ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซ้อมแผนรับมือโรคฯ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัย และร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ OIE FAO จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลการเฝ้าระวังและป้องกันโรคฯ

2) มาตรการการป้องกันโรค มีการประกาศระงับการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรจากประเทศที่มีการระบาดของโรค บูรณาการการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนในป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำสุกร ผลิตภัณฑ์สุกรเข้ามาในประเทศ

3) มาตรการการเฝ้าระวังโรค การจัดทำแผนที่ความเสี่ยง (Risk Map) ในการเฝ้าระวังโรค ASF ในสุกร จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ X-Ray เคาะประตูบ้าน เฝ้าระวังทางอาการ ขึ้นทะเบียนและประเมินความเสี่ยงด้วยแอปพลิเคชัน e-Smart+ พร้อมให้คำแนะนำความรู้เรื่องโรคและการป้องกัน

4) มาตรการลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรค เกษตรกร หรือเครือข่ายเฝ้าระวัง พบสุกรป่วย/ตายผิดปกติ หรือเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด ให้แจ้งกรมปสุสัตว์ได้ตลอด 24 ชม.

5) มาตรการการสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ โดยสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไป ผ่านการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ และ 6) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ร่วมจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Contigency Plan) จัดทำโรงพ่นยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรคที่ด่านชายแดนที่สำคัญ ร่วมสนับสนุนเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค เข้มงวดในการส่งออกสุกร ลดความเสี่ยงจากการส่งออกสุกร โดยรถขนส่งสุกรมีชีวิตที่ใช้ภายในประเทศ ห้ามไม่ให้ข้ามไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีการระบาดของโรค ASF ในสุกร

ส่วนของโครงการ Sandbox ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้กำหนดพื้นที่นำร่อง “Pig Sandbox” จังหวัดราชบุรี เป็นโครงการต้นแบบการเลี้ยงสุกร เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟูการผลิตสุกร การควบคุมป้องกันการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริการในสุกร (ASF) และโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ยกระดับการจัดการฟาร์ม ภายใต้มาตรการ 3S คือ SCAN พื้นที่ SCREEN ความเหมาะสม และ SUPPORT การเลี้ยงดู การตลาด และแหล่งทุน

ทั้งนี้ มาตรการการควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ในประเทศไทยนั้นกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น “ประเทศไทย” ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศติดอันดับโลก ในการป้องกันควบคุมโรคดีที่สุดในเอเชีย หลังล่าสุดตัวเลขติดเชื้อ ASF ในสุกรลดลงเป็นศูนย์ และมีต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน อาทิ ฟิลิปปินส์ ได้ศึกษาถึงนโยบายและแนวทางควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวัง ASF ในประเทศไทย เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรการในประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคของฟิลิปปินส์

หากพบผู้กระทำการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย หรือสงสัย พบเห็นการระบาดของโรคต่างๆ ในสัตว์ ตลอดจนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่หรือ สายด่วนกรมปศุสัตว์ 06 3225 6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งผ่าน www.dld.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร