ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรคที่ต้องหลีกเลี่ยงดื่มน้ำมะพร้าว จริงหรือ ?

3 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ถ้าจะดื่มน้ำมะพร้าว คนที่ป่วย 3 โรคนี้ต้องระมัดระวัง โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไตเสื่อมนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมความรู้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหลีกเลี่ยงน้ำมะพร้าว เนื่องจากในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสในปริมาณสูง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินน้ำมะพร้าวสดหรือเครื่องดื่มจากน้ำมะพร้าวชนิดหวานน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น 2.ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม 3.ผู้ป่วยโรคไตเสื่อม น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ หากร่างกายขาดน้ำผู้ป่วยโรคไตอาจเกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ผักชีลาว ว่านกาบหอยแครง ขมิ้น บรรเทากรดไหลย้อนได้ จริงหรือ ?

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผักชีลาว ว่านกาบหอยแครง ขมิ้น บรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สอบถามกับอาจารย์ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยระบบโรคทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า จากการทดลองเรื่องกรดไหลย้อนในหนูพบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งกรด แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าช่วยคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนได้, การใช้ว่านกาบหอยแครงต้มกับใบเตยก็ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ส่วนขมิ้น เป็นสารลดการระคายเคือง ลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ลดกรดไหลย้อน แต่อาจลดการอักเสบของผิวหลอดอาหารที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้  กรดไหลย้อนมีทั้งที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค หากมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกนาน ๆ ครั้ง ไม่รุนแรง ถือว่าไม่ใช่โรค แต่หากมีอาการแสบร้อนรุนแรงเป็นเวลานานมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ถือเป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนอาการอื่นที่อาจพบได้คือ เสียงแหบเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบ ฟันผุ มีกลิ่นปาก ไอเรื้อรัง การดื่มนมที่นำไปแช่เย็นสามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ เพราะนมจะไปจับกับกรดช่วยลดอาการแสบร้อน แต่หากอาการรุนแรงควรพบแพทย์ แพทย์แนะนำเพิ่มเติมว่า คนไข้กรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ย่อยยาก ควบคุมน้ำหนัก ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดหรือคับเกินไป อย่านอนหลังอาหารภายใน 3 ชั่วโมง และนอนหนุนศีรษะสูงอย่างน้อย 6 นิ้วโดยเป็นการหนุนเตียง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PATHOLOGICAL GAMBLING ? — ภัยร้ายทำลายชีวิต

4 พ.ย. 66 – สิ่งนี้…เป็นกิจกรรมที่ฉาบไว้ด้วยความสนุก แต่กลับเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย และ สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมการเสพติดที่พบในกลุ่มคนรุ่นใหม่กว่า 3 ล้านคน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตัดแว่นไม่ตรงค่าสายตา เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

5 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า การตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตา ทำให้ตาบอดได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ – มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำเป็นต้องเข้าพบและได้รับคำปรึกษากับจักษุแพทย์ก่อนทำการวัดสายตาเพื่อตัดแว่นให้ตรงกับค่าสายตา การที่เด็กไม่ได้รับภาพที่ชัดเจน จะทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่สายตา 2 ข้างไม่เท่ากัน เมื่อไม่ได้ตัดแว่นที่ถูกต้องกับค่าสายตา ก็อาจทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจและอาจทำให้ตาบอดได้ สำหรับการวัดความผิดปกติของสายตาเด็กเนื่องจากเด็กมีจุดโฟกัสดีกว่าสายตาผู้ใหญ่ ต้องหยอดยาลดการเพ่งก่อน โดยหยอดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กเพ่งน้อยลง แล้วค่อยวัดความสั้น ความเอียง ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าผิดปกติหรือไม่ต้องนัดตรวจซ้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง กรณีผู้ใหญ่หากตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาก็จะทำให้การมองเห็นไม่ดี ภาพไม่ชัดเจน แต่จะไม่มีผลทำให้เกิดภาวะตาบอดถาวรแบบในเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญ หมั่นสังเกตจะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยแก้ไขก่อนจะสายเกินไป สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

2 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความว่ามีอาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Q : นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?A : จริง เพราะนมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับหรือนอนหลับยากได้ จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน หากใครแพ้นมวัว สามารถกินนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แทนได้เช่นกัน *คำแนะนำจากแพทย์ >> กินนม 1 แก้วก่อนนอน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ปวดเข่า เกาต์ ข้อเข่าเสื่อม จริงหรือ ?

1 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีแก้ปวดเข่าเอาไว้มากมาย ทั้งการหยอดน้ำเย็นแก้ปวดเข่าโดยไม่ต้องผ่าตัด และน้ำใบย่านางปั่นแก้เข่าเสื่อมได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : บอระเพ็ดดองน้ำอัดลมแก้ปวดเข่า เกาต์ ข้ออักเสบ จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรบอระเพ็ดดองน้ำอัดลมช่วยแก้อาการปวดเข่า เกาต์ ข้ออักเสบได้  บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร “บอระเพ็ดและน้ำอัดลมไม่ได้มีสรรพคุณด้านนั้น กินมากเสี่ยงอันอันตราย บอระเพ็ด ปกติแล้ว มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรในการเป็นยาแก้ไข้ เจริญอาหาร อายุวัฒนะ ช่วยย่อย บำรุงน้ำดี บำรุงไฟธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ ดับกระหาย แก้ร้อนใน ส่วนการใช้บอระเพ็ดรักษาโรคเกาต์หรือปวดตามที่กล่าวมาข้างต้ ยังไม่มีงานวิจัยระบุว่าทำได้ จะทำได้เพียงแค่แก้ปวดและต้านการอักเสบ โดยสารสกัดเอทานอลจากเถาบอระเพ็ด สามารถลดอาการปวดและอักเสบบวมในหนูทดลองได้” อันดับที่ 2 : กินคอลลาเจนแล้วเข่าจะดี จริงหรือ ? มีการแชร์ว่ากินคอลลาเจนเสริม จะช่วยรักษาข้อเข่าให้ดีขึ้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นพ.ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดึงหางแมว เสี่ยงอัมพาต จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่าคนที่เลี้ยงแมว ห้ามไปดึงหางแมวเพราะอาจทำให้แมวเป็นอัมพาตได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การดึงหางแมวแค่ทำให้แมวรำคาญไม่ได้ส่งความรู้สึกถึงสมอง ยกเว้นจับหางแมวแล้วฟาดตัวกับพื้น ทำให้หัวบาดเจ็บหรือเชิงกรานหัก จึงจะทำให้เป็นอัมพาต เพราะเส้นประสาทขาหลังของแมวจะอยู่บริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ ภาพที่แชร์โดยลากเส้นจากหางแมวถึงสมองก็ไม่ตรงกับหลักกายวิภาคสรีระภายในของแมว ซึ่งจริงๆ แล้วกายวิภาคของแมว “หาง” คือส่วนต่อจากกระดูกสันหลังเท่านั้น ไม่ใช่เส้นประสาทถึงสมอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดึงหางแมวแรง ๆ เพราะแมวก็มีความรู้สึกเจ็บเช่นกัน

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ผ้าคลุมรถ ทำให้สีของรถยนต์เสียหายได้ จริงหรือ ?

31 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนผู้ใช้รถยนต์ว่า ผ้าคลุมรถจอดตากแดดตากฝนนาน ๆ สามารถทำให้สีของรถยนต์เสียหายได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อ.จักรวาล บุญหวาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผ้าคลุมรถ เมื่อต้องจอดตากฝน น้ำฝนจะทำปฏิกิริยากับสีของผ้าคลุมรถ น้ำฝนจะยังขังอยู่ในผ้าคลุมรถกัดกร่อนชั้นเคลือบสีรถเมื่อปล่อยไว้นานก็ยิ่งกัดกร่อนคราบฝังลึก กรณีที่แชร์กันมีการจอดรถคลุมผ้าตากแดดตากฝนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จึงส่งผลให้ชั้นเคลือบผิวสีรถเกิดความเสียหายเป็นรอย ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ผ้าคลุมรถ เมื่อต้องจอดรถกลางเเจ้งควรหลีกเลี่ยงการใช้ ผ้าคลุมรถ ที่มีขายตามท้องตลาด แต่คงเปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมรถยนต์กันแดด กันฝนที่มีคุณภาพ สัมภาษณ์เมื่อ : 26 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : DIGITAL DUST ? — ร่องรอยแห่งโลกออนไลน์

28 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้… เป็นร่องรอยจากพฤติกรรมการแบ่งปันความชอบบนโลกออนไลน์ และสิ่งนี้…อาจกลายเป็นประวัติที่ถูกบันทึก และขุดคุ้ยจากบุคคลอื่นได้ทุกเมื่อ โดยไม่รู้ตัว คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : THE ANAGRAM

❓ GAITSFINCH❓ ตัวอักษรที่สลับกันอยู่ …คือคำว่าอะไร ? มาทายดูกัน ? คำใบ้“การหลอกลวงผู้อื่นทางโลกออนไลน์ด้วยบัญชีปลอมที่เคยเป็นเทรนด์ในการหาคู่อย่างแพร่หลายและเป็นคดีออนไลน์ที่สร้างความเสียหายมาแล้วกว่า 861 ล้านบาท” ร่วมสนุก ลองทายคำตอบกันได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ ✨

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพร-อาหารเสริม รักษาโรคซึมเศร้า จริงหรือ ?

30 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำว่ามีสมุนไพรสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ เช่น ขมิ้นชัน ใบบัวบก คาโมมาย กระท่อม กัญชา เห็ดหลินจือ กินต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ข้อมูลที่แชร์ว่ามีสมุนไพร หรืออาหารเสริมรักษาโรคซึมเศร้าได้นั้น ไม่เป็นความจริง ส่วนใหญ่เป็นเพียงบรรเทาอาการเท่านั้น ขมิ้นชัน อาจจะมีส่วนช่วยปรับลดอาการซึมเศร้า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ใช่การรักษาหลักอย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยรองรับว่าการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า ใบบัวบก ยังไม่มีการศึกษาว่าใบบัวบกสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ คาโมมาย ช่วยคลายความวิตกกังวลได้ แต่รักษาโรคซึมเศร้าไม่ได้ กระท่อม มีฤทธิ์กระตุ้นให้มีความตื่นตัว แต่จิตใจก็ยังเศร้าอยู่ เมื่อหยุดกระท่อมก็จะทำให้เกิดอาการเพลีย แพทย์ไม่แนะนำ กัญชา สารสกัด CBD ในน้ำมันกัญชา สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ แต่ก็มีการศึกษาพบว่ากัญชาเพิ่มอัตราความเสี่ยงการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น เห็ดหลินจือ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยทำให้ความรู้สึกอ่อนล้าดีขึ้น แต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคซึมเศร้า ส่วนอาหารเสริมที่มีสารไทโรซีน ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ให้ ช่วยลดภาวะความเครียด แพทย์ไม่แนะนำให้นำมารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีสมุนไพรใดสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ การรักษาด้วยยาในปัจจุบัน คนไข้กลัวว่ายาจะเป็นอันตรายนั้นไม่เป็นความจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

27 ตุลาคม 2566 – ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 20 21 22 23 24 46