ด้านมืด ของ Generative AI ตอนที่ 1| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

25 ธันวาคม 2566 Generative Ai ที่ดูดีมีประโยชน์ ช่วนสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตเรา แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งนี้ ก็อาจมีภัยที่แอบแฝงมาโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ มาร่วมเรียนรู้ภัยจากด้านมืดของ Generative Ai ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

21 ธันวาคม 2566 – ตาโหล เบ้าตาลึกเป็นยังไง และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 9 สาเหตุ ทำน้ำยาหล่อเย็นหาย จริงหรือ ?

19 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 9 สาเหตุที่ทำให้น้ำยาหล่อเย็นหายจากระบบระบายความร้อนของรถยนต์ เช่น ฝาสูบโก่ง และ ประเก็นฝาสูบแตกนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ห้ามให้แมวกินนมวัว จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือน ห้ามให้น้องแมวกินนมวัว เพราะย่อยไม่ได้หากกินจะทำให้ท้องเสียนั้น  สรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า “เป็นความจริงที่ทั้งสุนัขและแมวกินนมวัวไม่ได้ เพราะไม่มีแลคเตสสำหรับใช้ย่อยแลคโตสที่ค่อนข้างสูงในนมวัว จึงมักจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ้าให้กินติดต่อกันอาจจะเป็นท้องเสียเรื้อรังได้ แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องให้กินนมวัวให้ผสมไข่แดงเพื่อเจือจางแลคโตสและให้ในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคซึมเศร้า – การพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

18 ธันวาคม 2566 – คำพูดใดบ้าง ที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเราควรจะปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างไร เพื่อช่วยเหลือและดูแลจิตใจให้เขาหายป่วยได้โดยเร็ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 5 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจโรคงูสวัด

14 ธันวาคม 2566 – โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้า สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม

15 ธันวาคม 2566 – น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร และมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PRETEXTING ? — ภัยคุกคามยุคใหม่ในการล้วงข้อมูล

16 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้… คือภัยคุกคามยุคใหม่ทางวิศวกรรมสังคม ที่ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ และสิ่งนี้… เป็นเทคนิคสำคัญที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขโมยเงิน หรือข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งกว่า 88% ดำเนินการผ่านอีเมล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนไวรัส HMPV โรคใหม่หนักกว่าโควิด จริงหรือ ?

17 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เตือนให้ระวังโรคใหม่ ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษานั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยหนักและผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 พล.อ.สิทธิศักดิ์ เทภาสิต อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 75 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 คุณกัลยกร ชีวะกานนท์ อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 63 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กล้วยสุกมีจุดดำ ต้องระวังเจอหนอนตัวยาว จริงหรือ? 

ตามที่มีการแชร์ข้อความว่า กินกล้วยสุกมีจุดดำ ต้องระวังทุกครั้ง เพราะแหวกผลกล้วย เจอหนอนสีขาว ตัวยาวมากนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับ ศ.กิตติคุณ เบญจมาศ ศิลาย้อย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล้วยที่มีจุดคือเป็นตามธรรมชาติ ไม่ใช่โรคหรือตัวบอกว่ามีแมลงอยู่ ถ้ามีแมลงอยู่ ผิวกล้วยจะนูนขึ้นและอย่ากังวลเกินไปว่าการรับประทานกล้วยที่สุกที่มีแมลงหรือมีหนอน เข้าไปสักตัวสองตัว จะเกิดปัญหาทางสุขภาพ

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ใช้น้ำล้างห้องเครื่อง ทำให้ระบบไฟเสียหาย จริงหรือ ?

12 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ ว่า การใช้น้ำล้างห้องเครื่อง จะทำให้ระบบไฟของรถยนต์เกิดความเสียหายได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รถยนต์ในปัจจุบันเป็นระบบไฟฟ้าเสียส่วนใหญ่ การใช้เครื่องอัดฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดเข้าไปที่ห้องเครื่อง จะทำให้ระบบไฟฟ้าภายในเกิดความเสียหายได้อย่างง่ายดาย ทำให้ระบบไฟฟ้าภายในรถทั้งหมดเกิดรวน ดังนั้นใช้เพียงผ้าเช็ดฝุ่นออกจากห้องเครื่องก็น่าจะเพียงพอแล้ว สัมภาษณ์เมื่อ : 30 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG รู้จัก “ตัวเรือด”

10 ธันวาคม 2566 – Bed Bug แมลงดูดเลือดที่กำลังแพร่ระบาด แมลงชนิดนี้อันตรายแค่ไหน และเราควรจัดการอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BED BUG หรือตัวเรือด คืออะไร ? คือ แมลงดูดเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กสีดำหรือสีน้ำตาล ลำตัวจะออกแบน รี มีขาแต่ไม่มีปีก มีปากที่แหลม ทั้งตัวผู้และตัวเมียดูดเลือดมนุษย์ ตัวเรือดนั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ไข่จะมีสีขาวแต่พอใกล้ฟักตัวจะเป็นสีเข้มข้น ตัวเรือดมักชอบมาอยู่บนที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม หรือรอยแตกตามผนัง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าตัวอะไรกัดบนที่นอน ให้สันนิษฐานว่าเป็นตัวเรือดไว้ก่อน จะได้เตรียมหาวิธีกำจัดทัน สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 19 20 21 22 23 49