ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคซึมเศร้า – การพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

18 ธันวาคม 2566 – คำพูดใดบ้าง ที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเราควรจะปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างไร เพื่อช่วยเหลือและดูแลจิตใจให้เขาหายป่วยได้โดยเร็ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 5 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจโรคงูสวัด

14 ธันวาคม 2566 – โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้า สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม

15 ธันวาคม 2566 – น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร และมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PRETEXTING ? — ภัยคุกคามยุคใหม่ในการล้วงข้อมูล

16 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้… คือภัยคุกคามยุคใหม่ทางวิศวกรรมสังคม ที่ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ และสิ่งนี้… เป็นเทคนิคสำคัญที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขโมยเงิน หรือข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งกว่า 88% ดำเนินการผ่านอีเมล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนไวรัส HMPV โรคใหม่หนักกว่าโควิด จริงหรือ ?

17 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เตือนให้ระวังโรคใหม่ ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษานั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยหนักและผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 พล.อ.สิทธิศักดิ์ เทภาสิต อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 75 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 คุณกัลยกร ชีวะกานนท์ อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 63 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กล้วยสุกมีจุดดำ ต้องระวังเจอหนอนตัวยาว จริงหรือ? 

ตามที่มีการแชร์ข้อความว่า กินกล้วยสุกมีจุดดำ ต้องระวังทุกครั้ง เพราะแหวกผลกล้วย เจอหนอนสีขาว ตัวยาวมากนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับ ศ.กิตติคุณ เบญจมาศ ศิลาย้อย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล้วยที่มีจุดคือเป็นตามธรรมชาติ ไม่ใช่โรคหรือตัวบอกว่ามีแมลงอยู่ ถ้ามีแมลงอยู่ ผิวกล้วยจะนูนขึ้นและอย่ากังวลเกินไปว่าการรับประทานกล้วยที่สุกที่มีแมลงหรือมีหนอน เข้าไปสักตัวสองตัว จะเกิดปัญหาทางสุขภาพ

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ใช้น้ำล้างห้องเครื่อง ทำให้ระบบไฟเสียหาย จริงหรือ ?

12 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ ว่า การใช้น้ำล้างห้องเครื่อง จะทำให้ระบบไฟของรถยนต์เกิดความเสียหายได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รถยนต์ในปัจจุบันเป็นระบบไฟฟ้าเสียส่วนใหญ่ การใช้เครื่องอัดฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดเข้าไปที่ห้องเครื่อง จะทำให้ระบบไฟฟ้าภายในเกิดความเสียหายได้อย่างง่ายดาย ทำให้ระบบไฟฟ้าภายในรถทั้งหมดเกิดรวน ดังนั้นใช้เพียงผ้าเช็ดฝุ่นออกจากห้องเครื่องก็น่าจะเพียงพอแล้ว สัมภาษณ์เมื่อ : 30 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG รู้จัก “ตัวเรือด”

10 ธันวาคม 2566 – Bed Bug แมลงดูดเลือดที่กำลังแพร่ระบาด แมลงชนิดนี้อันตรายแค่ไหน และเราควรจัดการอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BED BUG หรือตัวเรือด คืออะไร ? คือ แมลงดูดเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กสีดำหรือสีน้ำตาล ลำตัวจะออกแบน รี มีขาแต่ไม่มีปีก มีปากที่แหลม ทั้งตัวผู้และตัวเมียดูดเลือดมนุษย์ ตัวเรือดนั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ไข่จะมีสีขาวแต่พอใกล้ฟักตัวจะเป็นสีเข้มข้น ตัวเรือดมักชอบมาอยู่บนที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม หรือรอยแตกตามผนัง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าตัวอะไรกัดบนที่นอน ให้สันนิษฐานว่าเป็นตัวเรือดไว้ก่อน จะได้เตรียมหาวิธีกำจัดทัน สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG ป้องกันและกำจัด “ตัวเรือด”

11 ธันวาคม 2566 – ใครที่วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ แต่ได้ยินข่าว Bed Bug แมลงดูดเลือดกำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร และหากพบตัวเรือดที่บ้าน ต้องกำจัดอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำแนะนำวิธีกำจัดตัวเรือดเบื้องต้น 1. สำรวจแหล่งกบดานของตัวเรือดอยู่ตรงไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตามโครงเตียง ที่นอน โซฟา ตามซอกหลืบของผนัง ฯลฯ ถ้าพบว่ามีมูลจุดดำเล็ก ๆ เดาไว้ก่อนว่าตรงนั้นต้องมีตัวเรือดอยู่ 2. ใช้ความร้อนกำจัดตัวเรือด การซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมินี้จะทำให้ตัวเรือดถูกฆ่าอย่างรวดเร็วส่วนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต้องค้น รื้อ ออกมา และใช้สเปรย์กำจัดตัวเรือด ต้องฉีดพ่นให้โดนตัวเรือดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากใช้สเปรย์ฉีดจนทั่วแล้วหรืออาจจะทิ้งของใช้ที่มีตัวเรือด ฟูกที่นอนก็ควรเปลี่ยนใหม่ 3. การใช้สารสกัดสมุนไพร หรือน้ำมันหอมระเหยถือเป็นการไล่ตัวเรือดให้อพยพหนีไปเองได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าตัวเรือดเป็นแมลงสายพันธุ์อึด ถึก พวกมันสามารถแอบซ่อนโดยไม่ต้องออกมากินเลือดได้นานถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใส่แว่นดำขับรถตอนฝนตก ช่วยให้มองเห็นได้ดีขึ้น จริงหรือ ?

7 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำทริกให้ใส่แว่นดำขับรถตอนฝนตก จะช่วยให้มองเห็นได้ชัด และขับรถได้ดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ การมองเห็นที่ชัดขึ้นไม่ได้เกิดจากการมองผ่านแว่นสีดำ แต่แว่นนั้นต้องมีคุณสมบัติลดการกระเจิงของแสง จึงทำให้มองเห็นชัดขึ้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การขับรถตากฝน แล้วใส่แว่นกันแดด ทำไมถึงมองเห็นชัดขึ้น ? เพราะแว่นนั้นต้องมีคุณสมบัติลดการกระเจิงของแสงหรือการสะท้อนของแสงจึงทำให้มองเห็นชัดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่แว่นดำทุกอันจะมีคุณสมบัติทำให้มองเห็นภาพชัดขึ้นขณะขับรถตอนฝนตก แว่นกันแดด ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UVA และ UVB ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่ดวงตา ลดการกระเจิงของแสงที่เกิดจากการสะท้อนบนผิววัตถุที่มีความมันวาวทำให้มองภาพไม่ชัดเจน สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส 

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต คลิปเตือน อาหารปลอม ต้องระวัง จริงหรือ ?

6 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับคำเตือนอาหารปลอมเอาไว้มากมาย ทั้งให้ระวังสาหร่ายที่ทำมาจากถุงดำ อีกทั้งยังมีเนื้อปลอม ไข่ปลอม และข้าวสารปลอมจากพลาสติกอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : คลิปเตือน เนื้อปลาปลอม จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนให้ระวังเนื้อปลาปลอม มีวางขายตามท้องตลาดแล้ว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “ในคลิปไม่ใช่ปลาปลอม แต่เป็นปลาแช่แข็งที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้เนื้อปลาแห้งคล้ายฟองน้ำหรือพลาสติก ปัจจัยหนึ่งเกิดจากบริเวณเนื้อปลาสัมผัสกับความเย็นมากเกินไป ทำให้ผิวปลาหยาบกระด้าง แผ่นหนังของปลาจะแข็งเพราะความเย็นจะดูดน้ำออก ทั้งนี้ ปลาแช่แข็งที่วางจำหน่ายจะแช่แข็งด้วยกรรมวิธี Quick Freezing (การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว) มีการกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทำให้โปรตีนในเนื้อสัตว์แปรสภาพไปมากนัก บางครั้งโรงงานผลิตจะเติมสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำแข็งไม่ให้มีขนาดใหญ่มากเกินไป จึงยังคงสภาพเนื้อสัตว์ได้ดี ข้อปฏิบัติสำหรับซื้อปลามาแช่แข็ง ต้องใส่เนื้อปลาในถุงหรือภาชนะที่ถูกอากาศน้อยที่สุด, หั่นปลาชิ้นไม่ใหญ่เกินไปเพื่อให้เย็นเร็วขึ้น, ไม่ควรแช่แข็งไว้นานเกิน 2 เดือน ก่อนนำมาปรุงอาหารควรละลายน้ำแข็งทิ้งไว้ในช่องธรรมดาก่อน 1 คืน เพื่อไม่ให้เนื้อปลาเปลี่ยนสภาพมากเกินไป แต่ห้ามแช่น้ำร้อน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุเด็กมองไม่เห็นกะทันหัน

3 ธันวาคม 2566 ตามองไม่เห็นกระทันหันในเด็ก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และจะต้องรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 22 23 24 25 26 52