ชัวร์ก่อนแชร์: นักวิจัยชี้ชาวญี่ปุ่นตายจากมะเร็งมากขึ้นเพราะวัคซีน mRNA จริงหรือ?

ผู้วิจัยไม่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนของผู้เสียชีวิต จึงไม่สามารถระบุได้ว่าการตายจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะวัคซีนหรือไม่

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉิน “โรคมะเร็งจากวัคซีน mRNA” จริงหรือ?

เป็นข่าวปลอมที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แม้ญี่ปุ่นจะยกเลิกบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรีแก่ประชาชน แต่แนะนำให้วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ควรฉีดตามฤดูกาล

ชัวร์ก่อนแชร์: หยุดใช้ “ปากกาลดน้ำหนัก” แล้วกลับมาอ้วนเหมือนเดิม จริงหรือ?

มีงานวิจัยพบว่า การหยุดใช้ปากกาลดน้ำหนัก จะทำให้น้ำหนักตัวกลับมาเท่ากับตอนก่อนจะใช้ยา

ชัวร์ก่อนแชร์: ปากกาลดน้ำหนัก ใช้แล้ว “หน้าเหี่ยว-ก้นย้อย” จริงหรือ?

Excess Skin คือผิวหนังส่วนเกินที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะใช้วิธีการลดน้ำหนักแบบใด

ชัวร์ก่อนแชร์: มนุษย์หายใจรับ “ไมโครพลาสติก” ปริมาณเท่าบัตรเครดิตทุกสัปดาห์ จริงหรือ?

งานวิจัยสำรวจ “อัตราส่วน” ของไมโครพลาสติกในอากาศ ไม่ได้สำรวจ “น้ำหนัก” ของไมโครพลาสติกในอากาศ

ชัวร์ก่อนแชร์: ขวดน้ำพลาสติกตากแดดในรถ ปล่อยสารก่อมะเร็ง Dioxin จริงหรือ?

11 พฤษภาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเป็นเวลานานเป็นอันตราย เนื่องจากร่างกายจะได้รับสารก่อมะเร็งชนิดไดออกซิน โดยอ้างว่า เชอรีล โครว นักร้องสาวชาวอเมริกันที่เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีสาเหตุจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Dioxin ไดออกซิน (Dioxin) คือสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถูกย่อยสลายได้ยาก ทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สะสมในไขมันของสิ่งมีชีวิต มีความเป็นพิษสูงและยังเป็นสารก่อมะเร็ง หากได้รับในปริมาณสูงจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการสืบพันธุ์ ข้อมูลจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกาหรือ EPA ระบุว่า การพบสารไดออกซินปะปนในอากาศและแหล่งน้ำ มีสาเหตุมาจากกิจกรรมการเผา ทั้งการเผาขยะและเชื้อเพลิง นิโคล แดเซียล รองศาสตราจารย์ ด้านระบาดวิทยาและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้พลาสติกแก้วิกฤตโลกร้อน จริงหรือ?

แม้บางกรณี การใช้พลาสติกจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการทดแทนการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่สิ้นเปลืองมากกว่า แต่กระบวนการผลิตพลาสติกจนถึงการกำจัดซากพลาสติก ล้วนสร้างก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก

Watch the Water : สารคดีวิทยาศาสตร์ปลอม “ไวรัสโควิดคือพิษงู”

09 พฤษภาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ก่อนหน้าที่ สตู ปีเตอร์ส นักจัดรายการผู้มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง จะโด่งดังกับสารคดีต่อต้านวัคซีนโควิด-19 ทั้ง Died Suddenly และ Final Days ช่วงกลางปี 2022 เขาได้นำเสนอสารคดีความยาว 45 นาทีเรื่อง Watch the Water เนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์ ไบรอัน อาร์ดิส อดีตแพทย์ด้านการบำบัดโรคด้วยการจับกระดูกสันหลัง ผู้มีประวัติสร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัส Remdesivir รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทฤษฎีที่ ไบรอัน อาร์ดิส ชักจูงให้ผู้ชมคล้อยตามใน Watch the Water คือการอ้างว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นผลจากแผนอันชั่วร้ายที่เรียกว่า Plandemic จากการร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) และคริสตจักรโรมันคาทอลิก โดยอ้างว่าไวรัสโควิด-19 แท้จริงแล้วเกิดมาจากพิษของงู, ยาต้านไวรัส Remdesivir มีส่วนประกอบของพิษงู และมีแผนแพร่เชื้อโควิด-19 ผ่านทางแหล่งน้ำอีกด้วย […]

1 12 13 14 15 16 34