ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เร่งออกกฎหมายยุติการผลิตรถน้ำมัน จริงหรือ?

แม้หลายหน่วยงานของสหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและตั้งข้อกำหนดด้านการปลดปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์สันดาปอย่างเง้มงวด แต่ไม่ได้มีนโยบายห้ามการผลิตรถยนต์น้ำมันในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: EU ขู่ห้ามซ่อม-ครอบครองรถน้ำมันอายุเกิน 15 ปี จริงหรือ?

เป็นระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุของ EU เพื่อบังคับการผลิตรถยนต์ให้เอื้อต่อการรีไซเคิลง่ายขึ้น ไม่มีผลต่อการใช้งานรถยนต์ ยานยนต์ที่หมดอายุของ EU ไม่ได้ประเมินจากอายุรถยนต์ แต่ประเมินจากความคุ้มค่าของการซ่อมและการนำไปใช้

ชัวร์ก่อนแชร์: ขับรถน้ำมันคันเก่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าซื้อ EV คันใหม่ จริงหรือ?

แม้การปลดปล่อยคาร์บอนจากการผลิตรถยนต์ EV คันใหม่ จะสูงกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าต่อไป แต่เมื่อเริ่มขับรถยนต์ EV นานกว่า 4 ปีหรือระยะทางมากกว่า 35,000 กิโลเมตร ปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากรถยนต์ EV จะน้อยกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์: สถานีชาร์จรถ EV ปั่นไฟด้วยน้ำมันดีเซล จริงหรือ?

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าด้วยเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันดีเซลในออสเตรเลีย สร้างขึ้นในสถานที่ซึ่งระบบไฟฟ้าส่วนกลางเข้าไม่ถึง

ชัวร์ก่อนแชร์: อุปกรณ์เปลี่ยนรถน้ำมันเป็นรถไฮบริด ลดอัตราสิ้นเปลือง 35-75% จริงหรือ?

รถไฮบริดต้องมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าและแบตเตอรี่เป็นแหล่งสำรองไฟฟ้า การเสียบอุปกรณ์เสริมในรถไม่ทำให้รถน้ำมันกลายเป็นรถไฮบริดได้ ส่วนกล่อง ECU จะควบคุมการฉีดน้ำมันสู่ห้องเผาไหม้ แต่ไม่สามารถควบคุมการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: งานวิจัยชี้ฉีดวัคซีนโควิดเสี่ยงป่วยโรคหัวใจหนักกว่าไวรัสโควิด จริงหรือ?

เป็นข้ออ้างผิด ๆ จากแพทย์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน ผ่านการนำเสนองานวิจัยที่เต็มไปด้วยจุดบกพร่องและการบิดเบือน

ชัวร์ก่อนแชร์: นักวิจัยมหาวิทยาลัย Yale พบอาการเรื้อรังหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนลงความเห็นว่า อาการเรื้อรังที่เกิดกับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกับลองโควิดอย่างมาก มีการศึกษาอาการข้างเคียงแบบเดียวกันในกลุ่มผู้ฉีดวัตซีนและผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผู้ติดเชื้อมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์: นักวิทย์จีนสร้างไวรัสโควิดพันธุ์ใหม่สุดอันตราย อัตราตาย 100% จริงหรือ?

ไวรัสที่ใช้ทดลองเป็นไวรัสโคโรนาจากตัวนิ่มที่กลายพันธุ์ ไม่ใช่การสร้างไวรัสโควิด-19 ขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด สาเหตุที่หนูติดเชื้อรุนแรง เพราะมีการตัดต่อพันธุกรรมให้หนูมีเอนไซม์ ACE2 สำหรับรับเชื้อไวรัสเหมือนมนุษย์ในปริมาณมาก

ชัวร์ก่อนแชร์: ผลสำรวจวัคซีนโควิดจาก 99 ล้านคน พบผลข้างเคียงอันตรายหลายชนิด จริงหรือ?

อาการที่พบส่วนใหญ่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ได้รับการยืนยันมานานแล้ว ซึ่งสามารถพบในผู้ป่วยโควิด-19 เช่นกัน และยังมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์: เลือดบริจาคของผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

3 ปีที่ผ่านมามีการนำโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 มาใช้ในการแพทย์อย่างแพร่หลาย และไม่พบความผิดปกติต่อผู้รับบริจาคโลหิตแม้แต่น้อย

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้รับวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

มีข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกาว่า ประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย

ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐไม่รับพลาสม่าจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ไม่รับบริจาค Convalescent Plasma ของคนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพราะต้องการได้พลาสม่าจากผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19

1 11 12 13 14 15 31