ชัวร์ก่อนแชร์: นักวิทย์จีนสร้างไวรัสโควิดพันธุ์ใหม่สุดอันตราย อัตราตาย 100% จริงหรือ?

ไวรัสที่ใช้ทดลองเป็นไวรัสโคโรนาจากตัวนิ่มที่กลายพันธุ์ ไม่ใช่การสร้างไวรัสโควิด-19 ขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด สาเหตุที่หนูติดเชื้อรุนแรง เพราะมีการตัดต่อพันธุกรรมให้หนูมีเอนไซม์ ACE2 สำหรับรับเชื้อไวรัสเหมือนมนุษย์ในปริมาณมาก

ชัวร์ก่อนแชร์: ผลสำรวจวัคซีนโควิดจาก 99 ล้านคน พบผลข้างเคียงอันตรายหลายชนิด จริงหรือ?

อาการที่พบส่วนใหญ่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ได้รับการยืนยันมานานแล้ว ซึ่งสามารถพบในผู้ป่วยโควิด-19 เช่นกัน และยังมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์: เลือดบริจาคของผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

3 ปีที่ผ่านมามีการนำโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 มาใช้ในการแพทย์อย่างแพร่หลาย และไม่พบความผิดปกติต่อผู้รับบริจาคโลหิตแม้แต่น้อย

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้รับวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

มีข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกาว่า ประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย

ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐไม่รับพลาสม่าจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ไม่รับบริจาค Convalescent Plasma ของคนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพราะต้องการได้พลาสม่าจากผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19

ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐถามประวัติวัคซีนโควิดผู้บริจาคเลือด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ต้องการข้อมูลการฉีดวัคซีนของผู้บริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการรับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนเชื้อเป็นก่อนเวลาอันควร ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อเป็น

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มผิดปกติ จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes เพิ่มขึ้นเพิ่มยับยั้งไวรัสโควิด-19 แต่จะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เลือดเปลี่ยนสี จริงหรือ?

สีของเลือดขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง เลือดในหลอดเลือดแดงซึ่งมีออกซิเจนสูง เลือดจะเป็นสีแดงสด เลือดในหลอดเลือดดำซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เลือดจะเป็นสีแดงคล้ำ

ชัวร์ก่อนแชร์: CDC ยอมรับผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันจะเพิ่มขึ้นเพราะวัคซีนโควิด จริงหรือ?

ปัจจัยทำให้ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของประชากรสูงวัยและผู้ป่วยโรคอ้วน ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 นอกจากนี้การติดเชื้อโควิด-19 ยังเพิ่มความเสี่ยงการเป็นลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิดเป็นอันตรายต่อผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

ผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ เพราะอาการลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนหรือ VITT มีความแตกต่างจากลิ่มเลือดอุดตันทั่วไป ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์: ควรกินยาละลายลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันคือวัคซีนชนิด Viral Vector ไม่ใช่ชนิดวัคซีน mRNA หรือชนิดเชื้อตาย ไม่แนะนำให้กินยาละลายลิ่มเลือดด้วยตัวเอง เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

ชัวร์ก่อนแชร์: “น้ำส้มสายชูหมัก” ลดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

ปัจจุบันไม่ยังพบวิธีป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 การอ้างว่าดื่มน้ำส้มสายชูหมักช่วยลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จึงไม่เป็นความจริง

1 9 10 11 12 13 29