ชัวร์ก่อนแชร์: ไก่บ้านออกไข่ลดลง ตามแผนดัดแปลงอาหารไก่ จริงหรือ?

29 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับการขึ้นราคาไข่เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างสาเหตุที่ไข่ไก่ในสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น ตามแผนการที่ร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมอาหารไก่และอุตสาหกรรมไข่ไก่ ในการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารไก่อย่างจงใจเพื่อให้ไก่หยุดออกไข่ ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงไก่ในสวนหลังบ้านที่ผลิตไข่ได้น้อยลง และต้องไปซื้อไข่จากผู้ผลิตรายใหญ่ที่โก่งราคาในช่วงที่ไข่ไก่ขาดแคลนระหว่างไข้หวัดนกระบาด บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ไม่มีหลักฐานการเปลี่ยนสูตรอาหารไก่ อย่างไรก็ดี เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารไก่ที่ถูกโจมตีทางออนไลน์ต่างยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนสูตรอาหารไก่แต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรในหลายรัฐของสหรัฐฯ ไม่พบรายงานปัญหาการผลิตไข่ไก่ที่เกี่ยวข้องกับอาหารไก่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นเรื่องยาก เพราะมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ให้เป็นไปตามข้อมูลที่กำหนดไว้บนบรรจุภัณฑ์ แม้ในอดีตจะมีการเรียกคืนอาหารสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสมคบคิดเรื่องการดัดแปลงสูตรอาหารให้ไก่หยุดออกไข่อย่างแน่นอน ปัจจัยทำให้ไก่หยุดออกไข่ ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ทำให้ไก่ในสวนหลังบ้านออกไข่ลดลงมี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณแสงและการผลัดขนไก่ในช่วงฤดูหนาว เคน แอนเดอร์สัน ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมสัตว์ปีก มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตท อธิบายว่า ไก่จะออกไข่อย่างสม่ำเสมอ หากได้รับปริมาณแสงอย่างน้อย 14 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในช่วงฤดูหนาวซึ่งตอนกลางวันสั้นกว่าตอนกลางคืน การเลี้ยงไก่ในสวนหลังบ้านซึ่งพึ่งพาแสงธรรมชาติและไม่สามารถควบคุมปริมาณแสงได้เหมือนอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ในระบบปิด จะส่งผลให้ไก่ออกไข่ที่น้อยลงได้ นอกจากนี้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงคือช่วงที่ไก่ทำการสลัดขน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไข่แดงป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

26 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จพยายามเชื่อมโยงวิกฤตขาดแคลนไข่ไก่ปี 2023 กับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าสาเหตุที่ไข่ไก่ขาดแคลนอย่างหนักในหลายประเทศช่วงปี 2023 เนื่องจากมีรายงานพบความสำเร็จในการผลิตไข่แดงที่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ นำไปสู่แผนการทำลายสัตว์ปีกอย่างแพร่หลายเพื่อขัดขวางประชาชนเข้าถึงไข่ไก่แทนการใช้วัคซีน จนนำไปสู่สภาวะขาดแคลนไข่ไก่ไปทั่วโลก บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : การทดลองใช้แอนติบอดีจากไข่แดงยับยั้งไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ข้ออ้างเรื่องไข่แดงป้องกันโควิด-19 ได้ นำมาจากงานวิจัยที่ทดลองฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 ไปในตัวแม่ไก่ เมื่อไข่ถูกฟัก จึงสกัดเอาแอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนามมาทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงที่ถูกทำให้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทีมวิจัยพบว่า แอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนาม สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ต่างจากแอนติบอดีของไข่แดงจากแม่ไก่ทั่วไปที่ใช้ไม่ได้ผล ไข่ไก่ทั่วไปป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จากการทดลองสามารถบอกได้ว่า แอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนามเท่านั้น ที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ดังนั้นไข่ไก่ทั่วไปที่จำหน่ายในท้องตลาด ไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ กินไข่มีแอนติบอดีก็ป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ แม้ไข่แดงที่มีแอนติบอดีไวรัสโควิด-19 จะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยงได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กินไข่เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันในหัวใจ จริงหรือ?

24 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการกินไข่ไก่เผยแพร่ทาง Facebook และเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการอ้างว่าพบงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการกินไข่ไก่คือสาเหตุทำให้ชาวอเมริกันมีอาการลิ่มเลือดอุดตันหลายพันราย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างที่เผยแพร่ทางออนไลน์ นำมาจาก NewsPunch หรือ The People’s Voice เว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอมบ่อยครั้ง โดยบทความอ้างงานวิจัยที่พบว่า โคลีน (Choline) สารที่อยู่ในไข่แดงคือตัวการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจากลิ่มเลือดอุดตัน Choline โคลีน (Choline) คือสารที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ วงการแพทย์เคยจัดให้โคลีนเป็นหนึ่งในวิตามินบี 4 แม้ร่างกายสามารถผลิตโคลีนได้เอง แต่มีในปริมาณน้อย จึงจำเป็นต้องได้รับโคลีนที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ เนื้อแดง ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากนม และถั่วต่าง ๆ การขาดโคลีนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับและการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับโคลีนมากเกินไป นำไปสู่ปัญหาความดันต่ำ ท้องเสีย และการมีกลิ่นตัวเหมือนกลิ่นปลา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การกินไข่กับความเสี่ยงโรคหัวใจ (2024)

22 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อสงสัยเรื่องการบริโภคไข่กับความเสี่ยงการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ กลายเป็นประเด็นโต้เถียงมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีข้อสรุปที่พบว่าการกินไข่ส่งผลเสียต่อหัวใจ กินไข่ส่งผลดีต่อหัวใจ และการกินไข่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ดี การวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคไข่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับไข่และสุขภาพมีความชัดเจนมากกว่าการศึกษาไข่กับผลกระทบต่อโรคหัวใจในอดีตที่ผ่านมา คอเลสเตอรอลและไขมันในไข่ แคลอรีครึ่งหนึ่งที่ได้รับจากการกินไข่ มาจากไขมันที่อยู่ในไข่แดง ไขมันในไข่แดงประมาณ 2 ใน 3 คือไขมันไม่อิ่มตัว ส่วน 1 ใน 3 คือไขมันอิ่มตัว ไข่ไก่ทั่วไปจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงประมาณ 200 มิลลิกรัม ในขณะที่ไข่แดงอุดมไปด้วยคอเลสเตอรอล แต่ไข่ขาวมีไขมันอยู่เพียง 0.2% และไม่มีคอเลสเตอรอลเลย โทษของไข่แดงกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ? ปี 2021 มีบทความวิชาการตีพิมพ์ทางวารสารของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ในหัวข้อ Cardiovascular Harm From Egg Yolk and Meat : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เมืองในกลุ่ม C40 ห้ามกินเนื้อสัตว์ภายในปี 2030 จริงหรือ?

19 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับนโยบายลดการกินเนื้อสัตว์เพื่อสิ่งแวดล้อมถูกนำมาเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าประชาชนใน 14 เมืองในสหรัฐฯ จะถูกสั่งห้ามกินเนื้อสัตว์ภายในปี 2030 เนื่องจากทั้ง 14 เมืองล้วนเป็นสมาชิกของกลุ่ม C40 ซึ่งเป็นการรวมตัวของเมืองที่มีนโยบายรณรงค์แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มองว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จากการทำปศุสัตว์ คือตัวการนำไปสู่สภาวะโลกร้อน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : C40 เป็นการรวมตัวของผู้นำจาก 96 เมืองทั่วโลก มีจุดประสงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเมืองให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 โดยให้ความสำคัญผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากวัฒนธรรมการบริโภคของชาวเมือง (Urban Consumption) ทั้งการเลือกวัสดุในการก่อสร้าง อาหาร เสื้อผ้า การขนส่ง พลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน เป็นต้น ในรายงานชื่อ The Future of Urban Consumption in a […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้แพ้เนื้อสัตว์ จริงหรือ?

17 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่โดยนักทฤษฎีสมคบคิดในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าสาเหตุที่ประชากรโลกมีอาการแพ้อาหารเพิ่มขึ้น มาจากส่วนประกอบโปรตีนในวัคซีนโควิด-19 ที่ชื่อว่า Alpha-Gal ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนเกิดอาการแพ้เนื้อสัตว์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการให้ประชากรโลกลดการกินเนื้อสัตว์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Alpha-Gal Syndrome โรคแพ้เนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Alpha-Gal Syndrome คืออาการแพ้ที่เกิดจาการบริโภคเนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2002 ระดับความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ ผิวหนังเป็นผื่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ความดันต่ำ เวียนศีรษะ ท้องร่วง ปอดท้องรุนแรง สาเหตุหลักเชื่อว่ามาจากการถูกกัดโดยแมลงดูดกินเลือด เช่น หมัด เมื่อตัวแมลงเหล่านี้ไปดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมี Alpha-Gal (Galactose-α-1,3-galactose) โมเลกุลน้ำตาลคาร์โบไฮเดรตอยู่ในร่างกาย แมลงเหล่านี้จะกลายเป็นพาหะนำ Alpha-Gal มาสู่คน เมื่อถูกแมลงกัด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง ทำให้เป็นมะเร็ง Turbo Cancer จริงหรือ?

16 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง (Lab-Grown Meat หรือ Cultured Meat) เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า มีการศึกษาพบว่า เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่พัฒนาโดย บิลล์ เกตส์ ทำให้ผู้บริโภคป่วยเป็นมะเร็งร้ายแรงที่รู้จักในชื่อ Turbo-Cancer บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Turbo-Cancer โรคมะเร็งที่ไม่มีอยู่จริง Turbo-Cancer ที่ถูกอ้างว่าเป็นมะเร็งร้ายแรงที่ลุกลามได้อย่างรวดเร็วในผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แท้จริงแล้วคือโรคที่ไม่มีอยู่จริงซึ่งอ้างโดยกลุ่มต่อต้านวัคซีน ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกยืนยันว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็ง หรือทำให้มะเร็งกำเริบ บิลล์ เกตส์ มหาเศรษฐีเหยื่อข่าวปลอม บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft ถือเป็นมหาเศรษฐีที่คอยบริจาคเงินเพื่อการกุศลและการวิจัยด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ รวมถึงการสนับสนุนการบริโภคเนื้อสัตว์ทางเลือก จากการลงทุนในบริษัทผลิตเนื้อสัตว์จากพืชและเนื้อสัตว์ที่ผลิตจากเซลล์ในห้องปฏิบัติการ ข้ออ้างจากเว็บไซต์ข่าวปลอม จากการตรวจสอบโดย Fact Checker พบว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กินเนื้อวัว-ไก่ ทำให้ผู้ชายหน้าอกใหญ่ จริงหรือ?

14 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อสัตว์เผยแพร่ในหลายประเทศ โดยอ้างว่าผู้ชายไม่ควรกินเนื้อวัวหรือเนื้อไก่ เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงชนิดเอสโตรเจนสูง หากได้รับปริมาณมากจะทำให้ผู้ชายสูญเสียความสมดุลของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย นำไปสู่อาการ Gynecomastia ทำให้ผมร่วง ศีรษะล้าน สูญเสียศักยภาพในการสร้างกล้ามเนื้อ และทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Gynecomastia เต้านมผู้ชายจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ Gynecomastia คืออาการที่ร่างกายของผู้ชายสูญเสียความสมดุลของระดับฮอร์โมนเพศ เมื่อร่างกายได้รับปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศชายทั้งแอนโดรเจนและเทสโทสเทอโรนในกระแสเลือดลดลง ก่อให้เกิดการยับยั้งการสร้างกล้ามเนื้อ และไปกระตุ้นการขยายตัวของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม สาเหตุมาจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการใช้ยา การดื่มสุรามากเกินไป หรือจากความเครียด อย่างไรก็ดี ผมร่วงไม่ใช่หนึ่งในอาการจากโรค Gynecomastia สาเหตุของผมร่วงมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และความเครียดสะสมเป็นตัวกระตุ้น แม้ Gynecomastia จะมีผลจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป แต่การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อสัตว์ไม่ทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับที่เป็นอันตราย ดร. แบรดลีย์ อันนาวอลต์ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาต่อมไร้ท่อ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า การที่ผู้ชายจะได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนเอสโตรเจน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน RSV ทำให้ป่วยโรคระบบประสาท GBS จริงหรือ?

12 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : เกิดความกังวลต่อการฉีดวัคซีนไวรัส RSV ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา เมื่อพบผู้ฉีดวัคซีนป่วยเป็นโรคระบบประสาทส่วนปลาย Guillain-Barré Syndrome (GBS) สูงกว่าที่คาด โดยเฉพาะจากผู้รับวัคซีน Abrysvo ของบริษัท Pfizer ที่พบสัดส่วนผู้ป่วยโรค GBS สูงกว่าวัคซีนไวรัส RSV ยี่ห้ออื่น ๆ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Guillain-Barré Syndrome (GBS) คือโรคที่เซลล์เนื้อเยื่อประสาทส่วนปลายถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันตนเอง สาเหตุทั้งจากการติดเชื้อโรคหรือการฉีดวัคซีน ส่งผลให้เกิดอาการชาที่ปลายมือและเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนถึงการเป็นอัมพาต แม้ส่วนใหญ่จะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติ แต่มีผู้ป่วยบางรายที่ถูกทำลายระบบประสาทไปอย่างถาวร GBS เป็นโรคที่พบได้ยาก แต่พบได้บ่อยกว่าในผู้ป่วยสูงอายุและเพศชาย ความชุกของโรคอยู่ที่ 1-2 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี โดยผู้ที่อายุต่ำกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน RSV ของ Pfizer ทำให้คลอดก่อนกำหนด จริงหรือ?

11 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัส RSV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าวัคซีน RSV ของ Pfizer ไม่ปลอดภัยที่จะฉีดให้สตรีมีครรภ์ เนื่องจากการทดลองทางคลินิกพบว่า กลุ่มสตรีมีครรภ์ที่ได้รับวัคซีนต้องคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติในจำนวนที่มากกว่ากลุ่มสตรีมีครรภ์ที่ได้รับยาหลอกถึง 20% บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : รายงานการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Abrysvo ที่บริษัท Pfizer ส่งไปให้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) พิจารณา พบความไม่สมดุลทางสถิติของคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยพบว่า ในกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่รับวัคซีน Abrysvo พบการคลอดก่อนกำหนด 5.7% ส่วนกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่ได้รับยาหลอกคลอดก่อนกำหนด 4.7% ส่วนข้อมูลทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ ก็พบว่ากลุ่มสตรีมีครรภ์ที่รับวัคซีน Abrysvo คลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ 5.1% ส่วนกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่ได้รับยาหลอกพบการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ 4.4% […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนไม่ป้องกันเด็กติดเชื้อ RSV จริงหรือ?

10 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัส RSV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าการฉีดวัคซีนไวรัส RSV ให้สตรีมีครรภ์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส RSV แก่ทารกแรกเกิดเป็นการเสี่ยงที่ไม่คุ้มเสีย เนื่องจากประสิทธิผลวัคซีนในเด็กทารกยังไม่ชัดเจน บทสรุป : FDA ลงคะแนนเสียง 14-0 รับรองประสิทธิผลด้านการป้องกันการป่วยหนักจากการติดเชื้อไวรัส RSV ของวัคซีน Abrysvo FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : การฉีดวัคซีน RSV ให้สตรีมีครรภ์เพื่อป้องกันทารกติดเชื้อไวรัส RSV วัคซีนไวรัส RSV ในปัจจุบันที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ฉีดแก่สตรีมีครรภ์เพื่อป้องกันทารกติดเชื้อไวรัส RSV คือวัคซีน Abrysvo ของบริษัท Pfizer โดย FDA แนะนำให้ฉีดในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 32-36 สัปดาห์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน RSV มีเชื้อไวรัสเป็นส่วนประกอบ จริงหรือ?

09 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัส RSV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าวัคซีนไวรัส RSV เพื่อใช้ป้องกันการป่วยหนักจากการติดเชื้อไวรัส RSV มีไวรัส RSV เป็นส่วนประกอบในวัคซีนและเป็นอันตราย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : เส้นทางการพัฒนาวัคซีนไวรัส RSV มีความพยายามพัฒนาวัคซีนไวรัส RSV มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960’s โดยเริ่มต้นจากการทดลองวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยนำเชื้อไวรัสไปทำให้หมดสภาพด้วยฟอร์มาลีน แต่วัคซีนไวรัส RSV ชนิดเชื้อตาย กลับทำให้เด็กที่ได้รับวัคซีนจำนวนไม่น้อยป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ถูกทำให้รุนแรงขึ้นโดยวัคซีน (Vaccine – Associated Enhanced Respiratory Disease, VAERD) จนการทดลองวัคซีนไวรัส RSV ชนิดเชื้อตายต้องยุติลง ส่งผลให้การทดลองวัคซีนไวรัส RSV มีมาตรการเฝ้าระวังที่เข้มงวด […]

1 8 9 10 11 12 39