ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ก่ออาการข้างเคียงหลายชนิด จริงหรือ?

07 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร Children’s Health Defense เผยแพร่รายงานโจมตีแผนรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในหลายประเทศทั่วโลกว่า จะนำไปสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่ สาเหตุเป็นเพราะวัคซีน HPV นำไปสู่อาการข้างเคียงเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคระบบประสาทหลายชนิดทั้ง อาการล้าเรื้อรัง อาการปวดทั่วร่างกายเรื้อรัง การเกิดอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า และ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า Children’s Health Defense คือองค์กรต่อต้านวัคซีนที่ก่อตั้งโดย โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ อดีตนักการเมืองพรรคเดโมแครต ที่ผันตัวมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะผู้สมัครอิสระเมื่อปี 2024 ก่อนจะหันมาให้การสนับสนุน โดนัลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

06 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างรายงานจากการประชุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ที่พบว่าการฉีดวัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มคนที่มีเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์มาแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ปีแอร์ คอรี แพทย์ผู้ก่อตั้ง Front Line COVID-19 Critical Care Alliance องค์กรต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยปัจจุบัน ปีแอร์ คอรี ถูกองค์กรแพทยสภา American Board of Internal Medicine […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ไม่ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

04 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางคลิปวิดีโอใน X ที่สหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) พบว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ให้กับเด็กหญิง ไม่ช่วยลดโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเหมือนที่หน่วยงานสาธารณสุขคาดไว้ เพราะหลังจากเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2006 ปัจจุบันกลับพบว่ายอดผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกกลับเพิ่มขึ้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ดร.ปีเตอร์สัน ปีแอร์ แพทย์โรคผิวหนัง สมาชิกของ America’s Frontline Doctors องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2019 โดยหลายปีที่ผ่านมา America’s Frontline Doctors […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap เสี่ยงแพร่เชื้อไอกรนสู่ทารก จริงหรือ?

02 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap ให้กับแม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยักแก่ทารกในครรภ์ นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกได้รับเชื้อโรคไอกรนจากแม่ที่ฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อแบบไม่มีอาการ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ตรรกะที่ว่าวัคซีนเป็นอันตราย เพราะทำให้แม่ที่ฉีดวัคซีนติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และแพร่เชื้อไปยังทารกโดยไม่รู้ตัว ต่างจากแม่ที่ไม่ฉีดวัคซีน ที่ติดเชื้อแล้วจะแสดงอาการอย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการสังเกตและหลีกเลี่ยง เป็นการอ้างที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อโรคและการทำงานของวัคซีนอย่างชัดเจน โดยปกติแล้ว การแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นในระยะที่เชื้อโรคกำลังฟักตัวช่วง 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าผู้เป็นพาหะของโรคจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อโรคไอกรนที่ไม่ฉีดวัคซีน สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีน ไม่ว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการหรือไม่ก็ตาม ความถี่ของโรคไอกรนในทารก ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า 1 ใน 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนรวม Tdap ไม่ควรฉีดให้สตรีมีครรภ์ จริงหรือ?

01 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่มีความปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากบริษัทผู้ลิตวัคซีนยอมรับว่าไม่มีสตรีมีครรภ์อยู่ในกลุ่มตัวอย่างการทดลองวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน Tdap คือวัคซีนรวมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก สำหรับผู้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีมีครรภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ทารกในช่วง 2 เดือนแรก ซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน โดยแนะนำให้สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap จำนวน 1 โดสในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ ในสหรัฐฯ มีวัคซีน Tdap 2 ชนิดที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทารกเสี่ยงใหลตายจากวัคซีน DTaP จริงหรือ?

30 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน DTaP เผยแพร่ทาง Instagram และ Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน DTaP เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ให้กับทารกเป็นอันตราย เพราะเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยโรคใหลตาย หลักฐานมาจากข้อมูลในฉลากวัคซีน DTaP ที่ระบุว่าโรคใหลตายในทารก เป็นหนึ่งในอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน DTaP บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีนที่ตกเป็นเป้าโจมตี ได้แก่ INFANRIX วัคซีน DTaP ของบริษัท GSK Biologicals โดยในเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลของวัคซีน INFANRIX ที่รับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ก็มีการระบุ โรคใหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน DTaP ไม่จำเป็นต่อทารก ภูมิธรรมชาติปลอดภัยกว่า จริงหรือ?

29 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน DTaP เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าวัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่ควรนำมาฉีดให้ทารก เพราะไม่มีความจำเป็น โดยอ้างว่าสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคไอกรนลดลงตั้งแต่ก่อนการผลิตวัคซีน DTaP และสัดส่วนการพบเด็กป่วยด้วยโรคคอตีบในปัจจุบันก็น้อยมาก นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติมีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน DTaP ช่วยลดการติดเชื้อโรคไอกรนได้จริง กราฟที่แสดงการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ก่อนการผลิตวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทั้ง โรคคอตีบ และ โรคไอกรน เป็นข้อมูลที่อ้างอิงจากเว็บไซต์ healthsentinel.com ซึ่งมีประวัติเผยแพร่เนื้อหาด้านสุขภาพด้วยข้อมูลที่น่าสงสัยในความถูกต้อง นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือแล้ว การนำยอดการเสียชีวิตที่ลดลงก่อนการผลิตวัคซีน มาด้อยค่าวัคซีน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะจุดประสงค์หลักของวัคซีน นอกจากลดโอกาสการเสียชีวิตแล้ว ยังลดโอกาสการติดเชื้อและป่วยจากโรคดังกล่าวอีกด้วย เดวิด กอร์สกี […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ เคยเชื่อว่าเดโมแครตกระตุ้นเศรษฐกิจดีกว่ารีพับลิกัน จริงหรือ?

20 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงก่อนการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2023 มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบุคคลที่คล้ายกับอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนเองเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต และเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไปได้ดีกว่า ถ้ารัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารโดยผู้นำจากพรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Snopes พบว่า คลิปวิดีโอดังกล่าว เป็นการให้สัมภาษณ์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ของจริง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว CNN เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2004 ตรงกับช่วงที่รายการเรียลิตี โชว์ The Apprentice ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นฤดูกาลแรก เมื่อถูกถามว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองใดในขณะนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Sanewashing เมื่อสื่อพยายามใช้เหตุผลกับ โดนัลด์ ทรัมป์

19 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คำว่า Sanewashing ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในแวดวงสื่อสารมวลชนของสหรัฐฯ เมื่อสื่อหลายสำนักถูกวิจารณ์เรื่องการพาดหัวข่าวการหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ โดยทำให้ดูเป็นเหมือนเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ทั่วไป ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาในการหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ เต็มไปด้วยการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นจริง หรือสื่อความหมายไม่ตรงกับหัวข้อที่นำเสนอเลยก็ตาม จนคำว่า Sanewashing ถูกกล่าวถึงอย่างมากตลอดช่วงหลังของปี 2024 เป็นต้นมา Sanewashing คือการลดทอนแง่มุมสุดโต่งของบุคคลหรือแนวคิดใด ๆ เพื่อให้ดูเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น Poynter Institute องค์กรด้านสื่อมวลชนและการตรวจสอบข้อเท็จจริง นิยามความหมายของ Sanewashing ว่า เป็นการกระทำเพื่อปรับเปลี่ยนความเห็นที่รุนแรงและอุกอาจ ให้ดูเหมือนเป็นสิ่งปกติที่สังคมยอมรับได้ สถิติการโกหกของ โดนัลด์ ทรัมป์ ฝ่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของหนังสือพิมพ์ Washington Post พบว่า ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาได้เผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลทำให้เข้าใจผิดรวมกันกว่า 30,573 ครั้ง หรือเฉลี่ย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กมลา แฮร์ริส เป็นคอมมิวนิสต์ จริงหรือ?

18 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส ตัวแทนของพรรคเดโมแครต ถูกผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน รวมถึง โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจมตีว่าเธอมีแนวคิดฝักใฝ่ระบอบคอมมิวนิสต์ และไม่มีความเหมาะสมที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกา คำกล่าวอ้างนอกจากจะพุ่งเป้าไปที่นโยบายของเธอแล้ว ยังมีการอ้างว่าเธอมีลูกสาวของศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจที่มีแนวคิดสนับสนุนลัทธิมากซ์ และมีการนำรูปภาพบุคคลคล้าย กมลา แฮร์ริส ที่แสดงตนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ มาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ โดย อิลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้สนับสนุน โดนัลด์ ทรัมป์ ก็นำภาพดังกล่าวมาแชร์ทาง X เช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดยเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง leadstories พบว่า ภาพที่ถูกแชร์ซึ่งอ้างว่าเป็นบัตรสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ของ กมลา แฮร์ริส แท้จริงแล้วเป็นเพียงเทมเพลตที่ผลิตมาเพื่อการล้อเลียนบนโลกออนไลน์เท่านั้น โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถนำภาพหรือข้อมูลมาตัดต่อให้ดูเหมือนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนภาพที่ โดนัลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ IQ สูงกว่า กมลา แฮร์ริส จริงหรือ?

17 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการนำระดับเชาวน์ปัญญา หรือ IQ จากตัวแทนของทั้ง 2 พรรคมาวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกออนไลน์ โดยอ้างว่า กมลา แฮร์ริส ตัวแทนของพรรคเดโมแครตมี IQ ที่ต่ำ หรือเพียง 78 ต่างจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันที่มี IQ สูงถึง 156 บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ไม่พบหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ผู้ชิงตำแหน่งทั้ง 2 มีระดับเชาวน์ปัญญาตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ข่าวลือเรื่อง IQ ของ กมลา แฮร์ริส ถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ที่อ้างอิงข้อความที่โพสต์ในเว็บไซต์ Reddit อีกทอดหนึ่ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทางรอดเหยื่อแชร์ลูกโซ่โดย FBI

16 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ FBI ได้เผยแพร่แนวทางจับผิดและป้องกันตัวจากการตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงด้านการลงทุน รวมถึงการตกเป็นเหยื่อขบวนการธุรกิจแชร์ลูกโซ่ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นเงินมหาศาล การล่อลวงสุดอันตรายที่ต้องจับตา 1.มักมาในรูปแบบคำสัญญาว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มีความเสี่ยงเลย 2.การลงทุนมาในหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งลงทุนในหลักทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ โลหะมีค่า เป็นต้น 3.คำโฆษณาถึงโอกาสในการลงทุนที่ “ดีจนเหลือเชื่อ” 4.ผู้ก่อการมักติดต่อเหยื่อในหลายช่องทาง ทั้ง โทรศัพท์ อีเมล หรือ การเข้าถึงตัวโดยตรง 1.นำเงินลงทุนจากเหยื่อรายใหม่ ไปมอบเป็นผลตอบแทนระดับสูงที่เคยสัญญาไว้กับเหยื่อรายเก่า 2.อ้างถึงการประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมาย เพื่อบังหน้าแผนฉ้อโกงที่อยู่เบื้องหลัง 3.สุดท้าย เงินของนักลงทุนคือรายได้ทั้งหมดของการฉ้อโกง สัญญาณเสี่ยงการตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงด้านการลงทุน กลยุทธ์ป้องกันการตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงการลงทุน แนวทางปฏิบัติเมื่อตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงการลงทุน ข้อมูลอ้างอิง : https://www.fbi.gov/stats-services/publications/securities-fraud

1 6 7 8 9 10 39