เตือนระวังโรคระบาดปลาในฤดูหนาว

กรุงเทพฯ 24 พ.ย. – กรมประมงเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคระบาดปลา
จากสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาว


นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า อากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้สัตว์น้ำเกิดโรคระบาดได้ เนื่องจากกินอาหารน้อยลง ภูมิต้านทานต่ำ สุขภาพอ่อนแอ จึงขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

          1.  เกษตรกรควรวางแผนระยะเวลาการเลี้ยงปลาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หรือ ควรงดเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว


          2. ควรมีบ่อพักน้ำใช้เพื่อใช้ในฟาร์มได้เพียงพอตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

          3. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับฤดูกาล โดยในช่วงฤดูหนาว ควรเลือกปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด ที่สำคัญ ควรลดความหนาแน่นของปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงและหมั่นเอาใจใส่ ตรวจสุขภาพปลาอย่างสม่ำเสมอ 

          4. ควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม ลดปริมาณอาหารที่จะให้ลง 10 – 15 %  เนื่องจาก   ช่วงอุณหภูมิต่ำปลาจะกินอาหารน้อยลง ถ้าหากมีปริมาณอาหารเหลือจะสะสมตามพื้นบ่อ ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย
เกิดก๊าซพิษ และมีผลกระทบต่อสุขภาพปลา ทั้งนี้ อาจมีการเสริมวิตามินซีในอาหาร 1 – 2 % โดยน้ำหนัก จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ต้านทานโรคและลดความเครียดของปลาได้


5. ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 60 – 100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่ หรือ นำ
เกลือแกงมาละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อ ประมาณ 100 – 150 กิโลกรัมต่อไร่

          6. หากพบมีปลาที่เลี้ยงป่วยหรือมีอาการผิดปกติ ควรแยกออกไปเลี้ยงและรักษาต่างหาก กรณีป่วยหนักอาจทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ทั้งนี้ หากกรณีปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีความผิดปกติ ให้รีบปิดทางน้ำเข้าและหยุดการเติมน้ำจากธรรมชาติเข้ามาในบ่อทันที

          7. หากไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ ในช่วงระหว่างการเลี้ยง ให้ควบคุมปริมาณการให้อาหาร

          8. หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อ ให้ใช้เกลือสาดบริเวณดังกล่าว ประมาณ 200 – 300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่

          9. หากพบปลาตายในบ่อเลี้ยงให้กำจัดโดยการฝังหรือเผา

          10. เมื่ออากาศเริ่มเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น) และพบว่าปลาในธรรมชาติ      เป็นปกติ ไม่มีอาการป่วย ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม และให้อาหารปลาได้ตามปกติ

โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome : EUS) หรือ “โรคแผลเน่าเปื่อย” เป็นโรคที่อยู่ภายใต้ระบบการเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำของประเทศไทย มีสาเหตุจากเชื้อราสกุลอะฟลาโนมัยซิส (Aphanomyces invadans) โดยลักษณะอาการปลาที่ป่วย จะมีแผลเน่าเปื่อย ลึกตามตัวพบโรคนี้ได้ในปลาหลายชนิดทั้งที่อยู่ในธรรมชาติและบ่อเลี้ยง เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลากระสูบ ปลาแรด และปลาสลิด เป็นต้น  ปัจจุบันยังไม่มียาหรือสารเคมีที่จะใช้ในการรักษาโรคได้ หากสภาพอากาศและน้ำในบ่อเลี้ยงมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราดังกล่าว จะเจริญและแพร่กระจายได้น้อยลง ในขณะเดียวกันปลาที่กำลังป่วยจะมีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น ช่วยให้ปลาหายป่วยเองได้ในเวลาต่อมา

โรคตัวด่าง เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกษตรกรควรเฝ้าระวัง โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียสกุลฟลาโวแบคทีเรียม (Flavobacterium spp.) พบโรคนี้มากในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและอุณหภูมิน้ำต่ำ มักเกิดนอกจากนี้มักเกิดขึ้นกับปลาหลังจากการย้ายบ่อ หรือการขนส่งโดยลักษณะอาการปลาที่ป่วยจะมีแผลด่างขาวตามลำตัว หากติดเชื้อรุนแรงปลาจะตายเป็นจำนวนมาก ในรยะเวลาสั้น พบโรคนี้ได้ในปลาสวยงาม ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาช่อน และปลาบู่ วิธีการป้องโรคที่ดี คือ ลดความหนาแน่นปลา ลดอาหาร ควบคุมคุณสมบัติน้ำให้เหมาะสม ในระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง ให้ใช้เกลือแกง 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ตัน (0.1 %) เพื่อช่วยลดความเครียด

 โรคเคเอชวี (Koi Herpesvirus Disease : KHVD) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส พบในปลาตระกูลคาร์พและไน โดยลักษณะอาการปลาที่ป่วย จะรวมกลุ่มอยู่ตามผิวน้ำและขอบบ่อ ซึม ว่ายน้ำเสียการทรงตัวลำตัวมีเมือกมาก มีแผลเลือดออกตามลำตัว ในปลาที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงจะพบอาการเงือกเน่า ปลาอ่อนแอ กินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ทยอยตายพบมีอัตราการตายสูงถึง 50 – 100 % โรคนี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้สารเคมี วิธีการป้องโรคที่ดี คือ ลดความหนาแน่นปลา ลดอาหาร ควบคุมคุณสมบัติน้ำให้เหมาะสม และรักษาตามสาเหตุแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย รา และหรือปรสิต เป็นต้น

ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตและดูแลสัตว์น้ำในช่วงฤดูหนาวอย่างใกล้ชิด หากพบมีสัตว์น้ำป่วยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถแจ้งหรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดหรือศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง/ น้ำจืดในพื้นที่ใกล้บ้าน หรือกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร โทร.0 2579 4122  Facebook Page : https://web.facebook.com/AAHRDD/ และ Line ID : 443KVKEE.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกเอกราช

ศาลสั่งจำคุก 5 ปี 93 เดือน “เอกราช” สส.ภูมิใจไทย

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก 5 ปี 93 เดือน นายเอกราช ช่างเหลา สส.ขอนแก่น เขต 4 พรรคภูมิใจไทย พร้อมสั่งชดใช้เงินกว่า 405 ล้านบาท คดียักยอกเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น 1,275 ล้านบาท

ลูกนายกเบี้ยว

“อนุทิน” ลั่นต้องดำเนินคดี “ลูกชายนายกเบี้ยว”

“อนุทิน” ลั่นไม่มีใครใหญ่กว่าผม ต้องดำเนินคดี “ลูกชายนายกเบี้ยว” ฮึ่มเป็นลูกใครทำผิดกฎหมายก็โดน ถามใหญ่กว่าผมไหม ถ้าไม่ใช่ก็โดนหมด

สลด แม่คลอดลูกเสร็จ ไปเล่นสงกรานต์ต่อ ปล่อยเด็กตาย

สลด สาววัย 27 ปี คลอดลูกทิ้งไว้ข้างกระถางต้นไม้ แล้วไปเล่นน้ำสงกรานต์ต่อ นานกว่า 1 ชม. มีคนแจ้งกู้ภัย พยายามปั๊มหัวใจ แต่ช่วยเด็กไม่ทัน

ผู้ป่วยแจ้งกู้ภัยเข้ามาช่วย แต่บอกบ้านเลขที่ผิด สุดท้ายเสียชีวิต

สลด หญิงวัย 54 ปี หายใจไม่ออกโทรแจ้งกู้ภัยให้เข้ามาช่วยพาส่งโรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าแจ้งบ้านเลขที่ผิด เจ้าหน้าที่หลงทาง สุดท้ายไปไม่ทัน เสียชีวิตอยู่ข้างแม่ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง พบทั้งบ้านมีกองขยะสูงเท่าหลังคา

ข่าวแนะนำ

ปิดตำนาน “อาฉี เสียงหล่อ” นักแสดงตลกดัง เสียชีวิตในวัย 57

ปิดตำนาน “อาฉี เสียงหล่อ” หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เสียชีวิตในวัย 57 ปี ญาติและทีมงานทำใจไม่ได้ เผยเตรียมกลับมาในแพลตฟอร์มต่างๆ อีกครั้ง แต่มาเสียชีวิตก่อน

ศาลให้ประกัน “เอกราช ช่างเหลา” คดียักยอกเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก 5 ปี 93 เดือน นายเอกราช ช่างเหลา สส.ขอนแก่น เขต 4 พรรคภูมิใจไทย ฐานยักยอกเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น กว่า 1,200 ล้านบาท ก่อนได้รับการประกันตัวเพื่อสู้คดีต่อในชั้นศาลอุทธรณ์

สอบปากคำแล้ว 117 ปาก เร่งสางคดีตึก สตง.ถล่ม

รองผบช.น. เผย สอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง คดีอาคาร สตง.ถล่มแล้ว 117 ปาก ยังรอสอบบริษัทควบคุมงาน-ออกแบบก่อสร้าง พร้อมนัดสอบ ‘ปฏิวัติ’ CEO กิจการร่วมค้า PKW 21 เม.ย. เร่งรวบรวมหลักฐานเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง

ผบ.ตร.สั่งดำเนินคดีทุกข้อหาชายซิ่งเก๋งชนกระบะ ระบุน่ารังเกียจ-ไร้วุฒิภาวะ

ผบ.ตร.จวกพฤติกรรมชายซิ่ง BMW ชนกระบะ “น่ารังเกียจ-ไร้วุฒิภาวะ” สั่งดำเนินคดีทุกข้อหา แม้เป็นลูกหลานนักการเมืองดังไม่มีละเว้น