เฉลิมชัยสั่งกรมชลประทานพร้อมรับสถานการณ์น้ำฤดูฝน

กรุงเทพฯ 7 พ.ค. – รมว. เกษตรฯ ย้ำกรมชลประทานให้วางแผนบริหารจัดการน้ำพร้อมรับฤดูฝนที่จะเริ่มในสัปดาห์หน้า ลั่นประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อยู่แล้ว ต้องไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำเติม รวมทั้งต้องมีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมชลประทานผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ว่า ในสัปดาห์หน้า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ จึงขอให้กรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและภูมิอากาศ นำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากทั่วประเทศมาวางแผนแก้ปัญหา เตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือให้พร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมง

ในการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนจะต้องคำนึงถึงการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วยเพราะ “ฝน” เป็นแหล่งกำเนิดน้ำสำคัญ ปริมาณฝนที่ตกในประเทศไทยเพียงพอใช้ตลอดทั้งปี แต่ที่ผ่านมา เกิดภัยแล้งเพราะพื้นที่เก็บกักน้ำมีน้อย ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มพื้นที่เก็บน้ำ ทั้งการสร้างแหล่งเก็บน้ำใหม่และขยายแหล่งเก็บน้ำเดิม ตลอดจนเพิ่มแหล่งน้ำในไร่นา


นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า ประชาชนได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว จึงต้องช่วยกันไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำเติม นอกจากนี้โควิด-19 ยังทำให้ภาคส่วนต่างๆ ต้องหยุดชะงัก แต่การส่งออกสินค้าเกษตรยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่ง และเมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย ภาคการเกษตรจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นกรมชลประทานต้องบริหารจัดการให้มีน้ำสนับสนุนภาคการเกษตรอย่างเพียงพอ

ทั้งนี้กรมชลประทานรายงานว่า เริ่มต้นการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.  โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศมีปริมาณน้ำรวมกัน 36,442 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 39,626 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 8,961 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ประมาณ 2,265 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 15,910 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ การส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนโดยใช้น้ำฝนเป็นหลักหลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการและมีฝนตกในพื้นที่สม่ำเสมอ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำท่าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติให้ได้มากที่สุด


นอกจากนี้ ยังได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กำหนดคน และกำหนดเครื่องจักรเครื่องมือกว่า 5,935 หน่วย เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมกำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ ตรวจสอบสภาพความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง 437 แห่ง และอาคารชลประทานทั่วประเทศอีก 1,806 แห่ง ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งสำรวจสิ่งกีดขวางทาง และการกำจัดวัชพืชในแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก (RULE CURVE) โดยพิจารณาปรับลดการระบายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า