17 มิถุนายน 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Dogrulukpayi (ตุรกี)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- มีการวิจัยปลูกพืช mRNA อยู่จริง แต่เป็นการทดลองเพื่อทดแทนวัคซีน mRNA ทั่วไป ไม่ได้เจาะจงเฉพาะวัคซีนโควิด 19 เท่านั้น
- ต้องใช้เวลาวิจัยอีกหลายปีกว่าจะนำมาใช้ได้จริง
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Twitter ในหลายประเทศ โดยอ้างว่าวงการแพทย์ในสหรัฐฯ กำลังวิจัยการตัดต่อพันธุกรรมพืชที่มี mRNA ของวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้ผู้คนบริโภคแทนการฉีดวัคซีน จนถูกผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนนำไปตีความว่าเป็นการพยายามบังคับให้ประชาชนเสี่ยงกับวัคซีนผ่านการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
งานวิจัยการปลูกพืช mRNA ให้ประชาชนบริโภคแทนการฉีดวัคซีนมีอยู่จริง แต่เป็นการทดลองการปลูกพืช mRNA ทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจง mRNA ของไวรัสโควิด-19 ตามที่กล่าวอ้าง และยังอยู่ในระหว่างการวิจัยที่ต้องใช้เวลาศึกษาอีกหลายปี
โครงการซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2021 เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of California, Riverside, University of California San Diego และ Carnegie Mellon University โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนฟาร์มปลูกผัก เป็นโรงงานผลิตวัคซีนที่กินได้ โดยโครงการได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSF) เป็นเงิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ฮวน พาโบล กิรัลโด รองศาสตราจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัย University of California, Riverside ผู้นำโครงการวิจัยชี้แจงว่า จุดประสงค์ของโครงการคือการทำให้วัคซีน mRNA เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากวัคซีน mRNA มีข้อจำกัดด้านการจัดเก็บ ซึ่งต้องเก็บรักษาในสถานที่ที่มีอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ เท่านั้น แต่พืช mRNA ไม่ว่าจะเป็นผักกะหล่ำหรือผักขม ก็สามารถจัดเก็บได้ในอุณหภูมิห้องตามปกติ
กลไกสำคัญของการปลูกพืช mRNA คือการนำยีนจาก mRNA ไปใส่ไว้ในคลอโรพลาสต์ของพืช ซึ่งเป็นออร์แกแนลล์ในเซลล์ของพืชที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงให้เป็นพลังงานเคมี คุณสมบัติพิเศษของคลอโรพลาสต์คือสามารถทำงานกับยีนภายนอกที่ไม่ได้กำเนิดจากพืชชนิดนั้นๆ โดยตรง
ในทางทฤษฎีคาดว่าพืช mRNA 1 ต้นสามารถผลิต mRNA สำหรับคนได้ 1 คน โดยเป้าหมายคือการให้ประชาชนสามารถปลูกพืช mRNA ในสวนครัวที่บ้าน ส่วนเกษตรกรก็สามารถปลูกพืช mRNA เป็นอาชีพได้
แต่ ฮวน พาโบล กิรัลโด ย้ำว่าโครงการดังกล่าวต้องใช้เวลาพิสูจน์ความพร้อมของเทคโนโลยีอีกหลายปี และยังต้องรอเวลาศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกหลายปีก่อนที่ประชาชนจะสามารถเปลี่ยนไร่สวนให้เป็นโรงงานผลิตพืช mRNA ในอนาคต
นอกจากนี้ ฮวน พาโบล กิรัลโด ยังมีโครงการวิจัยการใช้อนุภาคนาโนนำปุ๋ยไนโตรเจนเข้าสู่คลอโรพลาสต์ในเซลล์ของพืชโดยตรง เพื่อลดปัญหาปุ๋ยไนโตรเจนปนเปื้อนแหล่งน้ำจากการเกษตร ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศและก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจก
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.dogrulukpayi.com/dogrulama/sebzelerin-genetiginin-covid-19-mrna-asisi-icerecek-sekilde-degistirilecegi-iddiasi
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter