ITU มุ่งสร้างความตระหนักรู้ด้าน Cybersecurity ให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

หน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ส่งเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ (Cybersecurity) ผ่านการจัดงาน WTDC 2022 และผ่านโครงการ “การอบรมผู้สื่อข่าวเพศหญิงในภูมิภาคเอเชีย ในหัวข้อ “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์” ร่วมกับองค์กรพาร์ทเนอร์อย่าง AIBD และ USIAD


Cybersecurity คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ?

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ระบุว่า Cybersecurity หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ คือการนำเครื่องมือเทคโนโลยี กระบวนการ และวิธีการปฏิบัติ มารับมือและป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์หรือบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เข้ามายังอุปกรณ์เครือข่าย, โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ, หรือโปรแกรม เพื่อสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ จนระบบสูญเสียทั้งข้อมูลสำคัญและเงินจำนวนมหาศาล


ในยุคปัจจุบัน หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐหรือภาคเอกชนควรจะให้ความสำคัญกับ Cybersecurity มากขึ้น เนื่องจากรูปแบบการโจมตีทางด้านไซเบอร์มีความหลากหลายมากขึ้น และสามารถสร้างความเสียหายให้กับองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มักจะเป็นเหยื่อจากจากถูกโจรกรรมทางไซเบอร์มักจะเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญสูง รวมถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปที่ยังขาดทักษะในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง


คุณ อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของหน่วยงาน ITU

คุณ อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของหน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กล่าวว่า “สถาบันการเงินและธนาคาร มักจะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงผู้ที่มีความเปราะบาง เช่น เด็ก ๆ และผู้สูงอายุที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก

สถิติในปี 2021 ระบุว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2019-2021 มีประมาณ 800 กว่าล้านผู้ใช้จากทั่วโลก ที่เพิ่งเข้าร่วมอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ซึ่งมันยากมากที่จะจัดประเภทและจัดอันดับได้ ว่ากลุ่มผู้ใช้ไหนเปราะบางมากที่สุด แต่ผู้ใช้ 800 ล้านเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มผู้เปราะบางทั้งสิ้น”


หน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และองค์กรพาร์ทเนอร์มีบทบาทในการช่วยเหลืออย่างไร ?

จากปัญหาและความสำคัญที่ได้กล่าวมาข้างต้น หน่วยงานระดับสากลอย่างสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่ซึ่งเป็นหนึ่งใน 21 หน่วยงานทางด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศของทีมสหประชาชาติในประเทศไทย ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้เช่นกัน

โดยหน่วยงาน ITU ได้จัดงาน WTDC 2022 ขึ้น ที่เมืองคิกาลี ประเทศรวันด้า ตั้งแต่วันที่ 6 จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ซึ่งภายในงานก็ได้มีการนำประเด็นเรื่อง Cybersecurity ขึ้นมาเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ควรเร่งให้ความช่วยเหลือ

โดยเฉพาะกับชุมชนในประเทศที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ อย่างประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องไปกับคอนเซปต์หลักของงาน ที่ต้องการช่วยเหลือประชากรทั่วโลกที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ให้พวกเขาได้เชื่อมต่อกับโลกยุคดิจิทัล และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นพื้นฐาน (Digital literacy) ซึ่งความรู้ด้าน Cybersecurity ก็คือหนึ่งในทักษะนั้น

นอกจากนี้ หน่วยงาน สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ยังร่วมมือกับองค์กรพาร์ทเนอร์อย่าง AIBD (The Asia-Pacific Institute for Broadcasting Development) และ USAID (U.S. Agency for International Development) เพื่อจัดทำโครงการ อบรมผู้สื่อข่าวเพศหญิงในภูมิภาคเอเชีย ในหัวข้อ “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)” เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารในวงการวารสารศาสตร์

โดย ดร. Tadas Jakštas ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างศักยภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้ให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ว่า “สำหรับวงการวารสารศาสตร์ (journalism) นั้น ผมว่าเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะผู้สื่อข่าวจะเป็นผู้ที่ถือข้อมูลอยู่กับตัว พวกคุณล้วนถือข้อมูลที่ทั้งสำคัญและละเอียดอ่อน เพราะงั้น ถ้าจะให้เข้าใจแก่นแท้และพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คุณต้องรู้ว่าจะป้องกันตัวเองอย่างไร กล่าวคือ รู้ว่าควรจะต้องตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมาอย่างมีวิจารณญาณอย่างไร หรือรู้ว่าจะต้องมีสุขอนามัยที่ดีในการใช้งานไซเบอร์ (Cyber Hygiene) อย่างไร

เช่น วิธีทั่วไปอย่างการตั้งค่ารหัสผ่านของคุณให้รัดกุมที่สุด การรู้ว่าควรจะเชื่ออะไรหรือไม่เชื่ออะไรบนโลกออนไลน์ เพราะฉะนั้น มันจึงสำคัญมากที่เหล่าผู้สื่อข่าวควรจะได้รับการอบรมในเรื่องเหล่านี้ เพราะทุกวันนี้ เราอยู่ในยุคของการ Digitalization (กล่าวคือ การปรับเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ที่เป็นแบบอนาล็อกไปเป็นดิจิทัล) ที่มีข้อมูลใหม่ ๆ ผุดขึ้นมามากมาย มันสำคัญมากที่เหล่านักข่าวจะต้องมีความยืดหยุ่นในด้านเหล่านี้โดยเฉพาะ”

ดร. Tadas Jakštas ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างศักยภาพความปลอดภัยทางไซเบอร

นอกจากการผลักดันเรื่อง Cybersecurity แล้ว ทางหน่วยงาน ITU ยังมีแนวทางในการช่วยเหลือประชากรโลกที่มีประมาณ 2.9 พันล้านคน ที่ยังเข้าไม่ถึงการเชื่อมอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

คุณ อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของหน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ให้สัมภาษณ์ว่า การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ไม่ได้เป็นแค่ประเด็นที่จำเป็นสำหรับผู้สื่อข่าวเท่านั้น หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT แต่มันจำเป็นกับทุก ๆ คน เพราะอย่างที่พวกคุณรู้กัน สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต พวกเขาไม่รู้หรอกว่าจะป้องกันตัวเองยังไง

มีหลายกรณีศึกษามากมายที่กล่าวถึงผู้ใช้ใหม่ที่แบ่งปันรหัสผ่าน ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของตนเองลงบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งมันจะเป็นการสร้างช่องโหว่ให้กับตัวพวกเขาเอง ในการถูกแฮค หรือถูกสะกดรอยตาม ซึ่งล้วนถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราจึงอยากให้ผู้สื่อข่าวรายงานเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่มันส่งผลกระทบกับทุกคน รวมถึงเด็ก ผู้สูงวัย และผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้เป็นข้อควรระวังเวลาจะเล่นอินเทอร์เน็ต

“เรายังให้ความสำคัญกับประชากร 2.9 พันล้านคนเหล่านั้นเช่นกัน และรวมถึงผู้ที่เพิ่งจะได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาไม่นานด้วย ซึ่งมีหลากหลายวิธีในการช่วยให้ 2.9 พันล้านคนเหล่านั้นเชื่อมต่อถึงเรา


โดย 96% เปอร์เซนต์ของคนกลุ่มนั้นอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในชุมชนที่ห่างไกลมาก ๆ ที่ซึ่งอาจจะไม่มีกำลังจ่ายมากพอสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่าง ๆ ดังนั้น พวกเขาจึงต้องการการดำเนินการที่มุ่งเป้าหรือจำเพาะเจาะจง (targeted and specialized interventions) จากพวกเราทุกคน


เพราะฉะนั้น หนึ่งในวิธีการที่ ITU กำลังส่งเสริมอยู่ คือ โครงการ เกาะอัจฉริยะ (smart island) และ หมู่บ้านอัจฉริยะ (smart village) มันไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อกับหมู่บ้านและเกาะต่าง ๆ แต่ยังเป็นการพัฒนาขีดความสามารถและความรู้ด้านดิจิทัลของคนในชุมชนเหล่านั้นด้วย เช่น การจัดการอบรมเรื่อง cybersecurity

เราไม่ได้จะส่งเสริมชุมชนแค่ให้มีการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) หรือการเกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (E agriculture) และยื่นโทรศัพท์ให้พวกเขาใช้อย่างเดียว แต่เราต้องมั่นใจด้วยว่า พวกเขารู้ว่าควรทำอย่างไร มีทักษะและความรู้ถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในพื้นที่ ๆ ห่างไกลแบบนั้นอย่างไร และนี่ก็คือ 1 ในวิธีที่จะเชื่อมต่อ 2.9 พันล้านคนเหล่านั้น”


เรียบเรียงบทความโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

นายกฯ นำ ครม.วางพวงมาลา เนื่องในวันปิยมหาราช

นายกฯ นำ ครม.วางพวงมาลา “วันปิยมหาราช” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยงานรัฐ-เอกชน สถานศึกษา เข้าร่วมถวายบังคมพร้อมเพรียง

ค้นขุมทรัพย์ “บอสพอล” พบของมีค่าเพียบ

DSI ตรวจค้นเป้าหมายแหล่งซุกทรัพย์สิน “บอสพอล” ดิไอคอนกรุ๊ป พบนาฬิกาหรู สร้อยคอทองคำ คาดมูลค่าหลายสิบล้าน นำเก็บรักษาห้องมั่นคง ประสานตรวจสอบ

อุตุฯ เผยอีสานเริ่มเย็น อุณหภูมิลด 1-3 องศาฯ เช็กเส้นทาง “จ่ามี”

กรมอุตุฯ เผย “อีสาน” อากาศเย็น อุณหภูมิลด 1-3 องศาฯ แต่ยังมีฝนตกบริเวณ “เหนือ ตะวันออก กลาง ใต้ตอนบน” พร้อมเช็กเส้นทางพายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI)