ชัวร์ก่อนแชร์: อิทธิพลสื่อ และการก่ออาชญากรรมเลียนแบบ (Copycat Crime)

สื่อมีอิทธิพลในการชักนำความคิดและการกระทำของประชาชนเป็นอย่างมาก หากสื่อนำเสนอข่าวอย่างชัดเจน โปร่งใส และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนได้มาก ก็จะไม่มีการเข้าใจผิดหรือส่งผลกระทบด้านลบตามมา
แต่บางครั้ง สื่อก็ใช้อำนาจนี้ก่ออิทธิพลในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงมีผลกระทบต่าง ๆ มากมาย ที่เป็นผลพวงมาจากการนำเสนอข่าวของสื่อ ซึ่งหนึ่งในผลกระทบที่ยังคงเป็นที่น่ากังวลอยู่ในขณะนี้ก็คือ ปรากฏการณ์พฤติกรรมลอกเลียนแบบ หรือ Copycat นั่นเอง


Copycat คืออะไร ?

Copycat หมายถึง การลอกเลียนแบบเหตุการณ์หรือพฤติกรรมบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยต้นแบบที่ลอกเลียนมาอาจจะได้มาจากการศึกษาเอง หรือมาจากอิทธิพลในการนำเสนอข่าวของสื่อก็ได้ ซึ่งหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ “copycat crime (อาชญากรรมเลียนแบบ)” นั่นเอง

Copycat Crime (อาชญากรรมเลียนแบบ)

มีผลการวิจัยพบว่า สื่อ เป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมเลียนแบบ เพราะสื่อเป็นตัวการในการนำเสนอ “อาชญากรรมต้นแบบ” ให้กับเรา เช่น การบรรยายพร้อมภาพประกอบว่าผู้กระทำก่อเหตุอย่างไร ทำด้วยวิธีไหนจึงสำเร็จ และจะปกปิดร่องรอยอย่างไร ซึ่งสามารถเปรียบได้กับสำนวนไทยที่ว่า ชี้โพรงให้กระรอก


ประชาชนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจกับข่าวอาชญากรรมที่มันรุนแรง ป่าเถื่อน หรือเป็นคดีปริศนาที่ยังคลุมเครือ เช่น ข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ข่าวอุบัติเหตุของนักแสดง แตงโม นิดา เพราะเป็นคดีที่สร้างความสะเทือนใจ และความอยากรู้อยากเห็น เพราะฉะนั้นสื่อจึงตามติด และรายงานข่าวอย่างละเอียดเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองผู้เสพสื่อ

ดังนั้น จึงมีบ่อยครั้งที่สื่อมักจะนำเสนอข่าวที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคดีมากเกินความจำเป็น เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับตัวของอาชญากรเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ รูปพรรณ อายุ และแรงจูงใจต่าง ๆ รวมถึงเบื้องหลังอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก เช่น การไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้ก่อเหตุ หรือการขุดคุ้ยปมวัยเด็ก ปัญหาชีวิตส่วนตัว ซึ่งอาจไปมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เสพสื่อมีอารมณ์ที่อ่อนไหวคล้อยตามได้

และการที่สื่อนั้นยัดเยียดเรื่องราวชีวิตของผู้ก่อเหตุมากเกินความจำเป็น ผู้เสพสื่อที่ติดตามอาจจะมีอารมณ์ร่วม เกิดความเห็นใจ และเข้าอกเข้าใจผู้ก่อเหตุได้ ดั่งตัวอย่าง เหตุการณ์การกราดยิงที่จังหวัดโคราช ผู้ก่อเหตุคือพลทหารที่ขโมยอาวุธจากในค่ายมากราดยิงผู้บริสุทธ์จนเสียชีวิตหลายราย

สื่อได้ติดตามการรายงานอย่างใกล้ชิด แม้กระทั่งการไลฟ์สดลงบนโซเชียลมีเดีย และได้มีการเปิดเผยปมของพลทหารรายนี้ว่า ที่ก่อเหตุไป เป็นเพราะโดนกดขี่ข่มเหงจากทหารชั้นผู้ใหญ่มาอีกที ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยรู้สึกเห็นใจและหาความชอบธรรมให้กับผู้ก่อเหตุ


เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อมีส่วนควบคุมทิศทางทัศนคติของผู้เสพต่อข่าวนั้น ๆ ได้ โดยการเลือกใช้คำบรรยาย ที่ควรจะไม่ไปกระตุ้นอารมณ์ของผู้เสพสื่อจนเกินไป จนทำให้เกิดอาการเห็นอกเห็นใจ และเอนเอียงไปฝั่งผู้ก่อเหตุได้

ซึ่งจากตัวอย่างคดีดังกล่าว สื่อได้นำเสนอข้อมูลของอาชญากรอย่างละเอียด จนทำให้เขาเป็นที่จดจำของสังคม
และสิ่งที่น่ากังวลตามมาก็คือ การเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะมีคนก่อเหตุเลียนแบบ อาจจะเพื่อให้เป็นที่จดจำ หรือเพราะสื่อได้ชี้ให้เห็นหนทางเอาตัวรอดทางอ้อม จากการก่อเหตุอาชญากรรมที่ผ่านมา เช่น ได้รู้ว่าควรปกปิดหลักฐานอย่างไร เป็นต้น

ต้นกำเนิดของ Copycat Crime

พฤติกรรมนี้ไม่ใด้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะ Copycat Crime มีมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งนักวิจัย เขาได้ศึกษาความสัมพันธ์ของเหตุอาชญากรรมกับการรายงานข่าว โดยข่าวที่เป็นตัวริเริ่มในช่วงนั้นก็คือ ข่าวการฆาตกรรมของ “แจ็คเดอะริปเปอร์” นั่นเอง ซึ่งวิธีการฆ่าของเขาเป็นที่สนใจของประชาชนอย่างมาก จนทำให้มีหลายคนก่อเหตุเลียนแบบฆาตกรรายนี้ และถึงแม้เรื่องนี้จะเกิดที่อังกฤษ และสื่อในสมัยนั้นก็ไม่ได้เข้าถึงง่าย แต่ก็มีการก่อเหตุเลียนแบบตามฆาตกรรายนี้จากทั่วทุกมุมโลกเลยทีเดียว

“รู้เท่าทันสื่อ” หนึ่งในวิธีการป้องกัน Copycat Crime

โดยหลักแล้ว ความรับผิดชอบควรจะต้องตกไปอยู่ที่สื่อเป็นหลัก โดยการรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวต่าง ๆ ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข่าวอาชญากรรมใหญ่ ๆ ที่มีผู้คนสนใจมาก ไม่ควรให้รายละเอียดเกินวามจำเป็น หรือแสดงให้ผู้เสพสื่อเห็นถึงความพิเศษในตัวของผู้ก่อเหตุ จนทำให้คนเหล่านั้นดูเหมือน ‘ฮีโร่’ ในสายตาของผู้ชม แทนที่จะเป็นผู้กระทำความผิด

และสำหรับผู้เสพข่าว ก็ควรใช้วิจารณญาณในการติดตามข่าวให้รอบคอบ คอยตระหนักรู้เท่าทันสื่ออยู่เสมอ รู้ตัวว่ากำลังรับฟังอะไรอยู่ และตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากข่าวเหล่านี้บ้าง เป็นต้น


ที่มา: บทความเรื่อง “อิทธิพลของสื่อ ที่มีผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม”/ helloคุณหมอ
เรียบเรียงโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยอีสานเริ่มเย็น อุณหภูมิลด 1-3 องศาฯ เช็กเส้นทาง “จ่ามี”

กรมอุตุฯ เผย “อีสาน” อากาศเย็น อุณหภูมิลด 1-3 องศาฯ แต่ยังมีฝนตกบริเวณ “เหนือ ตะวันออก กลาง ใต้ตอนบน” พร้อมเช็กเส้นทางพายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI)

ต่างชาติประทับใจซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

วันนี้มีการซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 2 ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งไม่เพียงแต่คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติก็ประทับใจกับความงดงาม