“เฉลิมชัย” เผยวัคซีนโรคลัมปี สกินของไทยเริ่มใช้ได้ พ.ค. นี้

กรุงเทพฯ 24 มี.ค.- รมว.เกษตรฯ ระบุ วัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกินที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ผ่านการทดลองประสิทธิผลในฟาร์มแล้ว พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีเทียบเท่ากับวัคซีนจากต่างประเทศ เร่งขยายการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงในราคาถูก คาดจะเริ่มใช้ได้ในเดือนพฤษภาคมนี้


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า กรมปศุสัตว์รายงานผลการทดสอบประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกินในโค-กระบือที่สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์และสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติร่วมกันพัฒนา โดยเป็นการทดลองในพื้นที่จริง (field trial) เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งฟาร์มโชคชัยอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาให้ความร่วมมือในการทดสอบ ปรากฏว่า วัคซีนที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ มีผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดีเทียบเท่ากับวัคซีนที่ผลิตในต่างประเทศ 

ทั้งนี้สั่งการเพิ่มเติมให้กรมปศุสัตว์เร่งขยายกำลังการผลิตวัคซีนจากระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) สู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรม (pilot scale) ด้วยเทคโนโลยีการผลิตในขวดเพาะเลี้ยงเซลล์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมของการผลิตวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยซึ่งสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์มีองค์ความรู้และมีบุคลากรที่ชำนาญสามารถรองรับปริมาณการผลิตวัคซีน 50,000-100,000 โด๊สต่อเดือน โดยตลอดกระบวนการผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนเศษ ดังนั้นจึงคาดว่า จะผลิตวัคซีนชุดแรกแล้วเสร็จช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ในราคาต้นทุนโด๊สละ 9 บาท ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคให้แก่เกษตรกร ในช่วงปีแรก (มิ.ย. 2565 – พ.ค. 2566) สามารถผลิตวัคซีนได้ มีมูลค่า 6 ล้านบาท หากต้องนำเข้าจากต่างประเทศต้องใช้งบประมาณถึง 27 ล้านบาทซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มากถึง 21 ล้านบาทและเป็นการสร้างความมั่นคงทางวัคซีนของไทยอีกด้วย


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์และสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการภายในกรมปศุสัตว์ที่มีองค์ความรู้และมีบุคลากรที่มีความชำนาญในการผลิตวัคซีนร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกิน สำหรับใช้ป้องกันและควบคุมโรคกรณีฉุกเฉิน โดยเริ่มพัฒนาวัคซีนในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติสามารถแยกไวรัสจากตัวอย่างสัตว์ป่วยในประเทศมาเพาะเลี้ยงในห้องทดลองได้สำเร็จ แล้วส่งหัวเชื้อไวรัสต่อให้สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์นำมาขยายปริมาณไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง และผลิตเป็นแอนติเจนที่หมดฤทธิ์ในการก่อโรคจากนั้นได้ทดลองผลิตเป็นวัคซีน 2 สูตรได้แก่ วัคซีนเชื้อตายในรูปแบบชนิดน้ำและวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำมัน ผลการทดลองในสัตว์ตามวิธีมาตรฐานการผลิตวัคซีน แสดงให้เห็นว่า วัคซีนทั้ง 2 สูตรมีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในสัตว์ โดยวัคซีนชนิดน้ำมันให้ความคุ้มโรค 100% สูงกว่าชนิดน้ำที่ให้ความคุ้มโรค 80% นอกจากนี้วัคซีนชนิดน้ำมันยังให้ความคุ้มโรคต่อเนื่องจนถึงเดือนที่ 7 ซึ่งกรมปศุสัตว์จะทดลองความคุ้มโรคต่อไปอีกจนครบ 12 เดือน 

ขณะนี้กำลังขยายกำลังการผลิตวัคซีนจากระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) สู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรม (pilot scale) ตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ป้องกันโรคให้โค-กระบือโดยเร็ว นอกจากนี้กรมปศุสัตว์กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขยายกำลังการผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกิน เชื้อตาย ชนิดสื่อน้ำมัน โดยใช้เทคโนโลยี large scale roller หรือ Microcarrier ให้สามารถผลิตได้เดือนละ 5 แสน ถึงกว่า 1 ล้านโด๊ส ซึ่งจะทราบผลการศึกษาในช่วงกลางปี 2566 หากกำลังการผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จะสามารถผลิตวัคซีนได้เพียงพอต่อความต้องการใช้สำหรับการควบคุมและป้องกันภายในประเทศ รวมถึงสัตว์นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งช่วยลดการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศได้มากถึงปีละ 8 ล้านโด๊ส สามารถประหยัดงบประมาณถึง 360 ล้านบาท ตลอดจนสามารถส่งขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้อีกด้วย ที่สำคัญการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงจะนำไปสู่การกำจัดโรคลัมปี สกิน ให้หมดไปจากประเทศไทยได้อย่างถาวรในอนาคต 

สำหรับโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ (Lumpy Skin Disease) : LSD) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในไทย พบเป็นครั้งแรกที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 29มีนาคม 2564 ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรและประชาชนดำเนินมาตรการควบคุมโรค 5 มาตรการสำคัญได้แก่ 


1. ควบคุมการเคลื่อนย้าย 

2. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด 

3. ป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรค 

4. รักษาสัตว์ป่วยตามอาการ 

5. การใช้วัคซีนควบคุมโรค 

ทั้งนี้วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคที่ผ่านมา จำเป็นต้องนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้นำเข้า 5.3 ล้านโด๊ส ใช้งบประมาณสนับสนุนไปกว่า 160 ล้านบาท ส่วนภาคเอกชน สมาคม และกลุ่มเกษตรกรนำเข้ามาอีกประมาณ5 แสนโด๊ส มูลค่าประมาณ 22.5 ล้านบาทซึ่งรวมเป็นมูลค่ากว่า 180 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Joe Biden and Kamala Harris on stage

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่ “แฮร์ริส” พ่ายแพ้

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่นางคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แก่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน

“ทรัมป์” คว้าชัยเด็ดขาด ครองตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัย

โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เหนือคู่แข่งอย่าง คอมมาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต นับเป็นการกลับมาครองตำแหน่งผู้นำสหรัฐอีกครั้ง หลังต้องออกจากทำเนียบขาวไปเมื่อ 4 ปีก่อน

พบศพไวยาวัจกรวัดดังระยองถูกยิงดับพร้อมหญิงสาวในบ้านพัก

พบศพไวยาวัจกรวัดดัง จ.ระยอง ถูกยิงเสียชีวิตในบ้านพัก พร้อมหญิงสาวหน้าตาดี คาดเสียชีวิตมาแล้ว 3 วัน ตำรวจเร่งหาสาเหตุ

พบเด็กหญิงฝาแฝดวัย 9 ขวบ ดวงตาสีฟ้า

พบเด็กหญิงฝาแฝดชาวนครพนม วัย 9 ขวบ มีดวงตาสีฟ้าสดใส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก อาศัยอยู่กับแม่เลี้ยงเดี่ยว แม่เผยลูกมีปัญหาทางการได้ยิน ใช้ชีวิตลำบาก ถูกบลูลี่ แต่ไม่ขอเปิดรับบริจาค เพราะเคยถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง

ข่าวแนะนำ

นำ “ทนายตั้ม-ภรรยา” ฝากขัง เจ้าตัวยกมือไหว้ ปัดตอบทุกประเด็น

กองปราบฯ นำ “ทนายตั้ม-ภรรยา” ฝากขังศาลอาญารัชดา เบื้องต้นท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว ด้านเจ้าตัวยกมือไหว้ ปัดตอบทุกประเด็น

ครูปรีชาทนายตั้ม

“ครูปรีชา” หิ้วกาแฟ-ข้าวผัด เยี่ยม “ทนายตั้ม”

เกือบ 24 ชั่วโมง ที่ตำรวจกองปราบฯ คุมตัว “ทนายตั้ม-ภรรยา” มาสอบปากคำ เบื้องต้นทั้งคู่ยังให้การปฏิเสธ เตรียมส่งตัวฝากขังบ่ายนี้ ส่วนคู่กรณีหวย 30 ล้าน “ครูปรีชา” นำข้าวผัดและกาแฟ เข้าเยี่ยม “ทนายตั้ม” พร้อมยืนยันคำเดิม “ความจริงก็คือความจริง”

นายกฯ เร่งตั้งทีม JTC เจรจา MOU44 คาดชัด 18 พ.ย.นี้

นายกฯ ยันรัฐบาลเร่งตั้งคณะกรรมการ JTC หารือเส้นเขตแดน MOU 44 และพลังงานใต้ทะเล คาด 18 พ.ย.นี้ ชัดเจน “ภูมิธรรม” มั่นใจกัมพูชายึดตามสนธิสัญญาเจนีวา แม้ไม่เข้าร่วม ย้ำมีผลผูกพันทุกประเทศทั่วโลก