สภาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันทรมาน – อุ้มหาย

รัฐสภา 23 ก.พ.-สภาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย ด้วยคะแนน 359 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 1 เสียง และไม่ลงคะแนน 2 เสียง


การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ (23 ก.พ.) มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วซึ่งเป็นการพิจารณาในวาระสอง ตามรายมาตรา ซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวด 34 และบทเฉพาะกาล

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ.วิสามัญฯ เสนอรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีไว้ 2 ฉบับคือ 1.อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนากการบังคับให้หายสาบสูญ และ 2.อนุสัญญาการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย้ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มุ่งป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ให้กระทำผิดกฎหมายเสียเอง ขณะเดียวกันก็มุ่งคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นร่างกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรม ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ


นายชวลิต กล่าวต่อว่า กมธ.ฯ ได้สรุปสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฯบางส่วนดังนี้ 1. มีการเพิ่มบทบัญญัติว่าด้ายการกระทำความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2.กำหนดให้มีการบันทุกภาพและเสียงในการตรวจค้นในคดีอาญา และการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับกุมตรวจค้นในคดีอาญา 3.องค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย มีความครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมาย แพทย์ทางนิติเวชและทางจิตเวชศาสตร์ 4.กระบวนการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหา และ5.ให้คดีตามพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นคดีพิเศษ และกำหนดให้หลายหน่วยงานเข้ามาร่วมสอบสวน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการดำเนินคดี และรวบรวมพยานหลักฐานให้ทันกับสถานการณ์และป้องกันการทำลายพยานหลักฐานสำคัญในคดี

ด้านนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ได้เสนอให้เพิ่มในมาตรา 2/1 คือ เพื่อให้กำหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะปัญหาการอุ้มหาย การซ้อมทรมาน เป็นปัญหาสำคัญและเป็นความท้าทายของประเทศไทย ซึ่งในอดีตมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำไว้ในกฎหมาย เกรงว่าในอนาคตก็จะเกิดขึ้นอีกและจะมีการนำกฎหมายพิเศษมากล่าวอ้าง อีกทั้ง จะเป็นการยกระดับสิทธิมนุษยชนของไทย อีกทั้ง การเสนอแก้ไขมาตราดังกล่าวจะทำให้กฎหมายในอนาคตมีมาตรฐานที่สูงขึ้น และเพื่อให้กฎหมายนี้บังคับใช้ได้จริง เพราะประเทศไทยมีการใช้กำหมายพิเศษตลอดเวลา มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยกฎหมาย ไม่สามารถปกป้องประชาชนได้จริง

ขณะที่ กรรมาธิการเสียงข้างมาก ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขในมาตรา 2/1 เนื่องจาก กฎหมายฉบับนี้เป็นการป้องกันการสูญหายและการซ้อมทรมาน จึงเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรการใช้บังคับเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมาย ซึ่งในการแก้ไขเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ยังไม่ได้กำหนดเนื้อหาไว้ชัดเจน หากมีการวางนโยบายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ อาจจะกระทบกับบทบัญญัติในกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ ฉะนั้น จึงไม่ควรแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ผู้ขอสงวนความเห็นเสนอ ซึ่งที่สุดแล้วที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คงไว้ตามร่างเดิมที่กรรมาธิการเสียงข้างมากเสนอไว้


ขณะที่ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ท้วงติงในมาตรา 13/1 เกี่ยวกับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสรรหา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราให้ฝ่ายบริหารนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งฝ่ายบริหารมีหน้าที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ดังนั้น หากบัญญัติให้ฝ่ายนิติบัญญัติไปเป็นกรรมการสรรหาอยู่ในกฎหมายของฝ่ายบริหาร จะทำให้การถ่วงดุล การตรวจสอบการใช้อำนาจซึ่งกันและกัน บิดเบี้ยวไป โดยมาตรา 184 วรรคท้าย ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่า “ไม่ให้ใช้บังคับกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา รับ หรือ ดำรงตำแหน่งกรรมการ กรรมาธิการของรัฐสภา หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่น ที่เกี่ยวข้องกับกิจการสภา” ซึ่งการตีความจากบทบัญญัตินี้ หมายถึง ไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติให้อำนาจตนเองไว้ในกฎหมายของฝ่ายบริหาร จึงเกรงว่าจะเกิดปัญหาในอนาคต

ด้านนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ประธานกรรมาธิการ ชี้แจงว่า กรรมาธิการได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง โดยเห็นตรงกันว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา หรือรัฐสภา มีหน้าที่คุ้มครองปะชาชน ดังนั้น การที่ออกกฎหมายต้องยึดโยงกับประชาชน ซึ่งในการสรรหาคณะกรรมการต้องอยู่ในภาระหน้าที่ขององค์กรนิติบัญญัติ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คงไว้ตามร่างเดิมที่กรรมาธิการเสนอ

หลังสมาชิกอภิปรายเป็นรายมาตราเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมมติในวาระสาม เห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยคะแนน 359 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง