27 มกราคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้
บทสรุป:
- โรคผื่นแพ้ยารุนแรง(TEN) และอาการสตีเวนส์จอห์นสัน(SJS) เป็นโรคที่ทำให้ผิวหนังหลุดลอกและอันตรายถึงชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการแพ้ยา
- แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรค TEN หรือกลุ่มอาการ SJS หรือไม่
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ผ่านทาง Facebook ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าผู้หญิงชาวนิวยอร์กวัย 49 ปี มีอาการผิวหนังลอกจากอาการแพ้ยารุนแรง หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer มาเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
จากการตรวจสอบของ Myth Detector พบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้หญิงในประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่ใช่ผู้หญิงในนิวยอร์กตามที่กล่าวอ้าง
วารสารการแพทย์ Cereus ฉบับเดือนสิงหาคม 2021 รายงานกรณีที่ผู้หญิงในซาอุดิอาระเบียรายหนึ่ง ต้องถูกส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล จากอาการไข้ขึ้นและอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง หลังจากฉีดวัคซีน Pfizer มาได้หนึ่งสัปดาห์ แพทย์ลงความเห็นว่าเธอป่วยเป็นโรคผื่นแพ้ยารุนแรง (TEN) เนื่องจากเกิดการหลุดลอกของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าถึง 30% ของร่างกาย หลังจากรักษาตัวเป็นเวลา 22 วัน เธอก็หายเป็นปกติ
อย่างไรก็ดี ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรค TEN หรือไม่
โรคผื่นแพ้ยารุนแรง (Toxic epidermal necrolysis หรือ TEN) เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ยาก มีอัตราการพบแค่ 0.4 ถึง 1.9 คนต่อ 1 ล้านคนรอบใน 1 ปี
โรค TEN ยังมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome หรือ SJS) ที่ทำให้ผิวหนังตามร่างกายหลุดลอก โดยกลุ่มอาการ SJS มักจะทำให้เกิดผิวหนังหลุดลอกประมาณ 10% ถึง 30% ของร่างกาย ส่วนโรค TEN จะก่อให้เกิดการหลุดลอกของผิวหนังมากกว่า 30% ของร่างกาย
โอกาสที่การฉีดวัคซีนจะนำไปสู่การป่วยด้วยโรค TEN และกลุ่มอาการ SJS พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่เกิดจากวัคซีนโรคหัด, โรคอีสุกอีใส, โรคบาดทะยัก, โรคแอนแทรกซ์ และไข้หวัดใหญ่
สาเหตุหลักของโรค TEN และกลุ่มอาการ SJS มาจากการแพ้ยา ซึ่งมียากว่า 100 ชนิดที่มีโอกาสนำไปสู่การป่วยด้วยโรค TEN และกลุ่มอาการ SJS โดยเฉพาะยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์หรือ NSAIDs, ยากันชัก และยาปฏิชีวนะ
รวมถึงปัจจัยจากการติดเชื้อและจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส HIV
ข้อมูลอ้างอิง:
http://www.mythdetector.ge/en/node/5035
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter