คาดปี 65 ไทยผลิตกุ้งได้3 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ 4 %

กรุงเทพฯ 13 ธ.ค. – สมาคมกุ้งไทยเผย ปีนี้ไทยผลิตกุ้งได้ 2.8 แสนตัน เพิ่มจากปีที่แล้วเล็กน้อย ส่วนปี 65 จะเพิ่มขึ้นจากปีนี้ร้อยละ 4 พร้อมระบุแนวทางสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมกุ้ง ด้วยการที่รัฐมีแผนส่งเสริมสนับสนุนชัดเจน เร่งแก้ปัญหาโรคได้เบ็ดเสร็จ พัฒนาใช้เทคโนโลยีเลี้ยง เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งสร้างแบรนด์กุ้งไทยให้ไทยเป็นแหล่งผลิตกุ้งที่ดีที่สุดของโลก 


นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของไทยปี 2564 ผ่านทางการประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting) ว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2564 โดยรวมอยู่ที่  280,000  ตัน ส่วนปี 2563 อยู่ที่  270,000 ตัน จึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยคาดว่า ปี 2565 จะผลิตได้  300,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่า จะอยู่ที่ประมาณ 4.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 

สำหรับผลผลิตกุ้งของไทยปีนี้ เป็นผลผลิตกุ้งจากภาคใต้ตอนล่าง ร้อยละ 33 จากภาคใต้ตอนบน ร้อยละ  32  จากภาคตะวันออก ร้อยละ 24  และ จากภาคกลาง ร้อยละ 11 ส่วนการส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. ปีนี้ ปริมาณ 128,758  ตัน มูลค่า 39,251 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ที่ส่งออกปริมาณ 123,297  ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ และมูลค่า ที่ร้อยละ 4 และ ร้อยละ 9  ตามลำดับ แม้ประสบปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ค่าขนส่งราคาสูง และอื่นๆ  


นายปกครอง  เกิดสุข อุปนายกสมาคมกุ้งไทยและที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่กล่าวว่า ผลผลิตกุ้งเสียหายจากโรคตัวแดงดวงขาว โดยเฉพาะที่จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลาพบเชื้ออีเอชพีและโรคขี้ขาว เป็นปัญหาสำคัญต่อการเลี้ยงของเกษตรกรตลอดปี ช่วงครึ่งปีหลัง พบการเสียหายจากโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรลดความหนาแน่นในการเลี้ยงและทยอยการปล่อยกุ้ง เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของโรค และดูสถานการณ์ เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้พักบ่อ ทำความสะอาดบ่อ และจัดการระบบการเลี้ยงภายในฟาร์ม เพื่อเตรียมปล่อยกุ้งใหม่ในช่วงต้นปี 65

นางสาวพัชรินทร์   จินดาพรรณ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยและกรรมการบริหารสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิดส่งผลให้แรงงานขาดแคลน เกษตรกรชะลอการเลี้ยงในช่วงต้นปีเนื่องจากราคาปัจจัยการผลิต และต้นทุนแฝงจากการเสียหายจากโรคส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต 

นายบรรจง  นิสภวาณิชย์  อุปนายกสมาคมกุ้งไทย ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ-ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติกล่าวว่า จากเดิมที่ไทยเป็นอันดับต้นๆ ในด้านการผลิตกุ้ง เพราะมีปัจจัยที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ เรื่องพันธุ์กุ้ง อาหาร และผู้แปรรูปส่งออกที่มีฝีมือ แต่ปัจจุบันตกไปอยู่อันดับ 6 หรือ 7 ซึ่งเกิดจากการไม่มีการวางแผนในการนำสินค้ากุ้งไปสร้างตลาดในต่างประเทศอย่างจริงจัง จึงต้องหันมาร่วมมือกันทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง  บริษัทอาหาร ปัจจัยการผลิต ผู้ส่งออก และภาครัฐให้ “กุ้งไทย” กลับมาสู้กับตลาดโลก เพื่อเป็นผู้ผลิตอันดับต้นๆ ของโลกอีกครั้ง ในนามแหล่งผลิตกุ้งที่ดีที่สุดในโลก “The Best of the best Shrimp in the World” 


นายสมชาย   ฤกษ์โภคี นายกสมาคมกุ้งทะเลไทย และเลขาธิการสมาคมกุ้งไทยเปิดเผยถึง การพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยว่า ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อให้อุตสาหกรรมมีการพัฒนาไปอย่างยั่งยืน โดยผู้เพาะฟักลูกกุ้งต้องผลิตลูกกุ้งคุณภาพดีให้กับผู้เลี้ยง  ผู้เลี้ยงต้องผลิตกุ้งให้ได้คุณภาพ ปริมาณที่เพียงพอ  ผู้ผลิตอาหารต้องผลิตอาหารที่ดี มีต้นทุนที่เหมาะสม ห้องเย็นต้องผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้ากุ้งให้ได้มาตรฐานที่ยอมรับ นอกจากนี้ ภาครัฐจะต้องมีส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม 

นายเอกพจน์  ยอดพินิจ  อุปนายกสมาคมกุ้งไทยกล่าวถึง การพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้งซึ่งต้อมี “7 แนวทาง – 1 ความร่วมมือ-รัฐปรับบทบาท” ได้แก่ 

1) ต้องกำหนดเป้าหมายการผลิตกุ้งในประเทศที่ชัดเจน 

2) มีรูปแบบแนวทางการเลี้ยงที่เหมาะสมกับเกษตรกรทุกกลุ่ม 

3) ปัญหาโรคระบาดได้รับการแก้ไขป้องกันได้เบ็ดเสร็จ 

4) เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน-ภาครัฐและสถาบันการเงิน สนับสนุนดอกเบี้ยพิเศษสำหรับเกษตรกร เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับเกษตรกร มีเงินทุนในการปรับโครงสร้างฟาร์ม และโมเดลการเลี้ยงที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 

5) สร้างช่องทางการขายและความได้เปรียบในการแข่งขันและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก รวมถึงการเจรจา FTA 

6)สร้างระบบมาตรฐานการผลิตตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม 

7) นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 

ส่วน 1 ความร่วมมือนั้นเกษตรกรต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ด้านการเลี้ยง สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดมากขึ้น และที่สำคัญ ภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลง/ปรับบทบาท (Transform) จากการสนับสนุนและบริการซึ่งทำดีมาก และต้องทำต่อไป มาร่วมกันพัฒนาและฟื้นฟูอุตสาหกรรมอย่างจริงจังมากขึ้น 

ทั้งนี้ 30 ปีที่ผ่านมา ภาคเอกชนพยายามอย่างเต็มที่ในการนำพา/พัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศ เพื่ออุตสาหกรรมที่มีมูลค่ากว่าแสนล้าน ถึงวันนี้ภาครัฐต้องมีส่วนในความรับผิดชอบในการพัฒนาฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้งไทยด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชนแล้วหนี! 2 หนุ่มกลัวถูกจับดึงสลักระเบิดดับ

2 หนุ่มชนแล้วหนี โบกรถมาขึ้นสามล้อเครื่อง ตำรวจตามกระชั้นชิด ตัดสินใจดึงสลักระเบิด แต่สะดุดล้มระเบิดตูมสนั่นดับ 1 ส่วนอีกคน ถูกจับโดยละม่อม

“ไบเดน” เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ “ทรัมป์” ถกถ่ายโอนอำนาจ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเปิดห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวหารือนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดี ซึ่งต่างให้คำมั่นการถ่ายโอนอำนาจจะเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม” ชวนลงทุนคล้าย forex เสียหายกว่า 60 ล้าน

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ชักชวนลงทุนในดูไบ คล้าย forex ความเสียหายกว่า 60 ล้านบาท ขณะที่อีกฝ่ายอ้างนำเงินไปลงทุนจริงแต่ขาดทุน

ข่าวแนะนำ

“หนุ่ม กรรชัย” งดเคลียร์ “ฟิล์ม” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด

“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศตัดสัมพันธ์ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด งดเคลียร์ ซัดเป็นคนไร้ศักดิ์ศรี ชี้เรื่องนี้ไม่ต้องเตือน ให้ย้อนไปดูที่บ้านได้สั่งสอนหรือไม่

เริ่มแล้ว ประเพณียี่เป็งหรือลอยกระทงเชียงใหม่

ประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทง จ.เชียงใหม่ ปีนี้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเต็มไปด้วยแสงสีจากแสงไฟที่ประดับไปทั่วเมือง และความงดงามทางวัฒนธรรมมากมาย ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย

“จิราพร” สั่งตรวจสอบปมคลิปเสียงอ้างชื่อ-จ่อแจ้งความเอาผิด

“จิราพร สินธุไพร” ยืนยันไม่รู้จักนักร้องเรียนหญิง ที่แอบอ้างว่าเป็นคณะทำงาน ประสานฝ่ายกฎหมายเร่งตรวจสอบคลิปเสียง เพื่อแจ้งความดำเนินคดี