ผลผลิตกุ้งไทย ปี 66 ทรงตัวที่ 2.8 แสนตัน คาดปีหน้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

กรุงเทพฯ 29 พ.ย.-สมาคมกุ้งไทย ชี้ผลผลิตกุ้งปี 2566 ทรงตัวที่ 2.8 แสนตัน คาดปีหน้าผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยแนวโน้มตลาดสหรัฐอเมริกา ดีขึ้น แนะเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และส่งเสริมตลาดในประเทศ รวมทั้งการแก้ปัญหาโรคกุ้ง


นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตกุ้งของไทยปี 2566 ว่า ปริมาณผลผลิตกุ้งคาดว่าจะได้ประมาณ 280,000 ตัน เท่ากับปีที่แล้ว เป็นผลผลิตกุ้งจากภาคใต้ตอนบน ร้อยละ 33  จากภาคตะวันออก ร้อยละ 25  ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน ร้อยละ 20 จากภาคกลาง ร้อยละ 12  ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย ร้อยละ 10 ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ  5.07 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1 โดยประเทศจีนผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นมากและประเทศเอกวาดอร์ ผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ประเทศในเอเชีย ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ต่างมีผลผลิตกุ้งลดลงทุกประเทศ ส่วนปีหน้า คาดว่า ผลผลิตกุ้งทั่วโลกจะลดลงประมาณ ร้อยละ 2

ส่วนการส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. ปีนี้อยู่ที่ปริมาณ 109,663  ตัน มูลค่า 36,284 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ที่ส่งออกปริมาณ 120,310  ตัน มูลค่า 42,341 ล้านบาท ปริมาณลดลง ร้อยละ 9 ส่วนมูลค่าลดลง ร้อยละ 14 


ทั้งนี้ เกษตรกรจำเป็นต้องปรับตัว ด้วยการลดต้นทุนให้ได้ ทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนแฝง ที่เกิดจากความเสียหายจากโรค เพิ่มผลิตภาพการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงสร้างตลาดภายในให้เข้มแข็ง เพื่อเตรียมรับผลกระทบจากราคากุ้งตกต่ำในปีหน้า โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อกระจายสินค้าที่คงคุณภาพความสดของกุ้งไทยไปถึงผู้บริโภค ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยว คาดการณ์ว่าผลผลิตปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 290,000 ตัน โดยตลาดสหรัฐอเมริกา มีสัญญาณดีขึ้น จากการฟ้องร้องเอดี/ซีวีดีประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ทำให้ผู้นำเข้าเริ่มสั่งกุ้งไทยเข้าไปแทน

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมกุ้งในปี 2567 ล่าสุด พบว่า กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา ได้รับพิจารณาไต่สวน เอดี/ซีวีดี กุ้ง 4 ประเทศ ได้แก่ เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยได้เริ่มกระบวนการไต่สวนเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา และจะประกาศผล 9 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อไทย เนื่องจากผู้นำเข้าจะเกิดความลังเลในการซื้อสินค้าจาก 4 ประเทศนี้ และหากผลสอบชี้ชัดว่า ทั้ง 4 ประเทศ มีการส่งออกกุ้งไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมด้านราคา มีการทุ่มตลาด อาจจะส่งผลให้ทั้ง 4 ประเทศ โดนเรียกเก็บภาษี เอดี/ซีวีดี สูงถึง 10%

นายบรรจง  นิสภวาณิชย์ ที่ปรึกษาสมาคม และประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตที่ทรงตัวในปีนี้ สาเหตุหลักเพราะปัญหาโรคกุ้งยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเด็ดขาด รวมถึงปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิต วัตถุดิบต่างๆ และราคาพลังงานสูงขึ้น เกษตรกรบางรายสามารถปรับตัวโดยพยายามเลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ขึ้นเพื่อหนีราคา แต่บางรายก็ชะลอการลงกุ้ง ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะยังคงเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า เนื่องจากผลผลิตกุ้งยังคงเข้าตลาดอย่างต่อเนื่องในขณะที่สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะเงินเฟ้อ และผู้นำเข้ากุ้งยังมีสต็อกเพียงพอ


นายปกครอง  เกิดสุข อุปนายกสมาคมกุ้งไทย และประธานที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน ว่า ผลผลิตปี 2566 คาดการณ์ว่ามีผลผลิตประมาณ 55,700 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 6 โดยพบการเสียหายจากปัญหาขี้ขาว และสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้เกษตรกรจับกุ้งก่อนกำหนด และช่วงปลายปีที่ฝนตกมาก จะมีปัญหาความเค็ม ทำให้เกษตรกรทยอยจับและพักบ่อ

นางสาวพัชรินทร์   จินดาพรรณ เลขาธิการสมาคมกุ้งไทย และประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจันทบุรี กล่าวว่า ผลผลิตกุ้งปี 2566 ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีประมาณ 69,900 ตัน เท่ากับปีที่ผ่านมา จากปัญหาโรคตัวแรงดวงขาว ขี้ขาว และ หัวเหลือง เกษตรกรต้องจับกุ้งก่อนกำหนด ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ รวมถึงปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง หรือปล่อยกุ้งลดลง ทั้งนี้ที่ฟาร์มของตนเองจะขายกุ้งเฉลี่ย กิโลกรัมละ 150 กว่าบาท โดยหากมีความเสียหายจากการเลี้ยงกุ้ง 20%-40% จะต้องใช้ต้นทุนถึง 150 บาทในการเลี้ยงกุ้ง 1 กิโลกรัม

 ส่วนผลผลิตภาคกลาง มีประมาณ 34,200 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ทำให้เกษตรกรบางส่วนยืดเวลาการเลี้ยงเพื่อให้ได้กุ้งไซส์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนทำให้กุ้งโตช้า และมีความเสียหายจากโรคระบาด

นายพิชญพันธุ์   สลิลปราโมทย์ กรรมการบริหารสมาคม และประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ผลผลิตกุ้งพื้นที่ภาคใต้ตอนบนปี 2566 ประมาณ 93,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4 และ จากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ทำให้เกษตรกรพยายามเลี้ยงกุ้งขาวให้ได้ขนาดใหญ่ เกษตรกรบางส่วนหันไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำเนื่องจากราคาดีทั้งปี

นายปรีชา  สุขเกษม กรรมการสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า  ผลผลิตกุ้งภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย 28,100 ตัน  ลดลงร้อยละ 4 ผู้เลี้ยงประสบปัญหาราคากุ้งตกต่ำ โรคระบาด และสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรลดความหนาแน่นลงเพื่อเลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ ช่วงปลายปีฝนที่ตกหนักส่งผลให้น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีความเค็มต่ำ เกษตรกรทยอยจับกุ้งแล้วพักบ่อเพื่อเตรียมเลี้ยงรอบต่อไปในปีหน้า.-513-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

นายกฯ ปัดตอบ ผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม.

“นายกฯ อิ๊งค์” ไม่ตอบคำถามผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม. บอกพรุ่งนี้ตอบทีเดียว ก่อนแซว “ประเสริฐ” ปรับให้แล้ว เหตุพูดตำแหน่ง “จุลพันธ์” ผิด จาก รมช.คลัง เป็น รมช.มหาดไทย

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]