คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.ฟื้นระบบคมนาคมหลังน้ำลด

หัวลำโพง  4 ก.พ. – กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีจัดทำแผนระยะยาวป้องกันน้ำท่วมทั้งระบบ ทั้งก่อสร้างรถไฟทางคู่ ออกแบบระบบรางใหม่ พร้อมปรับแผนการใช้งบประมาณฟื้นฟูระบบคมนาคมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมให้เหมาะสมมากขึ้น  


สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจร่วมกับภาครัฐและภาคธุรกิจจัดงานมหกรรม “ฟื้นฟูใต้  คนละไม้คนละมือ” เพื่อระดมเงินบริจาคและสิ่งของไปฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้  และภายในงานยังมีการเสวนาหัวข้อ “การฟื้นฟูระบบคมนาคม ขนส่ง หลังน้ำลดในภาคใต้ และแนวทางป้องกันผลกระทบจากอุทกภัยต่อระบบขนส่งในอนาคต”  โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  กล่าวว่า ประเมินมูลค่าความเสียหายทางถนนและรถไฟจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ 6,500 ล้านบาท โดยปรับแผนการใช้งบประมาณการฟื้นฟูระบบคมนาคม  แบ่งเป็นความเสียหายรุนแรงและเร่งด่วนในส่วนของรางรถไฟ จะนำงบประมาณฉุกเฉินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 600 ล้านบาท

ส่วนความเสียหายอื่นเจรจากับสำนักงบประมาณและคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อขอใช้งบประมาณกลางปี 2560 จำนวน 1,300 ล้านบาท ฟื้นฟูความเสียหาย  เช่น การตัดถนนทางเลียบเมืองชายทะเล และการจัดทำแผนที่จุดเสี่ยงน้ำท่วม โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเร็ว ๆ นี้ คาดแผนดังกล่าวจะเริ่มชัดเจนภายใน 6  เดือน


นายอาคม  กล่าวว่า  ในอนาคตกระทรวงคมนาคมจะจัดทำแผนระยะยาวป้องกันน้ำท่วมทั้งระบบ ครอบคลุมการดูแลระบบน้ำและเส้นทางการคมนาคม ซึ่งเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางประจวบ – ชุมพรในรูปแบบทางยกระดับพ้นน้ำ  เพื่อไม่ให้กระทบการขนส่งสินค้าหากเกิดน้ำท่วมขึ้นอีก  พร้อมออกแบบเส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี – หาดใหญ่  ข้ามแม่น้ำแบบไร้ตอม่อสะพาน  เพื่อไม่ให้ขวางทางน้ำไหล นอกจากนี้ ยังเตรียมแผนการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่สนามบินภาคใต้ หลังจากสนามบินนครศรีธรรมราชถูกน้ำท่วม โดยใช้งบประมาณ 400 ล้านบาทจัดทำแผนป้องกันน้ำท่วมรอบสนามบิน

ส่วนกรณีกรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ระบุถึงค่าออกแบบก่อสร้างโครงการรถไฟไทย  – จีน เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา  มีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท สูงเกินจริง และยังใช้อำนาจตามมาตรา 44  อนุญาตให้ฝ่ายจีนเป็นผู้ดำเนินการออกแบบนั้น  ขอยืนยันว่ามูลค่าการศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวไม่ถึง  10,000 ล้านบาท  และวิศวกรจีนสามารถออกแบบได้  โดยแบ่งปันข้อมูลระหว่างวิศวกรไทยและจีน   และไม่มีการล็อคสเปควัสดุก่อสร้างในโครงการ  เนื่องจากรัฐบาลไทยและจีนหารือกันหลายครั้งตลอด 1 ปีที่ผ่านมา  และลงรายละเอียดการใช้วัสดุที่ผลิตในไทย  สำหรับแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางแรก กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ยังเป็นกำหนดการเดิมภายในเดือนมีนาคมนี้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชน 3 แม่ลูกเสียชีวิต เข้ามอบตัว

สาวขับรถหรู ชน 3 แม่ลูกเสียชีวิตที่ชุมพร เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว อ้างยืมรถเพื่อนมาขับ ศาลให้ประกันตัววงเงิน 1 แสนบาท

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งระดมช่วยน้ำท่วมใต้-เร่งเยียวยา

นายกฯ สั่งระดมช่วยเหลือน้ำท่วมใต้-เร่งมาตรการเยียวยา เผย ครม.เห็นชอบ 39 โครงการฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย เชียงใหม่-เชียงราย 641 ล้านบาท

เตรียมรื้อถอนคานถล่ม ถ.พระราม 2-กู้ร่างผู้สูญหาย

ช่วงบ่ายนี้ (29 พ.ย.) จนท.กรมทางหลวง สภาวิศวกรรมสถาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมนำรถเครนรื้อถอนเหล็กถักที่ถล่มบน ถ.พระราม 2 โดย ปภ.สมุทรสาคร ไม่มั่นใจว่าการดำเนินการจะจบภายในวันเสาร์-อาทิตย์นี้หรือไม่

คานถล่มพระราม2

ตร.ทางหลวง แนะเลี่ยงถนนพระราม 2 หลังการจราจรเข้าขั้นวิกฤต

ตำรวจทางหลวง เผยการจราจรถนนพระราม 2 เข้าขั้นวิกฤต แนะเส้นทางเลี่ยงทั้งขาเข้าและขาออกกรุงเทพมหานคร ยังไม่ชัดเปิดการจราจรได้ตามปกติเมื่อใด

คานถล่มพระราม2

“สุริยะ” สั่งผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง ถ.พระราม 2 ตัดสิทธิรับงาน 2 ปี

“สุริยะ” รมว.คมนาคม เผยเย็นวันนี้เตรียมกลับไปตรวจสอบสาเหตุคานเหล็กก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถล่ม สั่งการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง รวมทั้งตัดสิทธิรับงาน 2 ปี และขอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการลดชั้นผู้รับเหมา เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ