จัดสัมมนา บทบาทและหน้าที่ สนช.ภายใต้ รธน.ฉบับใหม่

750สวนสนประดิพัทธ์ 11 ก.พ.-รองประธาน สนช. ระบุ หลัง รธน.ใหม่บังคับใช้  สนช.ต้องแนบรายงานผลการวิเคราะห์และรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาร่างกฎหมาย ตามที่ ม.77 ใน รธน.ใหม่กำหนด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดโครงการสัมมนาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2560 ที่สถานพักฟื้นและพักผ่อนกองทัพบก สวนสนประดิพัทธ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. กล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ สนช.ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า สนช.เกิดขึ้นจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 โดยรับผิดชอบงานตรากฎหมาย ซึ่งเป็นงานสำคัญในการวางรากฐานให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะช่วงที่อยู่ระหว่างการปฏิรูปประเทศในการนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตย ประกอบกับรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ มีบทเฉพาะกาลให้ สนช.อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเกิดขึ้น จึงหมายความว่า หลังจากรัฐธรรมนูญใหม่บังคับใช้ สนช.ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปภายใต้กฎเกณฑ์รัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ใช้บังคับในขณะนี้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการสัมมนาในวันนี้ เพื่อให้สมาชิก สนช.ได้รับทราบข้อปฏิบัติใหม่ รวมทั้งบทบาท อำนาจ และหน้าที่ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อเตรียมตัวต่อไป

นายสุรชัย กล่าวอีกว่า สมาชิก สนช.ต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภาใหม่ครั้งแรก โดยทำหน้าที่ถึงวันก่อนที่จะมีประชุมรัฐสภาหนึ่งวัน รัฐธรรมนูญใหม่มีกฎกติกาใหม่เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ซึ่งหลายคนรับทราบแล้ว และบางคนก็กังวลว่าจะปฏิบัติตนได้ถูกต้องหรือไม่ ยืนยันว่า ไม่ต้องกังวล เนื่องจากคณะกรรมาธิการรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการจัดทำรัฐธรรมนูญของ สนช.พยายามจัดทำเอกสารคู่มือ เพื่อเป็นตัวช่วยสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตน และจะแจกจ่ายให้กับสมาชิก ทั้งนี้ ภายใต้บทบาทในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ยังมีภารกิจเช่นเดิม ในการบัญญัติกฎหมาย การให้ความเห็นชอบสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การตรวจสอบรัฐบาล ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานราชการต่าง ๆ การให้ความเห็นชอบบุคคลในการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ยกเว้นการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งที่ในรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้กำหนดหน้าที่นี้ไว้


754นายสุรชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับภารกิจในการบัญญัติกฎหมายทุกระดับ มีกติกาใหม่ที่เกิดขึ้น ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่บัญญัติว่า รัฐพึงตรากฎหมายเท่าที่จำเป็น ซึ่งหมายความว่า รัฐธรรมนูญวางไว้เพื่อจำกัดไม่ให้ปริมาณของกฎหมายมีมากจนเกินไป และให้คำนึงถึงสภาพของสังคมด้วย ขณะเดียวกัน มาตรา 77 ยังกำหนดให้เป็นนโยบายว่า รัฐต้องไปพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตของประชาชน ดังนั้นฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต้องทำหน้าที่ตามแนวทางรัฐธรรมนูญใหม่

นายสรุชัย กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในวรรค 2 ของมาตรา 77 เขียนแนวทางการบัญญัติกฎหมายอย่างละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งไม่เคยปรากฎในกฎหมายมาก่อน คือ หลักเกณฑ์ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และในการตรากฎหมายต้องจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายฉบับนั้น ๆ โดยวิเคราะห์อย่างรอบด้านและทุกระบบ และนำไปเปิดเผยต่อประชาชน โดยผลการวิเคราะห์ต้องนำมาประกอบในการพิจารณากฎหมายทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ยังต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้กฎหมายด้วย แต่ก็เกิดคำถามว่า ใครจะเป็นผู้มีหน้าที่ประเมินผล ตนจึงคิดว่า เป็นหน้าที่ของ สนช.ที่ทำให้เกิดความชัดเจน ขณะเดียวกัน ยังมีคำถามว่า สนช.จะต้องอยู่ภายใต้มาตรา 77 นี้ด้วยหรือไม่ ในความเห็นตน เมื่อไม่มีบทเฉพาะกาลเขียนว่า สนช.ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรานี้ ดังนั้น สนช.จึงต้องทำหน้าที่ตามมาตรา 77 ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติทันที อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือสมาชิกและกรรมาธิการแต่ละคณะช่วยกันพิจารณากฎหมายต่าง ๆ ให้เสร็จโดยเร็ว และสรุปรายงานให้เสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ ทั้งนี้ หลังจากรัฐธรรมนูญใหม่บังคับใช้ สมาชิก สนช.จะต้องแนบรายงานผลการวิเคราะห์และรายงานการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับนี้ด้วย และสมาชิกต้องตรวจสอบกระบวนการการรับฟังความเห็นว่าเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ รวมถึงต้องศึกษาการวิเคราะห์จากรายงานผลการวิเคราะห์อีกครั้งด้วย

“สนช.ได้รับมอบหมายในการพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 10 ฉบับที่ต้องแล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง โดย สนช.มีหน้าที่พิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างแต่ละฉบับ ซึ่ง 60 วันนี้นับรวมถึงวันทำงานของระบบธุรการ ดังนั้น สมาชิกจึงต้องไปพูดคุยกันว่า เมื่อร่างถูกส่งมาแล้ว ควรกำหนดเวลาการทำงานในชั้นกรรมาธิการได้กี่วัน เชื่อว่า 45 วันก็ยังไม่พอ และไม่สามารถขยายเวลาได้ด้วย แม้ว่าแต่ละฉบับ จะมีเวลาพิจารณา 60 วัน แต่คาดว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ทยอยส่งมาทีละฉบับ แต่จะส่งมาพร้อมกันหลายฉบับ เพราะหากส่งมาทีละฉบับ กรอบเวลาในการพิจารณา 10 ฉบับ ก็จะเป็น 600 วัน หากเป็นลักษณะนี้ ก็จะเป็นข่าวว่าขยับโรดแมปเลือกตั้งอีก ดังนั้น จึงขอให้สมาชิกเตรียมรับมือกับการทำงาน เพราะนอกจากกฎหมายลูกแล้ว ยังมีกฎหมายที่ต้องออกตามรัฐธรรมนูญด้วย อาทิ กฎหมายว่าด้วยแผนและวิธีการปฏิรูป และ พ.ร.บ.ว่าด้วยขั้นตอนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเตรียมส่งให้ สนช. รวมแล้วกว่า 100 ฉบับ” นายสุรชัย กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

เบื้องหลังล่าจ่าเอ็ม

เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา

“บิ๊กจ๋อ” เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา ชี้ คลาดกันแบบหายใจรดต้นคอ ก่อนประสานตำรวจกัมพูชารวบตัว เผย ผู้ต้องหาร้องขอเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย หวั่น ถูกประชาทัณฑ์

งานวันเด็ก

วันเด็กทั่วไทยคึกคัก สร้างความสุขและรอยยิ้ม

ผู้ใหญ่ใจดี ทั้งภาครัฐ เอกชน หลายหน่วยงานทั่วประเทศ จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ร่วมสนุก สร้างรอยยิ้มเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568

ดับไฟป่าดงพญาเย็น

ระดมกำลังดับไฟป่า ป่าสงวนแห่งชาติ “เขาลอย” ต่อเนื่อง

กรมป่าไม้ – กรมอุทยานฯ – อบต. พญาเย็น ระดมกำลังดับไฟป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ “เขาลอย” ต่อเนื่อง โดยปฏิบัติการทั้งทางภาคพื้นและใช้ ฮ. ทิ้งน้ำดับไฟ