4 มิถุนายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- แม้สถิติการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดจะมากกว่าวัคซีนโควิด 19 แต่บริเวณเกิดลิ่มเลือดอุดตันแตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณขาในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT)
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 มักจะพบที่หลอดเลือดดำในสมอง (CVT)
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีการแชร์ความเห็นบนโลกออนไลน์ว่า ผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อความที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์รวมกันกว่า 5 หมื่นครั้ง ตามการประเมินของเว็บไซต์ CrowdTangle
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 16 เมษายา 2021 ระบุว่า โอกาสการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดของผู้รับวัคซีน AstraZeneca ในสหราชอาณาจักร อยู่ที่ 1 คน ต่อ 250,000 คน ส่วนอัตราการเกิดกับผู้รับวัคซีน AstraZeneca ในสหภาพยุโรปอยู่ที่ 1 คน ต่อ 100,000 คน ส่วนโอกาสการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันของผู้รับวัคซีน Johnson & Johnson อยู่ที่ 1 คน ต่อ 925,000 คน
เหตุผลที่ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) จากวัคซีนโควิด 19 ไม่เป็นที่รับรู้ก่อนหน้านี้ เพราะไม่พบอาการดังกล่าวในอาสาสมัคร 8,000 ถึง 40,000 คนที่ร่วมในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนโควิด 19 การจะรู้ได้ว่าวัคซีนมีโอกาสก่อให้เกิดลิ่มเลือด บริษัท AstraZeneca จะต้องทดลองวัคซีนกับอาสาสมัครอย่างน้อย 200,000 ถึง 500,000 คน ส่วน Johnson & Johnson ต้องใช้อาสาสมัครจำนวน 1.8 ล้านคนในการทดลองวัคซีน ซึ่งเป็นไปได้ยาก
สำหรับสตรีที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด จะมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 1 ต่อ 1,000 คน ซึ่งสูงกว่าหญิงสาวที่ไม่ใช้ยาคุมกำเนิดถึง 4 เท่า
อย่างไรก็ดี การเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดและวัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง เนื่องจากปัจจัยทั้งสองนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในบริเวณที่แตกต่างกัน
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิด ส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณขาหรือที่เรียกว่าภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) ส่วนภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่จะพบบริเวณสมองหรือที่เรียกว่าภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (CVT)
นอกจากนี้ ประชากรผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดคือกลุ่มหญิงสาวในวัยเจริญพันธุ์ ต่างจากวัคซีนโควิด 19 ที่ฉีดให้กับคนทุกเพศและหลากหลายกลุ่มอายุ ดังนั้นโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันระหว่างยาเม็ดคุมกำเนิดและวัคซีนโควิด 19 จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
ข้อมูลอ้างอิง:
https://healthfeedback.org/claimreview/oral-contraceptives-are-a-bigger-risk-factor-for-blood-clot-formation-than-the-astrazeneca-and-johnson-johnson-covid-19-vaccines/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter