กรุงเทพฯ 5 พ.ค. – บสย.เผยผลดำเนินงาน 4 เดือนแรกปี 63 ยอดค้ำฯ กว่า 5 หมื่นล้านบาท เกินเป้าทั้งยอดค้ำ
– SMEs
ใหม่ เตรียม PGS9 วงเงิน 200,000 ล้านบาท ช่วย SMEs สู้ COVID–19
นายรักษ์
วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
(บสย.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงาน บสย. 4 เดือนแรกปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.)
ขยายตัวทั้งยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ จำนวนลูกค้า SMEs รายใหม่
และการอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) โดยมียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ
52,194 ล้านบาท
ลูกค้า SMEs รายใหม่ 60,644 ราย และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ
75,389 ฉบับ (LG) ในจำนวนนี้เป็น LG
จากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur ระยะที่ 3 ในสัดส่วน 79%
ทั้งนี้
เป็นผลจากการดำเนินการมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs 3
มาตรการ ได้แก่ 1.มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” สำหรับลูกค้า SMEs ที่ต้องการสินเชื่อใหม่
บสย. ยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ 2 ปี
และค้ำประกันสินเชื่อวงเงินสูงสุด 30 ล้านบาทต่อราย 2.มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ ระยะเวลา 12 เดือน สำหรับลูกค้าเดิม บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID–19 อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม
และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่ถึงกำหนดระยะเวลาค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2563 3.มาตรการขยายระยะเวลาการค้ำประกันโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS5–7 ซึ่ง บสย.
ได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อออกไปอีก 5 ปี
และฟรีค่าธรรมเนียม
นายรักษ์
กล่าวว่า ทั้ง 3 มาตรการดังกล่าว
มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและผลักดันให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs
ด้วยความมั่นใจ โดยเฉพาะการค้ำประกันสินเชื่อผ่านโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8 (PGS8) เดือน ม.ค.-เม.ย.
คิดเป็นยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ
43,591 ล้านบาท
ด้านการค้ำประกัน |
ผลดำเนินงานการค้ำประกันสินเชื่อ มกราคม-เมษายน 2563 |
||
ผลดำเนินงาน |
เป้าหมาย |
เพิ่ม |
|
จำนวนเงินอนุมัติค้ำประกัน |
52,194 |
31,650 |
+20,544 |
จำนวน LG อนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ |
75,389 |
36,770 |
+38,619 |
จำนวนลูกค้ารายใหม่ |
60,644 |
29,170 |
+31,474 |
สำหรับแผนงานและการดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ
SMEs ไตรมาส 2
บสย. ได้เตรียมโครงการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs
เพิ่มเติมอีก 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio
Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 9 วงเงิน 200,000 ล้านบาท
2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur ระยะที่ 4 วงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ร่วมกันฝ่าวิกฤติ
COVID-19
ให้เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้นรวมทั้งการสร้างระบบหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย.-สำนักข่าวไทย