fbpx

สายการบินขอถกคลังมาตรการเยียวยาพรุ่งนี้

กรุงเทพฯ 19 เม.ย. – สายการบินในประเทศตบเท้าขอพบ รมว.คลังพรุ่งนี้  ร้องจัดหา soft Loan จ่ายเงินเดือน หลังจากร่วมมือรัฐไม่ปลดพนักงาน 30,000-50,000 คน พร้อมขอให้รัฐสร้างความชัดเจนเปิดบินเดือน พ.ค. ด้าน กพท.ระบุกรณีไทยไลอ้อนแอร์เลิกจ้างพนักงานใหม่ 120 คน เป็นการบริหารจัดการภายใน 



นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยถึงปัญหาที่สายการบินในประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ว่า ผลกระทบดังกล่าวทำให้สายการบินต้องหยุดทำการบินทั้งเส้นทางในประเทศและต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว โดยวันพรุ่งนี้ (20 เม.ย.) ผู้ประกอบการสายการบินจะขอเข้าพบนายอุตตม  สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อติดตามมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา 8 สายการบินในประเทศได้ทำหนังสือขอให้ภาครัฐช่วยจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือ soft loan เพื่อนำเงินกู้นี้ไปจ่ายเงินเดือนพนักงาน และวันที่ 22 เมษายนนี้ สายการบินทั้ง 8 แห่งจะประชุมหารือร่วมกัน เพื่อออกแถลงการณ์มาตรการที่จะปฏิบัติต่อไปในอนาคต


“ขณะนี้สายการบินทุกแห่งพยายามต่อสู้และดำเนินการตามที่ภาครัฐขอความช่วยเหลือ คือ ขอให้ไม่มีการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งอุตสาหกรรมการบินทั้งหมดประมาณ 30,000-50,000 คน สายการบินหวังว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือหาแหล่งเงินกู้ ทำให้การจ่ายเงินเดือนพนักงานในช่วงที่ต้องหยุดวันนี้การบินสามารถทำตามเป้าหมายและอยู่รอดได้” นายธรรศพลฐ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นที่ผู้ประกอบการสายการบินอยากให้ภาครัฐรีบสร้างความชัดเจนเรื่องทำการบินเดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งจะต้องมีความชัดเจนภายใน 1 สัปดาห์ข้างหน้า เพราะหลายสายการบินรวมถึงไทยแอร์เอเชียมีแผนจะทำการบินเส้นทางในประเทศบางเส้นทาง 1 พฤษภาคมนี้  สถานการณ์ปัจจุบันยอมรับว่าการที่หลายจังหวัดท่องเที่ยวยังมีการล็อคดาวน์ห้ามเดินทางเข้าจังหวัด การบินไปยังจังหวัดเหล่านี้  แต่นักท่องเที่ยวไม่สามารถออกจากสนามบินไปท่องเที่ยวได้  ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ที่จะทำการบินไป  ซึ่งภาครัฐต้องมีความชัดเจนเรื่องขั้นตอนการปฏิบัติและประกาศออกมาด่วน ผู้ประกอบการสายการบินจะได้ใช้ตัดสินใจได้ 

ทั้งนี้ นายธรรศพลฐ์ยังกล่าวถึงการที่ผู้ประกอบการสายการบินในประเทศต้องการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวมกว่า 24,000 -25,000 ล้านบาทว่าภาครัฐเตรียมออก พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1.9 ล้านล้านบาท  ซึ่งขั้นตอนของการออก พ.ร.ก.ฯ นั้น เห็นว่าต้องทำเร่งด่วน จะใช้ขั้นตอนตามกฎหมายปกติไม่ได้ เพราะความเสียหายที่เกิดจากโควิด-19 ไม่ได้เป็นปัญหาปกติที่เคยเกิดขึ้น หากการเยียวยาล่าช้าความเสียหายก็จะเพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งนี้ ยังมั่นใจว่าการจัดหาแหล่งเงินกู้นั้น เครดิตของประเทศไทยยังอยู่ในฐานะที่ดี เพดานหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ แหล่งเงินกู้จากต่างประเทศที่ขณะนี้มีสภาพคล่องเหลืออยู่  ขณะเดียวกันเงินทุนสำรองฯ ระหว่างประเทศของไทยก็ยังมีเหลือเพียงพอ โดยภาครัฐสามารถใช้มาตรการกู้เงินของตนเอง เพื่อนำเงินเหล่านี้ออกมากู้วิกฤติก็ยังทำได้


“ผลกระทบที่ผู้ประกอบการรายใหญ่จนถึงรายย่อยได้รับจากวิกฤติโควิด-19  มีทุกภาคส่วน อย่างธุรกิจสายการบินนี่ก็เช่นเดียวกัน  จำเป็นต้องเร่งฟื้นตัวโดยเร็ว เพราะจะเป็นด่านแรกช่วยนำนักท่องเที่ยวและทำให้การท่องเที่ยวเกิดเงินหมุนเวียนสะพัดไปยังธุรกิจต่อเนื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด หากผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ สุดท้ายการเดินทางเข้าจากต่างประเทศ และการเดินทางระหว่างจังหวัด ก็ไม่มีคนทำมูลค่าความเสียหายต่อการท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่ ก็จะเป็นเรื่องที่แก้ยาก” นายธรรศพลฐ์ กล่าว

ส่วนประเด็นมีรายงานข่าวสายการบินไทยไลออนแอร์เลิกจ้างพนักงานนั้น ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากฝ่ายบริหารไทยไลออนแอร์ ยอมรับว่ามีการเลิกจ้างพนักงานจริง แต่เป็นพนักงานที่มีอายุงานไม่ถึง 1 ปี ประมาณ 120 ราย โดยไม่ใช่การเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด และสายการบินจะมีการชดเชยให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างตามกฎหมาย  โดยอาจต้องใช้วิธีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาชดเชยให้กับพนักงานโดยยอมรับว่าผลกระทบดังกล่าวมาจากการที่สายการบินต้องหยุดบินจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อรายได้บริษัท  

อย่างไรก็ตาม สายการบินไทยไลอ้อนแอร์เตรียมแผนลดรายจ่าย โดยให้พนักงานหยุดงานไม่รับเงินเดือนและลาออกจากงานโดยสมัครใจ คาดว่าจะมีผลประมาณ 1 พฤษภาคมนี้ โดยจะมีการประเมินจำนวนพนักงานอีกครั้งปลายเดือนนี้ ขณะเดียวกันเตรียมแผนคืนเครื่องบิน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 34 ลำ ออกไปบางส่วน เพื่อลดรายจ่าย รวมทั้งเตรียมแผนการกลับมาทำการบินเส้นทางในประเทศบางเส้นทางในเดือนพฤษภาคมนี้ และจะทยอยเปิดบินเส้นทางระหว่างประเทศบางเส้นทางต่อไปด้วย

ด้านนายจุฬา สุขมานพ  ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางการบิน แม้ว่าล่าสุดสายการบินที่ให้บริการในประเทศกว่า 8 สายการบินได้แสดงความต้องการที่จะให้ภาครัฐ  โดยกระทรวงการคลังหาแหล่งเงินกู้รวมกว่า 25,000 ล้านบาท เพื่อมาพยุงสถานะทางการเงินก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีสายการบินใดที่แสดงเจตจำนงแจ้งมายัง กพท. ว่าจะปิดกิจการ นอกจากการแจ้งขอหยุดทำการบินชั่วคราวเท่านั้น

ส่วนกรณีที่มีสายการบินในประเทศบางสายการบินได้มีการปลดพนักงาน เนื่องจากประสบปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 นั้น ถือเป็นการบริหารภายในของแต่ละสายการบินไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งหรือรายงาน กพท. นอกจากกรณีต้องมีการปิดบริการ เปิดบริการ หรือหยุดทำการบิน เท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย