แหล่งเอราวัณ แหล่งปิโตรเลียมประวัติศาสตร์กลางอ่าวไทย

6 มี.ค.-วันนี้จะพาไปดูแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ กลางทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียมประวัติศาสตร์เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา


เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” รมว.พลังงาน นั่งเฮลิคอปเตอร์จากนครศรีธรรมราช ใช้เวลา ราว 40 นาที จากชายฝั่งไปแท่นผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล กลุ่มเอราวัณ ระยะทาง 157 กม.


  กลุ่มเอราวัณนับเป็นแหล่งปิโตรเลียมประวัติศาสตร์ของชาติไทย ผลิตมานานเกือบ 40 ปีแล้วเป็นแหล่งแรกของประเทศ และเป็นที่มา วลีเด็ด“โชติช่วงชัชวาล“ ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์  เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)ในโอกาสเป็นประธานในการหมุนเปิดวาล์วส่งท่อก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก ในวันที่ 12 กันยายน 2524 ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการพึ่งพาพลังงานด้วยตัวเองของคนไทย ทำให้เกิดการลงทุนมากมายทั้งการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า การตั้งโรงแยกก๊าซฯ การนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การเกิดขึ้นของโรงงานต่างๆในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มูลค่าค่าภาคหลวงไม่รวมภาษีต่างๆ เกิดจากเอราวัณถึงแสนล้านบาทเลยทีเดียว 

การเดินทางไปดูแท่นดังกล่าวของรัฐมนตรีพลังงานครั้งนี้ จึงใช้แท่นเอราวัณแหล่งประวัติศาสตร์ ประกาศเดินหน้าการเปิดให้เอกชนยื่นสิทธิ์ ประมูลแหล่งปิโตรเลียมรอบใหม่ รอบที่ 23 หลังจากไทยไม่ได้เปิดมายาวนานถึง 13 ปี โดยเปิด 3 แปลงในอ่าวไทย เดือนเมษายนนี้พร้อมๆ กับประกาศจะเดินหน้าเจรจากับกัมพูชา เพื่อพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมทับซ้อนซึ่งเป็นเรื่องคาราคาซังกันมานานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศ เพื่อเป็นการเปิดตัว “โชติช่วงชัชวาลระยะที่2” เพื่อให้มีก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง เพื่อเศรษฐกิจระยะยาวของลูกหลาน


ด้านเชฟรอนฯ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการแหล่งเอราวัณ และเป็นนักลงทุนสัญชาติอเมริกัน รวมทั้งเป็นผู้ที่ถือหุ้นในส่วนพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาฝั่งไทยก็ประกาศ สนับสนุนรัฐบาลให้เดินหน้าเรื่องนี้ 

“ไพโรจน์ กวียานันท์”ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ยังเล่าให้ฟัง สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยด้วยว่า การขุดสำรวจในอ่าวไทย นับเป็นครูของการผลิตและสำรวจทั่วโลกเลยทีเดียว โดยเฉพาะการผลิตเชลล์ก๊าซในสหรัฐก็นำความรู้จากอ่าวไทยนี่แหละไปใช้พัฒนา เพราะสภาพธรณีวิทยาของไทยแหล่งก๊าซเป็นกระเปาะเล็กกระเปาะน้อย หายาก อุณหภูมิสูงต้องใช้อุปกรณ์ที่ทนความร้อน ทำให้เชฟรอนต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในเมืองไทยโดยเฉพาะไม่สามารถใช้จากแหล่งอื่นๆทั่วโลกได้  แท่นเอราวัณ ก็เปรียบเสมือนเป็นห้องเรียนขุดเจาะผลิตสำรวจปิโตรเลียมที่หายากของโลกเลยทีเดียว และเฉลี่ยแต่ละปีกลุ่มเอราวัณรักษากำลังผลิตต้องขุดเจาะกว่า 300 หลุมลงทุนปีละเกือบ 2 หมื่น.ล้านบาท และไทยยังเป็นต้นแบบในการรียูส (re-use)แท่นผลิต ตัดด้านบนแท่นบนหลุมที่ก๊าซถูกดูดจนแห้งแล้ว เอาใช้ต่อ ลดต้นทุนได้ถึงครึ่งหนึ่งจากการก่อสร้าง แต่ละแท่นราว 600 ล้านบาท ส่วนขาแท่นในทะเลที่ไม่ใช่แล้วก็นำไปเป็นปะการังเทียมเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรทางทะเลต่อไป.

-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง