fbpx

ผุดโมเดลต้นแบบรีไซเคิลซากรถยนต์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพฯ 10 ก.พ.-กระทรวงอุตสาหกรรม-กนอ.-เนโดะ  จับมือจัดทำโครงการสาธิตการรีไซเคิลซากรถยนต์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีจากโตโยต้า ทูโช คอร์ปอเรชั่น เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบในไทยและภูมิภาคเอเชียในอนาคต
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า  เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงอุตสาหกรรม กนอ.และองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เนโดะ) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU)สร้างโมเดลสาธิตโรงงานการรีไซเคิลซากรถยนต์สำหรับประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียในอนาคต หรือ โครงการสาธิตสำหรับการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนที่คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการรีไซเคิลทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับซากยานพาหนะที่หมดอายุใช้งานในประเทศไทย (The Demonstration Project for an En ergy-Saving Resource Circulation System to Establish Efficient and Suitable Resource Recycling for End -of-life Vehicles in Thailand หรือ  ELV) เพื่อสร้างระบบหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจากซากรถยนต์ที่ใช้แล้วในประเทศไทย โดยการนำเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นมาสาธิตในการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม  
โครงการ ELV จะดำเนินการระหว่างปี 2562- มีนาคม 2564 โดยทางเนโดะจะมอบให้บริษัท โตโยต้า ทูโช คอร์ปอเรชั่น (Toyota Tsusho Corporation) เป็นผู้ดำเนินการโครงการหลักที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีภายในโรงงานสาธิตของ บริษัท กรีน เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 3 จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกิจการคัดแยกขยะและรีไซเคิลโลหะโดยการตัด บด ย่อยเศษโลหะ และวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตรายทุกประเภท ซึ่งโครงการสาธิตนี้จะทดลองเฉพาะเศษซากรถยนต์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในไทยเท่านั้น โครงการสาธิตนี้ นอกจากจะสาธิตการถอดรื้อซากรถยนต์ไปพร้อมๆกับการรวบรวมสารฟรีออน น้ำมันและของเหลวเหลือทิ้งซึ่งใช้วิธีการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสามารถตรวจสอบประวัติย้อนหลังได้แล้ว จะมีการสาธิตเครื่องตัดรถยนต์  (Cutting Machine) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถอดรื้อซากรถยนต์ด้วยจากการที่สามารถดึงเอาสิ่งมีค่ากลับคืนมาได้อย่างมีประสิทธิภาพจากซากรถยนต์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถจัดการกับวัสดุเหลือทิ้งได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้ภายในกรอบความร่วมมือ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กนอ.พร้อมให้คำแนะนำและจะสนับสนุนในด้านต่างๆให้กับ     เนโดะและบริษัทฝ่ายญี่ปุ่นรวมถึงนิติบุคคลท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ เช่น การอำนวยความสะดวกในการเข้าสำรวจสถานที่ การบริหารจัดการโครงการ พร้อมทั้งจะร่วมมือกันในการวางมาตรการออกแบบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดการวัสดุเหลือทิ้งที่ไม่สามารถกำจัดได้ภายในประเทศไทย อาทิ สารเร่งปฏิกิริยา แผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยการวางมาตรการดังกล่าวจะอ้างอิงจากกฎหมายรีไซเคิลรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น
“ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียน แต่ยังไม่มีระบบการจัดการซากรถยนต์อย่างเป็นระบบเช่นที่ประเทศญี่ปุ่น การรื้อถอนซากชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์จะใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการรื้อถอนซากรถยนต์เหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปนเปื้อนในดินจากน้ำมันและสารเคมีเหลว ปัญหาคุณภาพน้ำ หรือการปล่อยสารฟรีออนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน”
สำหรับการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อการบริหารจัดการด้านทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ กนอ. มีแผนงานการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศตามหลักการนิเวศอุตสาหกรรม หรือ Industrial Ecology ที่คำนึงถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยมุงเน้นการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำแนวคิดการนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล (3Rs) และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) มาประยุกต์ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. -สำนักข่าวไทยa


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ร่างศึกษา พ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภา 26 ก.ย.นี้

“นิกร” เผยร่างศึกษา พ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภา 26 ก.ย.นี้ ชง ครม. เป็นเจ้าภาพ ยกร่าง-เคาะปม ม.112 จะรวมหรือไม่ หวั่นคําวินิจฉัยศาลฟันก้าวไกล พ่นพิษ