fbpx

รณรงค์ยุติความรุนแรงเด็ก-สตรี

พม. 25 พ.ย. –  รมว.พม. ปล่อยขบวนเดินรณรงค์ ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และความรุนแรงทุกรูปแบบ พร้อมประกาศkick off ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรง หวังรณรงค์ยุติความรุนแรงไปทั่วประเทศ พบจากการรณรงค์ต่อเนื่อง การแจ้งเบาะแสความรุนแรงลดลง


พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  เปิดกิจกรรมเดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรีบุคคลในครอบครัว และความรุนแรงในทุกรูปแบบ พร้อมทำพิธีปล่อยขบวนรณรงค์ยุติความรุนแรง ที่ ลานประชาบดี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีทั้งหมด4 เส้นทาง เริ่มจากเส้นทางที่ 1 ลานประชาบดีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถึง ลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร เส้นทางที่ 2 จากสำนักงานองค์การสหประชาชาติ UN ถึงลานคนเมือง เส้นทางที่ 3 จากโรงแรมรัตนโกสินทร์ถึงลานคนเมือง เส้นทางที่ 4 จากถนนข้าวสารถึงลานคนเมือง เพื่อสร้างกระแสสังคมให้เกิดความตระหนักต่อปัญหาและนำไปสู่การรวมพลังของทุกภาคส่วนในการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัวและความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบภายใต้แนวคิด He for She ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนความคิด ยุติความรุนแรง มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,300 คน ทั้งทหาร ตำรวจ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภาคีเครือข่าย องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม นักเรียน นักศึกษา ดารา ศิลปินและประชาชนทั่วไป 


พร้อมประกาศ Kick Off การรณรงค์ยุติความรุนแรงไปทั่วประเทศ รวมทั้ง ได้มอบริบบิ้นขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์ยุติความรุนแรงแสดงออกถึงการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรง ให้แก่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครและกองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ยุติความรุนแรง นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมมินิคอนเสิร์ต แสดงทัศนคติของดาราศิลปินเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงต่อเด็กสตรีบุคคลในครอบครัวและความรุนแรงทุกรูปแบบ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในทุกรูปแบบ นับเป็นปัญหาสำคัญ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ปัญหาดังกล่าวปรากฏให้เห็นมาเป็นเวลานานและพบมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี หากสังคมส่วนรวมยังขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเสี่ยงสูง ไม่ได้รับการปกป้องหรือรู้เท่าทันปัญหาเท่าที่ควร หรือไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี รัฐบาลจึงตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรี และบุคคลในครอบครัวทุกปี โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัวเป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐ ในการประสานการดำเนินงานดังกล่าวกับภาคีภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างกระแสให้สังคม เกิดความตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหา ร่วมเป็นหนึ่งเสียงในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรีและบุคคลในครอบครัวอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และพบว่าจากการรณรงค์ต่อเนื่องทุกปี สถิติการแจ้งเบาะแสเข้ามายัง พม.มีจำนวนลดลง.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย