ประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซปีนี้แล้ว

มะนิลา 26 ก.ค.- มูลนิธิรางวัลรามอน แมกไซไซของฟิลิปปินส์ประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลประจำปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 60 แล้ว ประกอบด้วยชาวกัมพูชา ชาวติมอร์-เลสเต ชาวฟิลิปปินส์ ชาวเวียดนาม และชาวอินเดีย 2 คน 


นายยุค ชาง ชาวกัมพูชาวัย 57 ปี ได้รับรางวัลในฐานะผู้อนุรักษ์ความทรงจำประวัติศาสตร์เพื่อการเยียวยาและความเป็นธรรม จากการอุทิศตนเป็นหัวหน้าศูนย์เอกสารกัมพูชามากว่า 2 ทศวรรษเพื่อตรวจสอบเรื่องความโหดร้ายในสมัยเขมรแดงเรืองอำนาจ นางมาเรีย เดอ ลูร์เดส มาร์ติน ครูซ ชาวติมอร์-เลสเตวัย 56 ปี ได้รับรางวัลในฐานะผู้ถักทอสังคมแห่งความห่วงใย จากการก่อตั้งสถาบันช่วยเหลือคนยากจนในประเทศ นายฮาเวิร์ด ดี ชาวฟิลิปปินส์วัย 87 ปี ได้รับรางวัลในฐานะผู้เชิดชูสันติภาพ ความยุติธรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการทิ้งธุรกิจหันมาช่วยเหลือคนยากจนด้วยการพยายามสร้างสันติภาพกับกลุ่มกองโจรคอมมิวนิสต์และกลุ่มแยกดินแดนมุสลิม 

นางโว ธิ ฮวง เย็น ผู้ป่วยโปลิโอเวียดนามวัย 52 ปี ได้รับรางวัลในฐานะผู้ทวงคืนโอกาสให้แก่ผู้มีความแตกต่างทางร่างกาย จากการช่วยเหลือผู้พิการในเวียดนาม นายภารัต พัตวานี จิตแพทย์อินเดียวัย 60 ปี ได้รับรางวัลในฐานะผู้กอบกู้สุขภาพและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้มีปัญหาในชีวิต จากการตั้งมูลนิธิช่วยเหลือคนจรจัดที่มีปัญหาสุขภาพจิต และนายโซนาม วังชุก ชาวอินเดียวัย 51 ปี ได้รับรางวัลในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ วัฒนธรรมและการศึกษาเพื่อความก้าวหน้าของชุมชน จากการส่งเสริมระบบการศึกษาทางเลือกในลาดักห์ บ้านเกิดบนเทือกเขาหิมาลัย


รางวัลแมกไซไซเปรียบเหมือนรางวัลโนเบลของเอเชีย ตั้งขึ้นตามชื่อประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซของฟิลิปปินส์ที่ถึงแก่อสัญกรรมจากเหตุเครื่องบินตก เพื่อเชิดชูบุคคลและนิติบุคคลในเอเชียใน 6 สาขาประกอบด้วยสาขาบริการรัฐกิจ สาขาบริการสาธารณะ สาขาผู้นำชุมชน สาขาวารสารศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ สาขาสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ และสาขาผู้นำในภาวะฉุกเฉิน.-สำนกข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

วัดอรุณฯ เนืองแน่น นักท่องเที่ยวแห่ร่วมงานลอยกระทง

นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติแน่นวัดอรุณฯ ร่วมงานประเพณีลอยกระทง 2567 “ลอยกระทง วิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” มีน้องหมูเด้ง Thai Cuteness นำนักท่องเที่ยวแต่งชุดไทยสืบสานคุณค่าวัฒนธรรม นางสาวไทย(ดินสอสี) ชวนรำวงลอยกระทง 6 ภาษา ผลักดันเทศกาลไทยสู่ World Event หมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

“เจ๊พัช” ขอโทษรัฐมนตรีน้ำ ยืนยันไม่รู้จักส่วนตัว

“กฤษอนงค์” โพสต์ขออภัยรัฐมนตรีน้ำและคุณพ่อ ปมคลิปเสียงแอบอ้าง พร้อมขอน้อมรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียว แจงเป็นการสนทนาแนวทางส่งเสริมอาชีพเท่านั้น

“จิราพร” มอบทนายนำคลิปเข้าแจ้งจับนักร้องเรียนหญิงอ้างชื่อรีดทรัพย์

ทนายความ “รมต.” นำคลิปเข้าแจ้งจับนักร้องเรียนหญิง อ้างชื่อเรียกรับเงินกลุ่ม “ดิไอคอน” ยืนยันไม่เคยรู้จักกัน

ข่าวแนะนำ

ซูเปอร์มูน

ทั่วโลกแห่ชมซูเปอร์มูนครั้งสุดท้ายของปีนี้

เมื่อคืนที่ผ่านมาผู้คนทั่วโลกมีโอกาสได้ชมดวงจันทร์ที่เรียกว่าซูเปอร์มูนซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้

หารือสีจิ้นผิง

นายกฯ หารือ “สี จิ้นผิง” ขยายความร่วมมือการค้า-ลงทุน

นายกรัฐมนตรี หารือ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนสองประเทศ พร้อมอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากปักกิ่งประดิษฐานท้องสนามหลวง