โฆษก ตร.ยันสำนวนฟ้องของ สน.ดินแดง รัดกุม

โฆษก ตร.ยันสำนวนฟ้องของ สน.ดินแดง รัดกุม

กทม.24ก.ค.- รอง โฆษก ตร.ระบุ ยังมีอีก 2 ศาลให้ต่อสู้คดี ยันตำรวจทำสำนวนรัดกุม แต่เพื่อคลายข้อกังขาสังคม จึงเรียกตรวจสำนวนอีกครั้ง


พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ เปิดเผยกรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่าผู้อื่น เมื่อเดือนเมษายน 2559 และเป็นเหตุให้บิดาผู้ตายเกิดความเครียด กระโดดอาคารศาลอาญา ถนนรัชดาฯ เสียชีวิต ว่าในชั้นพนักงานสอบสวน มีการสอบสวนและตรวจสอบสำนวนอย่างครบถ้วน เนื่องจากการดำเนินคดีในความผิดฐาน ร่วมกันฆ่าผู้อื่นซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 – 20 ปี เมื่อพนักงานสอบสวน สอบสวนและสรุปสำนวนมีความเห็น“ควรสั่งฟ้อง หรือควรสั่งไม่ฟ้อง”นั้นจะเสนอผู้บังคับบัญชาตามระดับชั้นเพื่อพิจารณาสั่งการ ซึ่งการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ยึดตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่กำหนดไว้ถือได้ว่าในชั้นพนักงานสอบสวนมีการตรวจสอบความถูกต้อง  รัดกุม เรียบร้อย ของสำนวน สำหรับคดีดังกล่าวศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้อง เหตุผลโดยสรุป คือ ประจักษ์พยานที่อ้างว่าเห็นเหตุการณ์และให้การไว้ในชั้นสอบสวน ไม่อาจมาเบิกความในชั้นศาลได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการรักษาอาการป่วยทางจิตที่โรงพยาบาล จึงต้องรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนที่นำส่งในชั้นศาลประกอบพยานหลักฐานอื่น แต่พยานหลักฐานอื่นยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้ เช่น ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดพบว่าช่วงเกิดเหตุเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีผู้คนเป็นจำนวนมาก ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ปรากฏในชั้นศาล เห็นเพียงเหตุการณ์ปากทางเข้าซอยที่เกิดเหตุ แต่ไม่สามารถบันทึกภาพจุดเกิดเหตุไว้ได้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จึงมีคำพิพากษายกฟ้องประเด็นที่สังคมมองว่าพนักงานสอบสวนทำสำนวนอ่อนนั้น ต้องขอเรียนว่า คดีดังกล่าวพนักงานอัยการเป็นโจทก์แทนผู้เสียหาย โดยพนักงานอัยการเป็นผู้ร่างฟ้องและอาศัยพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนประกอบสำนวนคดี ซึ่งต่อมาประจักษ์พยาน ไม่ได้มาแถลงต่อศาลด้วยมีอาการทางจิต รักษาตัวที่โรงพยาบาลและพยานอื่นๆมีน้ำหนักไม่เพียงพอเป็นเหตุให้ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นสำนวนอ่อนแต่อย่างไร เพราะพนักงานสอบสวน ดำเนินการตามพยานหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุอยู่แล้ว ซึ่งเห็นได้ว่าพนักงานอัยการก็มีความเห็นควรสั่งฟ้องตามพนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตามเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง พนักงานอัยการในฐานะฝ่ายโจทก์ ก็ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อสู้ตามกฎหมายได้จนถึงศาลฎีกา ซึ่งขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมก็ยังไม่เสร็จสิ้นแต่อย่างใด


รอง โฆษก ตร. กล่าวต่ออีกว่า เพื่อป้องกันความสับสนของสังคม ในประเด็นที่ว่าสำนวนในชั้นพนักงานสอบสวนอ่อนนั้น เรียนว่าหากสำนวนในชั้นพนักงานสอบสวนอ่อนจริง ชั้นพนักงานอัยการก็คงสั่งไม่ฟ้องและคงไม่ถึงชั้นพิจารณาของศาล อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสามารถตอบคำถามสังคมได้ พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผบช.น. ได้เรียกตรวจสอบสำนวนคดีดังกล่าว ว่าการสอบสวนมีความรอบคอบ รัดกุม เพียงใด หรือมีข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไรแล้ว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง