วธ.จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ 25 ก.ค.

วธ.20 ก.ค.-25 ก.ค.นี้ วธ.จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ (29ก.ค.) ประจำปี 2561มอบรางวัลบุคคล-องค์กร ผู้ใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่นดีเด่น อาทิ ‘สาธิต กรีกุล’ ผู้ประกาศข่าวกีฬา ได้รับรางวัลใช้ภาษาไทยดีเด่น ‘ว.วชิรเมธี-ไมค์ ภิรมย์พร- ออฟ-ปองศักดิ์-นิว-จิ๋ว’ รางวัลเพชรในเพลง’ ขณะที่ปีนี้สถานทูต 13 ประเทศร่วมทำคลิปรณรงค์การใช้ภาษาไทย 


วันนี้ (20 ก.ค.) ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2561 โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม  


นายวีระ กล่าวว่า วธ.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ประจำปี 2561 โดยปีนี้จัดกิจกรรมวันที่ 25 กรกฎาคม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย และเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรม ซึ่งพระองค์ทรงร่วมอภิปรายปัญหาการใช้ภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 และต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”รวมทั้งเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้านภาษาและวรรณกรรม รวมถึงส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน   


นายวีระ กล่าวต่อว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2561 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และกรมศิลปากร (ศก.) ได้คัดเลือกบุคคลและองค์กร เพื่อรับเข็ม โล่เชิดชูเกียรติและรับมอบรางวัล ในวันที่ 25 กรกฎาคม ดังนี้ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2 คน ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 9 คน ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 7 คน และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทยประเภทบุคคล 1 คน และประเภทองค์กร 2 องค์กร ส่วนศิลปิน ผู้ได้รับรางวัลเพชรในเพลง 23 รางวัล 

สำหรับรายชื่อผู้ได้รับรางวัล มีดังนี้ 

รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2 คน ได้แก่ 1.รศ.ประจักษ์ สายแสง และ 2.ศ.วิภา กงกะนันทน์ 

รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น รวม 9 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ นักเขียน และสื่อมวลชน 5 คน และชาวต่างชาติ 4 คน ได้แก่ 1.นายกรกันต์ สุทธิโกเศศ 2.ผศ.พิสิทธิ์ กอบบุญ 3.นายสาธิต กรีกุล 4.นายเสน่ห์ วงษ์กำแหง 5.น.ส.อำไพ สังข์สุข 6.นายคะซุฮิโกะ บันโนะ 7. นายอดัม แบรดชอว์ 8.นายฮาราลด์  ลิงค์ และ9.นายทูกสบิลกุน ทู เมอคุเล็ก   

รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 7 คน ได้แก่ 1.นายจุมพล ทองตัน  2.นายชูชาติ ใจแก้ว  3.นายบุญทิพย์ สุริยะจันทร์  4.ร.ต.ต.ปรีชา สุขจันทร์ 5.นายศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว 6.นายสมจิต ทองบ่อ และ7.นายสุนทร คำยอด 

สำหรับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย 

ประเภทบุคคล 1 คน ได้แก่ พระเทพสุธรรมญาน (แฉล้ม เขมปญฺโญ) และประเภทองค์กร 2 องค์กร ได้แก่ 1.สถาบันปัญญ์สุข 2.ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย จ.ลพบุรี 

นอกจากนี้รางวัลการประกวดเพชรในเพลง 23 รางวัล ได้แก่ 

1.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรอปฏิหาริย์ ผู้ขับร้อง นายปองศักดิ์ รัตนพงษ์ (อ๊อฟ ปองศักดิ์) 

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงลบนาทีที่มีเธอ ผู้ขับร้อง นางสาวนภัสสร ภูธรใจ (นิว) และนางสาวปิยนุช เสือจงพรู (จิ๋ว) 

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงบุญผลา ผู้ขับร้องนายพรภิรมย์ พินทะปะกัง (ไมค์ ภิรมย์พร) 

และประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทองดำ ผู้ขับร้อง น.ส.พลอยชมพู ลอมเศรษฐี (ปะแป้ง พลอยชมพู)

2.รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงวันสุดท้ายของพ่อ ผู้ประพันธ์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจเต็มดวง ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา

3.รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลง ได้แก่ นายบูรพา อารัมภีร 

4.รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษครูเพลงผู้ประพันธ์เพลงอมตะ ได้แก่ ศ.เกียรติคุณนายแพทย์วราวุธ สุมาวงศ์ (ครูวราห์ วรเวช) 

5.รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่ นางสุคนธ์ พรพิรุณ (ครูพรพิรุณ) 

และ6.รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ขับร้องเพลงอมตะ ได้แก่ นางดวงจันทร์ ไพโรจน์ (วงจันทร์ ไพโรจน์) 

รมว.วัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า ในปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่วธ.ได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสถานทูตประจำประเทศไทย โดยเชิญชวนเอกอัครราชทูต และผู้แทนสถานทูตแต่ละประเทศถ่ายคลิปวีดีโอรณรงค์การใช้ภาษาไทย   ซึ่งปีนี้มีสถานทูต 13 ประเทศร่วมกิจกรรม ได้แก่ มองโกเลีย มาเลเซียมอลตา เบลเยียม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลี ญี่ปุ่น คาซัคสถาน จีนปานามา โปแลนด์ญี่ปุ่น และอาร์เจนตินา เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญเสริมสร้างความสัมพันธ์เกียรติภูมิและภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อนำความเป็นไทยสู่สากล และจะมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานทูตที่ร่วมกิจกรรมด้วย 

นอกจากนี้กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือหายาก ได้แก่ โคลงโลกนิติจำแลง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และโคลงนิติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร แจกในวันที่ 25 ก.ค.ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยด้วย .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง