17 พ.ค.นี้ ศธ.นำร่อง 77 โรงเรียน Public School

ศธ.14 มี.ค.-ก.ศึกษาฯ เตรียมเปิด Public School 77 เเห่งทั่วประเทศ 17 พ.ค.นี้ ให้อิสระโรงเรียนบริหารจัดการตนเอง


นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบพับบลิคสคูล (Public School) เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งโรงเรียน Public School ที่ให้อิสระโรงเรียนในการบริหารจัดการทั้งด้านบุคลากรและหลักสูตร  ว่า การจัดตั้งโรงเรียนรูปแบบดังกล่าวจะเริ่มใช้ในวันเปิดเทอมเเรกปีการศึกษา 2561 หรือวันที่ 17 พ.ค.นี้ โดยวางเป้าหมายนำร่องในโรงเรียน 77 เเห่งใน77จังหวัดทั่วประเทศโดยโรงเรียนที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนำร่อง จะเป็นกลุ่มโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีศักยภาพแต่ยังมีการบริหารจัดการได้ไม่ดี ซึ่งจะไม่ทำในโรงเรียนดัง เช่น รร.เตรียมอุดมศึกษา หรือ รร.สวนกุหลาบ เเละจะทำได้ในทุกระดับชั้นทั้งโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออาชีวศึกษา 


นพ.อุดม กล่าวต่อว่า Public School จะมีการตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่มาจาก 4 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน เอกชนและมหาวิทยาลัย โดยจะให้อำนาจภาคประชาชนเป็นประธานโรงเรียนเท่านั้น ขณะที่ภาคเอกชน จะเข้ามาทำงานในส่วนของการอำนวยความสะดวกในการศึกษา เช่น การพาเด็กเข้าไปเรียนรู้การทำงานในโรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่รัฐไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ได้ โดยเอกชนจะต้องเข้ามาเพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาด้วย ไม่ใช่เข้ามาผลประโยชน์ 


ขณะเดียวกัน มีอำนาจในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนได้เอง ประมาณร้อยละ 30-35 ส่วนอีกร้อยละ 65-70 ยังต้องเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการออกแบบการเรียนของตัวเอง อาจจะเป็นในรูปแบบการเรียนนอกห้องเรียน การศึกษาดูงาน หรือเข้าไปฝึกงาน ส่วนการวัดผล กระทรวงจะต้องมาปรับการวัดผลประเมินผลให้เหมาะสมกับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้วย

รมช.ศึกษาฯ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนโรงเรียนรัฐครั้งนี้ คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกโรงเรียนของประเทศไทย ไม่ใช่แค่เฉพาะโรงเรียนนำร่องเท่านั้น คล้ายมหาวิทยาลัย เนื่องจากเห็นว่าโครงการของ ศธ.ที่ต้องดูแลโรงเรียนในสังกัดกว่า 37,000 โรงนั้น ใหญ่ และเทอะทะเกินไป นอกจากนี้ ยังไม่ใช่การกระจายอำนาจลงไปในท้องถิ่นอย่างแท้จริงเพราะ Public School ครั้งนี้ ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในพื้นที่เป็นหลัก เพิ่มการเข้าถึงการศึกษาและคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และต้องการลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหากวดวิชา โดยยืนยันว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมจะไม่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง และแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบการจัดการหลากหลาย ไม่จำกัดแค่แนวทางใดแนวทางหนึ่ง 

ทั้งนี้ ในวันที่ 21 มีนาคม 2561 นี้ จะมีการประชุมอีกครั้ง เพื่อสรุปจำนวนโรงเรียนที่จะเข้าร่วมว่ามีที่ใดบ้าง และสามารถทำได้อย่างไร เพื่อให้ทันต่อกรอบเวลาที่วางไว้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อดีตครูจำใจสร้างห้องขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา

สลด! อดีตครูวัย 64 ปี จำใจจ้างช่างทำห้องคล้ายกรงขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา-พนันออนไลน์ หลังส่งตัวบำบัดกว่า 10 ครั้ง แต่ออกมาก็เหมือนเดิม

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2 โชคดีบาดเจ็บเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ส่งรักษาตัวที่ รพ.เจ้าพระยา

อาม่าแจ้งความ “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธีสูญ 60 ล้าน

อาม่าวัย 77 ปี โร่แจ้งความเอาผิด “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธี-แนะซื้อวัตถุมงคลแล้วไม่ได้รับของ สูญเงินกว่า 60 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เรือใบอิตาลีที่สวยงามที่สุดในโลกเดินทางถึงภูเก็ตแล้ว

ภูเก็ตคึกคัก เรือใบอิตาลีที่ขึ้นชื่อว่างดงามที่สุดลำหนึ่งของโลก ออกเดินทางมาแล้วรอบโลก ได้เข้าจอดเทียบท่าจังหวัดภูเก็ต โดยมีทัพเรือภาคที่ 3 ให้การต้อนรับทหารเรืออิตาลีกว่า 150 นาย อย่างอบอุ่นพร้อมเปิดให้ประชาชนขึ้นชมเรือฟรีได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (6 พ.ย.)

พระเปย์สีกา ช่องโหว่ผลประโยชน์ในดงขมิ้น

รองเจ้าอาวาสวัดชื่อดังแห่งหนึ่งในมหาสารคาม ขอลาสิกขากลางดึก หลังถูกแฉ เป็นพระปลัดใจป๋า เปย์สีกาไม่อั้น ขณะที่รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สั่งตรวจสอบว่า เป็นเงินส่วนตัว หรือ เงินวัด เพราะจะมีความผิดแตกต่างกัน

“สันธนะ” เปิดใจหลังเคลียร์ใจ “ชูวิทย์” กลับไทยขึ้นศาล

“สันธนะ” เผย นอนคิดมา 1 คืนเริ่มใจอ่อนรับคำขอโทษ “ชูวิทย์” รับรู้ถึงความจริงใจ แต่คดีอาญาถอนฟ้องไม่ได้ ต้องปล่อยไปตามกฎหมาย