คาดยอดใช้น้ำมันปีนี้โตร้อยละ 2

กรุงเทพฯ  22 ก.พ. – กรมธุรกิจพลังงานคาดเศรษฐกิจโตการใช้น้ำมันขยายตัวประมาณร้อยละ 2 ส่วนราคาน้ำมันดิบคาดจะทรงตัวกับปีที่แล้ว


นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มีความเห็นเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบแตกต่างกับ บมจ.ปตท.ที่ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 60-65 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล โดยนายวิฑูรย์มองว่าราคาปีนี้น่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ 57.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากแม้กลุ่มโอเปกและนอกโอเปกจะร่วมมือลดราคาน้ำมันแต่สหรัฐจะเพิ่มกำลังผลิตจากแหล่งหินดินดานหรือเชลล์ออยล์ จึงเป็นส่วนกดดันราคา เมื่อราคาน้ำมันยังทรงตัวบวกกับเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น จึงคาดว่าการใช้น้ำมันของไทยจะยังโตขึ้นร้อยละ 2 ในปีนี้ โดยการใช้ดีเซลจะอยู่ที่ 64.3 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 กลุ่มเบนเซินมีการใช้ 30.4 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 การใช้น้ำมันเครื่องบินคาดจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 อยู่ที่ 13.01 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับการใช้แอลพีจีภาคขนส่งจะลดลง แต่ภาพรวมทุกภาคแล้วจะเพิ่มขึ้นร้อยละ  3.1 หรือ 17.5 ล้านกิโลกลัม/วัน เอ็นจีวีจะลดลงร้อยละ 8.4 หรือ 6.2 ล้านกิโลกรัม/วัน

“จากที่หลายฝ่ายคาดการท่องเที่ยวของไทยและเศรษฐกิจโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ราคาน้ำมันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงคาดว่าการใช้น้ำมันเครื่องบิน การใช้น้ำมันของประเทศโดยรวมยังโต ส่วนการใช้ก๊าซในรถยนต์ก็จะลดลง” นายวิฑูรย์ กล่าว 


สำหรับนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันพลังงานทดแทนปีนี้จะเป็นอย่างไร ขณะนี้กำลังรอการปรับแผนหลัก 5 แผนของกระทรวงพลังงาน โดยจะต้องดูถึงเรื่องราคาน้ำมัน ทิศทางราคาเอทานอลทั้งในและต่างประเทศ ราคาปาล์ม วัตถุดิบและผลิตภันฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น มันสำปะหลัง กากน้ำตาล เพราะหากส่งเสริมการใช้เอทานอลมากเกินไปแล้วกำลังผลิตจะเพียงพอหรือไม่ โดยหากราคาโมลาสหรือมันในต่างประเทศสูงขึ้น ก็อาจจะมีการส่งออกการผลิตเอทานอลในประเทศก็อาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งกำลังผลิตเอทานอลทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 5.89 ล้านลิตร แต่มีการผลิตจริงปี 2560 ที่ 4.0 ล้านลิตร 

ส่วนการใช้ไบโอดีเซล บี 100 หากปีนี้มีการใช้บี 7 ตลอดทั้งปี ก็จะมีการใช้บี 100ที่ 4.5 ล้านลิตร/วัน สูงกว่าปีที่แล้วที่ 3.8 ล้านลิตร/วัน อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพลังงานกำลังศึกษาการใช้ส่วนผสมในไบโอดีเซลเพื่อเพิ่มให้ใช้บี 10 ได้ แม้จะมีอากาศหนาวเย็น เพราะจะช่วยลดการแข็งตัวในอากาศเย็น หากดำเนินการได้คาดว่าจะเป็นที่ยอมรับของค่ายรถยนต์ เพราะขณะนี้ค่ายรถยนต์ยืนยันขอใช้เพียงบี 7 เท่านั้น  

ทั้งนี้ ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันของปี 2560 เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559  โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินเฉลี่ยอยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำมันกลุ่มเบนซินเกือบทุกชนิดยกเว้นน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 โดยน้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 8.2 และแก๊สโซฮอล์ 91 มีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 10.6 ล้านลิตร/วัน  คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 4.4 สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 28.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นร้อยละ 4.2 โดยแก๊สโซฮอล์อี 85 มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เนื่องจากปัจจุบันมีรถยนต์ผลิตใหม่ที่รองรับแก๊สโซฮอล์ อี 85 เข้าสู่ท้องตลาดมากขึ้น รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ 11.9 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เนื่องมาจากราคาขายปลีกที่ปรับตัวใกล้เคียงกันกับแก๊สโซฮอล์ 91 ทำให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ในขณะเดียวกันแก๊สโซฮอล์อี 20 มีการใช้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 


การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี7) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 62.2 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 แม้ว่าราคาขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2559 แต่ปริมาณการใช้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก) ซึ่งเดือน มี.ค. 2560 เป็นเดือนที่มีการใช้สูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 67.2 ล้านลิตร/วัน มีปัจจัยหลักมาจากการขนส่งและการเร่งทำงานให้แล้วเสร็จ ก่อนเตรียมตัวหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ และเดือน ต.ค. 60 มียอดการใช้ต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 56.9 ล้านลิตร/วัน โดยมีปัจจัยหลักมาจากช่วงฤดูฝนและเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง ส.ค. – พ.ย. ส่งผลให้การขนส่งสินค้าในประเทศชะลอตัว

การใช้แอลพีจีเฉลี่ยต่อวันของปี 2560 อยู่ที่ 17.0 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ทุกภาคยกเว้นภาคขนส่ง ที่มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 10.0 สำหรับการใช้ในภาคอื่น ๆ มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้น โดยภาคปิโตรเคมีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดอยู่ที่ 5.7 ล้าน กก./วัน    คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 รองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 และภาคครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.9 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.1 

การใช้เอ็นจีวีของปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.8 ล้าน กก./วัน ลดลงจากปีก่อน  คิดเป็นร้อยละ 12.1 โดยการใช้ เอ็นจีวีลดลงเป็นผลต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปี 2559 ทำให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา และส่งผลให้มีสถานีบริการเอ็นจีวีทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรถยนต์จดทะเบียนใหม่ประเภทเชื้อเพลิงเอ็นจีวีลดลงร้อยละ 4.7 (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก)

สำหรับการนำเข้าส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศของปี 2560 มีปริมาณนำเข้ารวมเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการนำเข้านำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 907 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็น 52,157 ล้านบาท/เดือน สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 67 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.6 และมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 4,289 ล้านบาท/เดือน โดยพบว่ามีการนำเข้าเบนซินพื้นฐาน และแอลพีจีเพิ่มขึ้น ในขณะที่ดีเซลพื้นฐาน เตา และอากาศยานลดลง สำหรับการนำเข้า แอลพีจีมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 54 ล้าน กก./เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 เนื่องจากช่วงเดือน พ.ค. – ก.ค. 2560 มีโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซที่หยุดซ่อมบำรุงจึงกระทบต่อการผลิตแอลพีจี สำหรับการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เฉลี่ยอยู่ที่ 200 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 13.6 โดยพบว่ามีการส่งออก เบนซิน ดีเซลพื้นฐาน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันเตา และแอลพีจีในปริมาณที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปี 2560 มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในประเทศ 6 โรงกลั่น รวมจำนวนวันทั้งหมด 232 วัน และโรงแยกก๊าซ 81 วัน แต่พบว่ามีจำนวนวันสำหรับปิดซ่อมบำรุงน้อยกว่าปี 2559 ที่มีจำนวนวันปิดซ่อมบำรุงรวม 321 วัน จึงส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปประเภท ดีเซลพื้นฐาน เตา และ อากาศยานลดลง ขณะที่การนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐานมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจาก โรงกลั่นยังคงมีข้อจำกัดในการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 2 ซึ่งนำไปใช้ในการผสมเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และ อี 85 ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮฮล์ประเภทดังกล่าวปริมาณการใช้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

เปิดปมสังหารยกครัว 4 ศพ แค้นชู้สาว

เปิดปมเหตุสลดฆ่ายกครัว 3 ศพ ก่อนผู้ก่อเหตุยิงตัวเองเป็นศพที่ 4 ใน จ.สมุทรปราการ พบข้อมูลว่าความแค้นครั้งนี้มาจากเรื่องชู้สาว แต่ลูกชายของผู้ตายยังไม่เชื่อว่าแม่มีความสัมพันธ์กับมือปืน แต่ยอมรับมือปืนให้เงินแม่ใช้ทุกวัน

ศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” ชี้พฤติการณ์ร้ายเเรง

ทนายเผยศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” เพราะพฤติการณ์ร้ายเเรง เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งประกัน ด้าน “แม่สามารถ” วอนผู้มีอำนาจอย่าเอาความลูกชายตน ลั่นหลังจากนี้จะสู้เพื่อความยุติธรรม