สำนักข่าวไทย 30 ธ.ค.-ชัวร์ก่อนแชร์ สรุปประมวลกลอุบายที่มักทำให้คนไทยหลงเชื่อข้อมูลเท็จบนโซเชียล ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.-สำนักข่าวไทย
บทสรุป : ตรวจสอบข้อมูลให้ชัวร์ ก่อนแชร์
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สรุปเรื่องที่แชร์ลงโซเชียลพบว่าเป็นเรื่องเก่า มั่ว แชร์วนไป แยกกลอุบายที่ทำให้คนเสียรู้บนโซเชียลได้ดังนี้
เขียนยาวๆ – ไม่ควรหลงเชื่อข้อความยาวๆ แยกผลดี-ผลเสีย, ประโยชน์-โทษ
ทำเว็บน่าเชื่อถือ – เว็บที่มีหน้าตาสวยงาม เนื้อหาอาจไม่จริง อาทิ เว็บขายยาปลอม ที่มีการแอบอ้างยา+หมอ โดยไม่เป็นความจริง
ข่าวน่าตกใจ, แปลกๆ – คนจะให้ความสนใจมาก นอกจากไม่เป็นความจริง คนทำยังได้เงินจากทุกคลิกที่มีคนกดเข้าไปอ่าน ส่วนคนที่พลาดกดไลค์ แชร์ ส่งต่อ อาจกลายเป็นเครื่องมือของอาชญากร ควรยึดหลัก “อย่าคลิก อย่าแชร์ อย่าสนใจ”
แจกของฟรี – นำคำว่า “ฟรี” มาล่อ ทำให้มีการกดติดตาม สร้างฐานสมาชิกให้คนร้าย จากนั้นคนร้ายจะเปลี่ยนชื่อบัญชีขายของเพื่อสร้างรายได้
ที่อันตรายคืออาจหลอกให้ส่งข้อมูลส่วนตัว และเสียเงินฟรี
วนเรื่องเก่า เรื่องมั่ว – นำเรื่องไม่จริงมาเล่า, แชร์ใหม่
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter