“ภูมิธรรม” ส่งกำลังพล​-สิ่ง​ของช่วยแผ่นดินไหวเมียนมา

บน.6.30 มี.ค.- “ภูมิธรรม” ส่งกำลังพล​-สิ่ง​ของช่วยด้านมนุษยธรรม​ ค้นหา-ช่วยคนไทย-กู้ภัยแผ่นดินไหวเมียนมา


นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีส่งกำลังพลจากกองทัพไทยเดินทางไปช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนประเทศเมียนมา ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่สำคัญ​ได้แก่ เมืองมัณฑะเลย์ เนปิดอว์ และย่างกุ้ง​ โดยมี พลเอกณัฐพล​ นาควานิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม​ พลอากาศเอกพันธ์ภักดี​ พัฒนกุล​ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลเอกมนัส​ จันดี​ เสนาธิการกองบัญชาการกองทัพไทยเข้าร่วม​ โดยพันเอกขจรศักดิ์ พูลลโพธิ์ทอง​ รองผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ​ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจด้านมนุษยธรรมของประเทศไทย และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีมายาวนาน

นายภูมิธรรม กล่าวกับกำลังพล ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง และขอชื่นชมกำลังพลของกองทัพทันทีที่เกิดเหตุ ก็ได้ส่งกำลังเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ โดยได้ส่งกำลังพลเข้าไปเกือบ 1 พันนาย


นายภูมิธรรม ระบุว่าการเกิดเหตุภัยพิบัติเป็นความร่วมมือของมนุษยชาติ ซึ่งที่เมียนมา ก็ได้ร้องขอนานาประเทศเข้าไปให้เขาช่วยเหลือ จึงชื่นชมและขอบคุณที่เป็นตัวแทนของคนไทย อยากให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ แม้จะมีอุปสรรคบ้าง ก็ขอให้มีความเตรียมพร้อม สิ่งที่สำคัญยังมีพี่น้องชาวไทยในเมียนมา ขอให้ความสำคัญช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เราได้เตรียมเครื่องบินไว้แล้ว ขอให้กำลังใจทุกคน

สำหรับการส่งความช่วยเหลือให้เมียนมาในครั้งนี้ รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยหลักในการจัดตั้ง“ชุดช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาในพื้นที่เมืองเนปิดอว์” ภายใต้การควบคุมและกำกับของสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร (สบก.ยก.ทหาร) ซึ่งได้วางแผนอย่างรัดกุมและครอบคลุมในทุกมิติของการช่วยเหลือ ตามหลักปฏิบัติด้าน Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR)

สำหรับภารกิจชุดดูแลและกิจ ประกอบด้วย กำลังพลทั้งหมด 55 นาย แบ่งออกเป็น 8 ชุด ได้แก่​ ชุดควบคุม (5 นาย), ชุดงานด้านประชาสัมพันธ์ (4 นาย), ชุดค้นหาและกู้ภัยขั้นต้น (USAR) จากหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (12 นาย), ชุดแพทย์ฉุกเฉิน (MERT) จากสำนักนายแพทย์ทหาร (18 นาย), ชุดประเมินความเสียหาย(4 นาย), ชุดสื่อสาร (4 นาย), ชุดขนส่งทางอากาศ (4 นาย), ชุดประสานงาน (4 นาย)


ส่วนภารกิจหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในประเทศเมียนมา และดูแลช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจด้านการค้นหาและกู้ภัย​การแพทย์ฉุกเฉิน การตั้งโรงพยาบาลสนามระดับเบื้องต้น การประเมินความเสียหาย และการสนับสนุนด้านการสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร

การเดินทางไปภารกิจครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศทั้งหมด 3 เที่ยวบิน ได้แก่

  • เที่ยวบินที่ 1 (30 มีนาคม 2568) จัดส่งกำลังพลจากกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง-เนปิดอว์-กรุงเทพฯ  
  • เที่ยวบินที่ 2 (2 เมษายน 2568) เดินทางเข้าสลับกำลัง  
  • เที่ยวบินที่ 3 (5 เมษายน 2568) เดินทางกลับถิ่นฐาน

ส่วนการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เมื่อเดินทางถึงที่หมาย ชุด USAR จะปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย​ชุด MERT ให้การแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และปรับเป็น Mobile Clinic ตามคำสั่ง ชุด RDANA จะประเมินความเสียหายเพื่อวางแผนการช่วยเหลือต่อระยะต่อไป ตลอดจนการประชุมร่วมกับศูนย์บัญชาการทางทหารผ่านระบบ VTC รายงานผลการปฏิบัติประจำวัน และรายงานพิเศษตามคำสั่ง รวมทั้งให้การช่วยเหลือคนไทยในพื้นที่และดำเนินการส่งกลับโดยสมัครใจผ่านเที่ยวบินของกองทัพอากาศ และการดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะบรรลุภารกิจการดำเนินภารกิจในครั้งนี้ เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความจริงใจของประเทศไทยในการยืนหยัดเคียงข้างประชาชนเมียนมาในยามยากลำบาก พร้อมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของกองทัพไทยในบทบาทด้านความมั่นคงเชิงมนุษยธรรม สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่แน่นแฟ้น อันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติภารกิจภายในประเทศไทยที่ถือเป็นความเร่งด่วนสูงสุดนั้น

กองทัพไทย โดยทุกเหล่าทัพ ได้จัดกำลังพลและอุปกรณ์ ประกอบกำลังเป็นชุดค้นหาผู้ประสบภัย ชุดแพทย์ฉุกเฉินและชุดจิตอาสา ชุดสนับสนุน ฯลฯ เพื่อเข้าอุทยานเพื่อค้นหาผู้ประสบภัย รวมทั้งจัดทีมในพื้นที่ประสบภัยทั่วประเทศด้วยการแจกจ่ายอาหารและน้ำดื่มให้แก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวมถึงกำลังพลออกปฏิบัติหน้าที่จำนวน 1,294 นาย รถบรรทุก 6 คัน พร้อมยานพาหนะ 84 คัน และอุปกรณ์ที่สำคัญ จำนวน 12 รายการ อาทิ รถเครน รถบกหนีตีนตะขาบ รถยกสูง เครื่องวางคาน เครื่องดักตะกอนไฟฟ้า พัดลมระบายอากาศ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชนให้มีความปลอดภัยทางจิต ด้วยการสนับสนุน “กิจกรรมดนตรีในสวน” ณ สวนเบญจสิริ และสวนรถไฟ ร่วมกับกรุงเทพมหานครด้วย.-319​ -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น

ตึกถล่ม

วันที่ 6 ปรับแผนใช้เครนยักษ์ยกปูนค้นหา 72 ชีวิต

เข้าสู่วันที่ 6 ทีมงานกู้ซากตึกถล่ม ปรับแผนค้นหา 72 ชีวิต ด้านญาติผู้สูญหายยังคงรอความหวัง บางส่วนจุดธูปปักลงดิน ขอแม่ธรณีเปิดทางช่วยทุกคนรอดชีวิต

นายกฯ เยี่ยมญาติตึกถล่ม

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึกถล่มที่ศูนย์พักคอย

นายกฯ เข้าเยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึกถล่มที่ศูนย์พักคอย “ขอให้ดูแลตัวเอง อย่าพึ่งป่วย”