เริ่มแล้วมาตรการจูงใจภาคประมงงดเผา ลดฝุ่น PM 2.5

กรุงเทพฯ 24 ม.ค. – กรมประมงออกประกาศเรื่องมาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ภาคการเกษตร โดยจะสนับสนุนโครงการต่างๆ แก่เกษตรกรภาคประมงที่ปลอดการเผา ส่วนผู้ที่เผา ก่อมลพิษ งดเข้าร่วมทุกโครงการต่างๆ ของกรมประมง ปี 68 ขับเคลื่อน 2 โครงการใหญ่ “ฟางมาปลาโต” และ “เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน” ใช้ฟางข้าวทำอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติกว่า 1,556 ตัน ช่วยลดการเผา


นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เร่งขับเคลื่อนมาตรการลดการเผาในภาคเกษตรของรัฐบาล โดยในช่วงฤดูหนาว ประเทศไทยมักประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอากาศแห้งและเย็น ประกอบกับเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรมีการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้ง เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูกครั้งใหม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวรัฐบาลได้มีการติดตามและยกระดับมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการออกประกาศมาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ซึ่ง ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตรอย่างจริงจัง

ล่าสุดกรมประมงออกประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ด้านการประมง พ.ศ.2568 โดยมีวัตถุประสงค์ไม่ให้การสนับสนุนเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีประวัติทำการเผาในพื้นที่การเกษตร ในการได้รับการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรด้านการประมง รวมทั้งโครงการต่างๆ ทุกโครงการ หากตรวจพบว่า เกษตรกรหรือคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการใดๆ ทางด้านการประมง แต่มีประวัติการเผาในพื้นที่การเกษตรให้ถือว่า “ขาดคุณสมบัติ” และจะไม่ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการฯ ด้านการประมงทุกโครงการ นับตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2570


กรมประมงยังมีแนวทางในการที่จะใช้กิจกรรมในภาคการประมงมาช่วยลดการสร้างมลพิษทางอากาศด้วย โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการจัดการวัสดุทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำและลดหมอกควัน หรือ “โครงการฟางมาปลาโต” มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรนำฟางข้าว ที่เหลือจากการทำนามาเป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติ ลดมลพิษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ในระยะยาวทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2567 ในระยะเวลาการเลี้ยง 1 ปี ใช้ฟางข้าว ประมาณ 800 กิโลกรัม/ไร่/ปี สามารถลดคาร์บอนได้กว่า 42.31 กิโลกรัมคาร์บอน และลดปริมาณฝุ่นละอองได้ประมาณ 6,280 กิโลกรัม โดยในปี 2568 กรมประมงขยายผลการดำเนินโครงการเพิ่มในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา นครพนม และกาฬสินธุ์ มีการจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทักษะการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจากวัสดุการเกษตร สนับสนุนลูกพันธุ์ปลากินพืชให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ รายละ 3,000 ตัว และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเตรียมบ่อและสร้างอาหารธรรมชาติ พร้อมทั้งจัดทีมนักวิชาการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ซึ่งหลังจากจบโครงการฯ คาดว่าจะสามารถกำจัดวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ได้มากกว่า 56,000 กิโลกรัม ลดการเกิดฝุ่นละอองได้ไม่น้อยกว่า 4,000 กิโลกรัม และมีปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 28,700 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,296,000 บาท และในอนาคตกรมประมงมีแผนขยายผลไปยังเกษตรกรอีก 4,200 ราย ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่มีการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างถูกวิธี และสามารถลดต้นทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ในปี 2568 ได้ขยายผลสู่แหล่งน้ำชุมชน โดยดำเนิน “โครงการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพของประชาชน” โดยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ 7 ชนิด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม ปลาเกล็ดเงิน ปลายี่สกเทศ ปลาตะเพียน ปลาบ้า ปลานิล และปลาบึก ลงในแหล่งน้ำปิดของชุมชนเพื่อฟื้นฟูและเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิด ขนาด 10 – 60 ไร่ ของชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 1,500 แห่ง และจะใช้ฟางข้าวเป็นอาหารสัตว์น้ำ โดยกำหนดแผนการใช้ฟางข้าวไว้ แหล่งน้ำละไม่น้อยกว่า 1 จุด จุดละ 500 กิโลกรัม อย่างน้อย 2 ครั้ง/แหล่งน้ำ ดังนั้น โครงการดังกล่าวใช้ฟางข้าวไม่น้อยกว่า 1,500,000 กิโลกรัม (1,500 ตัน) เพื่อสร้างอาหารธรรมชาติในแหล่งน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนได้มากกว่า 6,000 ตัน มูลค่ามากกว่า 450 ล้านบาท

ทั้งนี้ กรมประมงมุ่งหวังว่า ทั้ง 2 โครงการจะสามารถช่วยแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ได้อย่างจริงจัง และช่วยส่งเสริมเพิ่มรายได้ลดค่าครองชีพให้กับเกษตรกรและประชาชน ตลอดจนเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์น้ำประจำถิ่นรุ่นใหม่ในธรรมชาติและสัตว์น้ำที่ไม่สามารถหาพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติในช่วงฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ได้ ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำให้คืนความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนเพื่อชุมชน สำหรับเกษตรกรหรือประชาชนผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง โทรศัพท์ 0 2562 0585 หรือสำนักงานประมงในพื้นที่ดำเนินโครงการ. -512 – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

Chinese foreign ministry in January 2025

ถอดบทเรียนจากจีน แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 จริงจัง

ปักกิ่ง 23 ม.ค. – สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนในไทยอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขด้วยการมุ่งไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิดฝุ่น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประชากรโลกมากถึง 92% ได้รับฝุ่น PM2.5 ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และถ้ารัฐบาลทุกประเทศไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเอาจริงเอาจัง ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2573 คุณภาพชีวิตคนทั่วโลกจะยิ่งเลวร้ายสุดขีด เพราะปริมาณ PM2.5 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 50% และประเทศที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากรัฐบาลตั้งใจจริงจัง ทุ่มสรรพกำลังความพยายาม จะสามารถกำจัดปัญหาฝุ่นควันพิษได้อย่างแน่นอนนั่นก็คือ จีน   จีนเคยมีคนเสียชีวิตเพราะมลพิษในอากาศปีละหลายล้านคน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ธนาคารโลกยังยกย่องจีนว่า เป็นแบบอย่างของความพยายาม สามารถพลิกฟ้าหม่นเพราะฝุ่น PM2.5 ให้กลับเป็นฟ้าใสได้สำเร็จ ความพยายามของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำจีนที่มุ่งเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานในจีนเพิ่มขึ้นทวีคูณภายใน พ.ศ. 2502 แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจของผู้นำจีนช่วยให้คนจีนหลายล้านหลุดพ้นจากขีดความยากจน แต่ก็ต้องแลกกับชีวิตและสุขภาพ เพราะควันพิษจากโรงงานทำให้ฝุ่น PM2.5 พุ่งในระดับเกินกว่าจะรับไหว กว่ารัฐบาลจะรู้ตัวว่าปัญหามาถึงขั้นวิกฤต […]

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ผู้ป่วยเสียชีวิต

รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก-เสียชีวิต จากเหตุชายผิวสีคลุ้มคลั่ง

ผอ.รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก หรือเสียชีวิต จากเหตุต่างชาติผิวสีคลุ้มคลั่ง มีเพียงเจ้าหน้าที่ รพ.บาดเจ็บจากการถูกต่อยเล็กน้อย

ข่าวแนะนำ

ตร.ทางหลวงไล่ล่ากระบะขนแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าไทย

ระทึก! ตำรวจทางหลวงขับรถไล่ล่ากระบะขนแรงงานต่างด้าว 2 คัน สุดท้ายไม่รอด จนมุมบริเวณ ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท ตรวจสอบพบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จึงนำตัวทั้งหมด พร้อมกับคนขับรถทั้ง 2 คัน ส่งดำเนินคดีที่ สภ.เมืองชัยนาท

คุมพ่อชาวรัสเซียฝากขัง จับลูกชายวัย 13 โยนลงทะเลเสียชีวิต

ตำรวจคุมตัว “หนุ่มรัสเซีย” ฝากขัง หลังก่อเหตุโยนลูกวัย 13 ปี ออกจากเรือ บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา จนถูกใบพัดเรือบาดเจ็บสาหัส ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา อ้างเสียความทรงจำ ไม่รู้ทำอะไรลงไป

ดีเอสไอจ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ สืบคดี “แตงโม”

ดีเอสไอ นำผู้เชี่ยวชาญหลายด้านเปิดประชุมนัดแรก ลุยสืบสวน “คดีแตงโม” จ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ หาพยานหลักฐานใหม่ และบินเก็บข้อมูลระบบ Cloud ในมือถือทุกคนบนเรือ-นอกเรือ

แก้ปัญหาฝุ่น

นายกฯ สั่งการด่วนคมนาคมออกมาตรการหยุด PM 2.5

นายกฯ สั่งการคมนาคมออกมาตรการเร่งด่วน หยุด PM 2.5 ให้ประชาชนนั่งรถไฟฟ้าทุกสาย-ขสมก.ฟรี 7 วัน 25-31 ม.ค.นี้ เตรียมใช้งบกลางกว่า 140 ล้านบาท ชดเชยผู้ประกอบการ เข้มตั้งจุดตรวจควันดำ 8 จุด รอบ กทม.-ปริมณฑล