ปภ.รายงานน้ำท่วมในพื้นที่ 20 จังหวัด-ระดมสรรพกำลังช่วยเหลือ

5 ต.ค. – ปภ. รายงานมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 20 จังหวัด เร่งระดมสรรพกำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และฟื้นฟูพื้นที่ที่คลี่คลายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว


เวลา 10.30 น. ปภ. รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช รวม 66 อำเภอ 305 ตำบล 1,486 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,475 ครัวเรือน ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย ระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมดูแลให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายให้กลับคืนสู่สภาพปกติอย่างต่อเนื่องและเต็มกำลัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-5 ต.ค. 67 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 38 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 240 อำเภอ 1,046 ตำบล 5,643 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 200,062 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน ซึ่งปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 66 อำเภอ 305 ตำบล 1,486 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,475 ครัวเรือน


ภาคเหนือ รวม 10 จังหวัด 38 อำเภอ 131 ตำบล 575 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,405 ครัวเรือน
1) เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมือง อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า และ อ.เวียงชัย รวม 11 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 220 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2) เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม อ.ดอยหล่อ อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.แม่แตง อ.เมือง และ อ.สารภี รวม 34 ตำบล 183 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
3) พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.แม่ใจ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
4) แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
5) ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.แม่ทา และ อ.ป่าซาง รวม 16 ตำบล 123 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,875 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6) ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แจ้ห่ม อ.งาว และ อ.แม่พริก รวม 7 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7) ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา อ.บ้านตาก อ.แม่สอด อ.พบพระ และ อ.อุ้มผาง รวม 12 ตำบล 52 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,389 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
8) พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมือง อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
9) เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำหนาว อ.เมือง และ อ.หนองไผ่ รวม 6 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 115 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
10) สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมือง รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 7 จังหวัด 17 อำเภอ 69 ตำบล 357 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,595 ครัวเรือน
1) เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูกระดึง อ.วังสะพุง อ.ภูเรือ และ อ.เมือง รวม 10 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 701 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
2) อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง และ อ.สร้างคอม รวม 8 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 428 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3) กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด และ อ.หนองกรุงศรี รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4) ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ และ อ.จัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
5) ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ภูผาม่าน รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง


6) มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และ อ.เชียงยืน รวม 29 ตำบล 199 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 90 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
7) อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 273 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ภาคกลาง รวม 2 จังหวัด 10 อำเภอ 104 ตำบล 554 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,459 ครัวเรือน
1) อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย และ อ.เมือง รวม 9 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 289 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
2) พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.บางปะหัน รวม 95 ตำบล 534 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,140 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ภาคใต้ รวม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16 ครัวเรือน
1) นครศรีธรรมราช เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ทุ่งสง รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิกยกสูง รถตักล้อยางอเนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิกแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ข่าวสารสาธารณภัยได้ทาง Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง.-317-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

น้ำหมักชีวภาพ

สูตรเด็ดน้ำหมักชีวภาพ ปลูกน้ำเต้าต้นเดียว ขายได้ร้อยกว่ากิโลฯ

สาวโสดคนเก่งชาวราชบุรี ขยันทำงานทุกอย่าง จนได้ฉายา “สาวน้อย ร้อยอาชีพ” ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมา ทำน้ำหมักชีวภาพ ปลูกน้ำเต้าแค่ต้นเดียวให้ผลผลิตมากกว่า 100 กก.

โผล่อีก เหยื่ออดีตดาราหลอกขายแบรนด์เนมปลอม

โผล่อีก ผู้เสียหายถูกอดีตดารา เน็ตไอดอลชื่อดัง หลอกขายกระเป๋าแบรนด์เนมและนาฬิกาหรู สุดท้ายพบเป็นของปลอมทั้งหมด สูญเงินรวมกันเกือบ 2 ล้านบาท

จ่อแจ้งข้อหาภรรยาอดีตนักมวย คาดก่อเหตุถ่วงเวลาให้สามีหนี

ผ่านมากว่า 15 ชั่วโมง ตำรวจยังตามล่าอดีตนักมวย ผู้ต้องหาหนีหมายจับ ยิงสู้ตำรวจ ก่อนปีนเข้าบ้านคน แล้วย่องหนีต่อ ส่วนภรรยามอบตัวแล้ว หลังขู่จะยิงตัวเอง ก่อนจี้รถ ตร.หนีข้ามจังหวัด คาดก่อเหตุถ่วงเวลาให้สามีหนี

อดีตนักมวยจับหมอเป็นตัวประกัน

ล่าข้ามคืน อดีตนักมวยจับหมอเป็นตัวประกัน

เร่งไล่ล่าคนร้ายแต่งชุดลายพราง สวมเสื้อเกราะ พร้อมอาวุธปืน บุกเข้าบ้านพักย่านอินทามระ ที่มีแพทย์อาศัยอยู่ 2 คน ก่อนจะปีนช่องระบายอากาศหลบหนีไป ส่วนคนในบ้านปลอดภัย

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่อ่วมหลังน้ำปิงล้นทะลัก ท่วมหนักในรอบหลายสิบปี

น้ำท่วมเชียงใหม่ยังวิกฤติ หลังน้ำปิงที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทะลักเข้าท่วมชุมชนย่านการค้า เรียกว่าเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดของเชียงใหม่ในรอบหลายสิบปี

น้ำพัดช้างล้ม

ช้างล้ม 2 เชือก คาดถูกน้ำพัดไปติดอุโมงค์ส่งน้ำ

ยืนยันช้าง 2 เชือกตายแล้ว พลอยทอง อายุกว่า 40 ปี ตาบอด 2 ข้าง ฟ้าใส อายุ 16 ปี เป็นช้างของมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม คาดถูกกระแสน้ำพัดลอยไปติดอุโมงค์ส่งน้ำ เจ้าหน้าที่เตรียมฝังวันนี้

กรมอุตุฯ เตือนฝนถล่ม “เหนือ-กลาง-ใต้” ระวังน้ำท่วม-น้ำป่า

กรมอุตุฯ เตือนรับมือฝนตกหนัก “เหนือ-กลาง-ใต้” ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนภาคอีสานอากาศเย็นตอนเช้า

ปฏิบัติการกู้ชีวิตช้างจมน้ำ หลังน้ำป่าหลากท่วมมูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ

หลังน้ำป่าจากบนดอยหลากลงลำน้ำแม่แตง ทะลักท่วมมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเหมือนบ้านหลังสุดท้ายของช้างกว่า 100 เชือก และสัตว์นานาชนิด รวมเกือบ 4,000 ตัว ซึ่งอพยพช้างและสัตว์ส่วนใหญ่ออกมาได้แล้ว แต่ยังมีช้างอีกกว่า 10 เชือก จมน้ำที่ท่วมสูงเกือบ 3 เมตร เจ้าหน้าที่ต้องเร่งช่วยเหลือออกมา แต่เป็นไปด้วยความยากลำบาก