fbpx

คนไทยซื้อบ้านไม่ผ่าน พุ่ง 80%

กรุงเทพ 19 ก.ย.-คนไทยซื้อบ้านไม่ผ่านพุ่งสูงถึง 80% ยอดโอนกรรมสิทธิ์ลดลงร้อยละ 4.4 แต่ราคาเฉลี่ยที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปี 2567 จะเติบโตร้อยละ 5.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566


บริษัท พร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด จัดงานเสวนาประจำปี 2567 ในหัวข้อ “กรุงเทพจตุรทิศ:Property เจอหนี้ 10 ปี อสังหาฯไทยกลับไปไม่เหมือนเดิม”

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า แนวโน้มปี 2567 คาดว่าจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยประมาณ 350,545 หน่วย ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 โดยจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบประมาณ 243,088 หน่วย ลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 และจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยอาคารชุดประมาณ 107,456 หน่วย ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566


ทั้งนี้หากคิดมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปี 2567 คาดว่า จะอยู่ที่ 1,012,760 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 โดยคาดว่าจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในแนวราบประมาณ 717,052 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.4 และจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยอาคารชุดประมาณ 295,707 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.9

โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯจะเติบโตร้อยละ 5.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 แต่การเติบโตของรายได้เฉลี่ยคนไทยต่อหัวรายปีอยู่ที่ 1.4% เท่านั้น ถ้ามีเงินเดือนไม่ถึง 3 หมื่นบาท อยากซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท โอกาสในการกู้ยากมาก แม้ขณะนี้รัฐจะออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ผ่านการลดค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง แต่เราพบว่าไม่ได้มีผลมากนัก ยอดโอนฯ ไตรมาสแรกปี 2567 ติดลบร้อยละ 13 ขณะมาตรการออกมาช่วงเดือน เม.ย. แต่ข้อมูลของไตรมาส 2 ตลาดก็ยังติดลบ 4.5% โดยเฉพาะในกลุ่มที่รัฐสนับสนุน บ้านไม่เกิน 7 ล้าน สถิติติดลบทุกโปรดักส์ มาตรการดังกล่าวให้ผลเชิงบวกแค่ในตลาดคอนโดฯ กับบ้านมือสองเท่านั้น

นายวิชัย ยังชี้ว่า อสังหาฯ ไทยยุคหลังจากนี้ยังเต็มไปด้วยความท้าทาย เนื่องจากโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้จำนวนบ้านใหม่ที่เกิดขึ้นเฉลี่ยปีละแสนหน่วย เพราะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอด สัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 25% ของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่เด็กแรกเกิดน้อยลง คนครองตัวเป็นโสดมากขึ้น มีเพียงโอกาสจากความต้องการของผู้ซื้อชาวต่างชาติที่ยังต้องหาคำตอบกันต่อไปถึงความเหมาะสม


ขณะที่นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ รองผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เผยข้อมูล “หนี้” ที่น่าสะพรึงของคนไทย ซึ่งสามารถบ่งบอกทิศทางอสังหาฯ ไทยในอนาคตได้ เมื่อกำลังซื้อบ้านกลุ่มใหญ่ อย่างคนเจน Y มีหนี้เสียล้นระบบ ทั้งนี้ มีการขยายความผ่านภาวะเศรษฐกิจมหภาคว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหนี้คนไทย ซึ่งแต่ละช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เจอวิกฤติเศรษฐกิจแตกต่างกัน ขณะสถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยเจอทั้งแรงกระแทกจากสงคราม การจับจ่ายที่น้อยลงจากประชากรลดลง ส่วนภาคธุรกิจกำลังเผชิญกับความท้าทายเรื่อง green economy ทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ขยายตัวแค่ 2.3% และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาจากโควิด-19 ได้อย่างทั่วถึง ขณะเปิดภาพ GDP ย้อนหลัง 10 ปี เศรษฐกิจไทยก็ไม่เคยขยายตัวได้เกิน 5% เลย นี่คืออุปสรรคใหญ่ของตลาดอสังหาฯ เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้อ อีกทั้ง ข้อมูลจากเครดิตบูโรพบว่า สินเชื่อที่เติบโตขึ้นทุกปีไม่ใช่สินเชื่อกลุ่มมั่นคง หากแต่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น เพราะคนยอมเสียดอกเบี้ยแพง เพื่อให้มีเงินมาจับจ่ายใช้สอย ประคองชีวิตที่มีปัญหาจากเศรษฐกิจ ขณะกราฟสินเชื่อบ้านไม่ได้เติบโต ตลาดสินเชื่อต่างๆ ยังมีผลมาจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง สวนทางเมื่อดอกเบี้ยต่ำ ดีมานด์ขอสินเชื่อใหม่จะเพิ่มขึ้นทันที

ผู้บริหารเครดิตบูโร ยังเปิดเผยว่า ขณะนี้คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหารายได้กับรายจ่ายไม่สอดคล้องกัน แต่ที่น่ากังวลกว่าคือ มีคนไทยจำนวนมากที่มีหนี้มากกว่ารายได้ ซึ่งก็ล้วนแล้วมาจากปัญหาเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีภาระหนี้สูงมากเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยกว่า 6 แสนบาทต่อครัวเรือน คนรายได้ไม่ถึง 3 หมื่นบาท ขยับไม่ได้ หนี้ครัวเรือนยังทำให้การท่องเที่ยวซึ่งเป็นฟันเฟืองใหญ่ของเศรษฐกิจหดตัว โดยหนี้ครัวเรือนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 90.8% ต่อ GDP บน 8 ข้อเท็จจริง เป็นหนี้เร็ว, เป็นหนี้เกินตัว, เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือถูกต้อง, เป็นหนี้นาน, เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น, เป็นหนี้เสีย, เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น และเป็นหนี้นอกระบบซึ่งภูเขาหนี้กระจุกตัวในคนกลุ่มเจน Y ขณะที่เราพบว่า สินเชื่อบ้านไม่ผ่านการอนุมัติหรือถูกรีเจ็กต์สูงถึง 80% มากกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว สินเชื่อบ้านกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หรือ SM ก่อตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงโควิด เช่นเดียวกับหนี้เสียหรือ NPL ความน่ากังวลคือ ในอนาคตแนวโน้มของ SM จะลดลง แต่จะเปลี่ยนเป็น NPL หนี้เน่าเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง .513.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด